Finance

‘KBank Private Banking-Lombard Odier’ ย้ำกระจายลงทุน รับมือเศรษฐกิจโลก ‘ซอฟท์แลนดิ้ง’

“KBank Private Banking-Lombard Odier” คาดเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลัง ลงจอดแบบซอฟท์แลนดิ้ง เปิดสูตรจัดพอร์ตรับมือ แนะกระจายลงทุนในหลายสินทรัพย์ พร้อมชี้โอกาสลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก

นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ Executive Chairman, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตั้งแต่ต้นปีตลาดลงทุนมีความกังวลต่อเงินเฟ้อสหรัฐ ที่พุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกดดันแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของเฟดให้เกิดขึ้นแบบรุนแรง และรวดเร็ว

ต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์สงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครนปะทุขึ้น ทำให้ตลาดกังวลต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำมันดิบ และวัตถุดิบต่าง ๆ ส่งผลให้ราคาน้ำมันขยับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อทั่วโลก ที่ทรงตัวในระดับสูงอยู่แล้ว จึงทำให้ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2561 ที่ 0.25%

S 158105605

การขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าว เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะ ล่าสุดเงินเฟ้อทั่วไปของสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคมปรับขึ้นเกินกว่าที่ตลาดคาด โดยทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 40 ปี ที่ 8.6% เมื่อเทียบปีต่อปี จากราคาพลังงานที่กลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากจีนผ่อนคลายล็อกดาวน์ ทำให้ตลาดคาดว่า เฟดจะต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ

ทุก ๆ เหตุการณ์สำคัญเหล่านี้ล่วนส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นทั่วโลกปรับตัวลดลง จากการที่นักลงทุนเทขายสินทรัพย์เสี่ยง และเข้าถือเงินสดมากขึ้น

ทางด้านนางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director, Financial Advisory Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า ตลาดการลงทุนในช่วงนี้ผันผวนกว่าปกติ ผลตอบแทนจากสินทรัพย์ต่าง ๆ อยู่ในทิศทางขาลงจากข่าวร้าย ไม่ว่าจะเป็น อัตราเงินเฟ้อสหรัฐ ที่ยังคงปรับเพิ่มขึ้น และยังไม่เข้าสู่แนวโน้มขาลงตามเป้าหมายของเฟด จากราคาพลังงานและบริการที่ปรับเพิ่มขึ้น ทำให้นโยบายการเงินมีทิศทางตึงตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

จากการประชุมครั้งล่าสุดในวันที่ 14-15 มิถุนายนที่ผ่านมา เฟด ได้มีมติขึ้นดอกเบี้ย 0.75% ในครั้งเดียว เป็นไปตามตลาดคาด ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบันของเฟด อยู่ที่ 1.5-1.75% พร้อมทั้งส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในอัตราที่เร่งขึ้น โดยจะขึ้นดอกเบี้ยอีกทั้งหมด 1.75% ในการประชุมช่วงที่เหลือของปีนี้ ทำให้ดอกเบี้ย ณ สิ้นปี 2565 อยู่ที่ 3.4% มากกว่าเดิมที่ประเมินไว้ในการประชุมเดือนมีนาคมที่ 1.9%

ด้านภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐ ยังคงฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ตลาดแรงงานยังคงตึงตัว โดยอัตราการว่างงานยังใกล้ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้จะเริ่มมีสัญญาณลบจากตลาดบ้านบ้าง หลังจากแนวโน้มดอกเบี้ยที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการซื้อทำให้ยอดขายบ้านลดลง

ส่วนจีนที่ค่อย ๆ กลับมาเปิดประเทศอีกครั้งในแบบระมัดระวัง หลังยอดตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงแสดงให้เห็นว่า มาตรการการล็อกดาวน์ได้ผล

S 158105607

อย่างไรก็ตาม แม้จำนวนผู้ติดเชื้อในจีนจะลดลง แต่แนวโน้มผู้ติดเชื้อที่อื่น ๆ ในเอเชีย อย่างฮ่องกง และเกาหลีใต้กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้จีนต้องกลับมาใช้มาตรการ Zero COVID จนถึงไตรมาส 3 และถ้าหากจีนกลับมาล็อกดาวน์ ก็จะส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกอีกครั้ง

เช่นเดียวกันกับสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ ก็ทำให้เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการเผชิญปัญหาห่วงโซ่อุปทานเช่นกัน

สำหรับความเป็นไปได้ต่อไปของสถานการณ์ระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจระดับมหภาคทั่วโลก แบ่งเป็น 3 กรณี คือ

1. สงครามยืดเยื้อ กระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ความน่าจะเป็น: สูง ส่งผลให้ GDP โลก ลดลง 1%

2. สงครามทวีความรุนแรงและรวดเร็ว เกิดความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก ความน่าจะเป็น: ต่ำ ส่งผลให้ GDP โลก ลดลง 2%

3. ความขัดแย้งคลี่คลาย ความน่าจะเป็น: ต่ำกว่า ส่งผลให้ GDP โลก ลดลง 0.5%

ดร.ตรีพล ภูมิวสนะ Senior Managing Director, Private Banking Business Head, Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจโลกลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งแนวโน้มชะลอตัวลงต่อเนื่องนี้เข้าใกล้เกณฑ์หดตัว ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย อาจนำไปสู่ตลาดหมีหรือตลาดขาลง

ในสภาวะเศรษฐกิจและตลาดเช่นนี้ KBank Private Banking และ Lombard Odier ยังคงเน้นย้ำกลยุทธ์การลงทุนแบบกระจายความเสี่ยง โดยแนะนำให้ปรับกลยุทธ์และสัดส่วนการลงทุนในประเภทสินทรัพย์สำหรับครึ่งปีหลัง 2565 ดังนี้

messageImage 1655462145702นายจิรวัฒน์ กล่าวในตอนท้ายว่า ธนาคารยังคงแนะนำกระจายการลงทุนในหลาย ๆ สินทรัพย์ผ่านกองทุนผสมเพื่อลดความเสี่ยงโดยรวมของพอร์ตลงมา

โดยกองทุนผสมอย่าง K-ALLROAD Series ที่ได้เปิดตัวไปตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ปัจจุบันมีขนาดของกองทุนรวมกว่า 6,000 ล้านบาท* ซึ่งได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า

ด้วยสภาพตลาดการลงทุนในปัจจุบัน ธนาคารยังแนะนำให้ลูกค้ากระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นๆ เช่น กองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity Fund) ซึ่งกองทุนที่ธนาคารแนะนำสามารถสร้างผลตอบแทนตั้งแต่จัดตั้งกองทุนที่ดีให้กับพอร์ตลูกค้าได้สูงถึง 61.4%** และ 12.8%**

นอกจากนี้ ตลอดครึ่งปีหลัง 2565 ธนาคารยังมีแผนที่จะแนะนำผลิตภัณฑ์ทางเลือกการลงทุนอื่น

  • Sustainable Global Balanced (กองทุนผสมที่เน้นลงทุนแบบยั่งยืน)
  • China Sustainable Equity (หุ้นจีนที่เป็น ธีมหุ้นยั่งยืน)
  • Global Private Debt (ตราสารหนี้นอกตลาดทั่วโลก)
  • Global Private Equity (กองทุนหุ้นนอกตลาดทั่วโลก)
  • Hybrid Global Private Asset (สินทรัพย์นอกตลาด)
  • Global and Local Private Real Estate(อสังหาริมทรัพย์นอกตลาด)
  • Quantitative Hedged Fund Strategy (กองทุน Hedge Fund ที่ใช้กลยุทธ์การลงทุนด้วยกระบวนการคณิตศาสตร์ และสถิติจากข้อมูลเชิงปริมาณ)
  • Exotic Structured Note (หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงแบบต่างๆ) เพื่อกระจายความเสี่ยงและเพื่อสร้างผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจให้กับพอร์ตการลงทุนของลูกค้าได้ในปี 2565 นี้

สำหรับผู้ที่สนใจรับชมงานสัมมนา KBank Private Banking 2022 Mid-year Economic and Investment Outlook ในหัวข้อ Can the Global Economy Pull off a Soft Landing? ย้อนหลัง โดยสามารถคลิกรับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=XHDoH94KVLU

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo