Finance

‘ศูนย์วิจัยกสิกรไทย’ คาดประชุม กนง. รอบนี้ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก 0.25%

“ศูนย์วิจัยกสิกรไทย” คาดที่ประชุม “กนง.” รอบนี้จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะถึงนี้ คาดว่า กนง. จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% มาอยู่ที่ระดับ 1.00% ท่ามกลางแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่ยังอยู่ในระดับสูงและค่าเงินบาทที่อ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง

ขึ้นดอกเบี้ย

คาด กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยอีก

อย่างไรก็ดี กนง. คงจะยังทยอยปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามที่ได้ส่งสัญญาณไว้ก่อนหน้า ท่ามกลางเศรษฐกิจไทยที่กำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัวและยังคงเปราะบางจากหนี้ในภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง โดย กนง. คงหลีกเลี่ยงที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแรงเนื่องจากจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ขณะที่ กนง. คงมีมุมมองว่าการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของภาคการท่องเที่ยวในช่วงที่เหลือของปีนี้คงจะช่วยพยุงให้ค่าเงินพลิกกลับมาแข็งค่าได้บ้าง อีกทั้ง กนง. คงมีมุมมองว่าเสถียรภาพด้านอัตราแลกเปลี่ยนคงเป็นประเด็นระยะสั้น และยังพอมีเวลาที่จะติดตามสถานการณ์และเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินได้ในระยะข้างหน้า

ขึ้นดอกเบี้ย
ภาพจาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

ทั้งนี้ หากในการประชุมที่จะถึงนี้ กนง. มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25% ตามคาด คงมีแรงกดดันให้ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี คงต้องติดตามตัวเลขเงินเฟ้อและเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดและค่าเงินดอลลาร์ รวมถึงดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยที่จะส่งผลต่อแนวโน้มค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

ทั้งนี้ หาก กนง. มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย คงส่งผลให้ค่าเงินบาทยังคงเผชิญแรงกดดันให้อยู่ในทิศทางอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม หากในระยะข้างหน้า เฟดไม่ได้มีการส่งสัญญาณปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วและแรงกว่าที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว

ขึ้นดอกเบี้ย

ขณะที่หากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวไทยเป็นไปตามคาดอาจส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดพลิกกลับมาเกินดุลได้ในช่วงปลายปีนี้ ซึ่งก็อาจเป็นปัจจัยหนุนต่อทิศทางค่าเงินบาทในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม หากทิศทางเงินเฟ้อสหรัฐยังคงไม่ลดลงอย่างชัดเจนและเฟดยังคงต้องเร่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายอย่างต่อเนื่องไปในการประชุมในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ค่าเงินบาทคงเผชิญแรงกดดันให้อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปีนี้และการพลิกภาพกลับมาแข็งค่าของค่าเงินบาทคงล่าช้าออกไปกว่าเดิม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo