Finance

‘เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง’ แนะลงทุน ‘กลุ่มเฮลท์แคร์’ ผ่าน ‘K-GHEALTH’ ชี้โอกาสเติบโตดี

เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง จัดสัมมนา “Healthcare as important as ever” ชี้ โอกาสลงทุน “กลุ่มเฮลท์แคร์” ผลการดำเนินงานดี แม้ในภาวะเงินเฟ้อปรับขึ้น ผ่านกองทุน K-GHEALTH เน้นธีมลงทุนระยะยาว จากนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ก้าวกระโดด ตอบรับเทรนด์ดูแลสุขภาพจากทั่วโลก 

นางสาวศิริพร สุวรรณการ Senior Managing Director-Financial Advisory Head Private Banking Group ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิด -19 ตลอดระยะเวลา 2-3 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกิดการตระหนักว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ด้วยสุขภาพที่แข็งแรง

นวัตกรรมหรือความก้าวหน้าทางการแพทย์ได้ผ่านการพิสูจน์แล้วว่า สามารถทำให้คนเรามีชีวิตยืนยาวขึ้น ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เคแบงก์ ไพรเวทแบงกิ้ง (KBank Private Banking) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้คำปรึกษาด้านการลงทุน จึงมองหาความเชื่อมโยงของการดูแลรักษาสุขภาพไปสู่โอกาสการลงทุน และพบว่า Healthcare Investment หรือ การลงทุนในกลุ่มเฮลท์แคร์ ผ่านกองทุน K-GHEALTH เป็นโอกาสการลงทุนที่ดีในระยะยาวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสภาวะที่ตลาดลงทุนอยู่ภายใต้ความผันผวน

shutterstock 1966439416

กองทุน K-GHEALTH เน้นลงทุนในหุ้นทางการแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพใน 4 กลุ่มหลัก

1. Pharma – ยา ที่มีการพัฒนาให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุดหรือที่เรียกว่า Precision Medicine รวมไปถึงพัฒนาให้ใช้งานได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เช่น ในปัจจุบันมีการพัฒนาให้อินซูลินอยู่ในรูปแบบเม็ด

2. Biotech – การนำเทคโนโลยีทางการแพทย์มาช่วยในการวินิจฉัยและรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพและรักษาไปจนถึงระดับพันธุกรรม เช่น การรักษาโรคมะเร็งและโรคหัวใจ การพัฒนายาที่ป้องกันการเกิดหัวใจล้มเหลว ด้วยการเข้าไปสร้างกล้ามเนื้อหัวใจเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ด้วยการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

3. Medical Tech – เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ในการผ่าตัด การใช้ AI ช่วยประมวลผลข้อมูลทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมาใช้ในการวินิจฉัย เพิ่มความรวดเร็วและรักษาโรคได้อย่างทันท่วงที

4. Healthcare Services – การเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขในราคาที่เหมาะสม เช่น ระบบประกันสุขภาพที่มีบริษัทในเครือข่ายมาก ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น

S 155410445

ขณะที่ ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล เปิดเผยว่า โควิด-19 ช่วยพิสูจน์ว่า ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ และการดูแลรักษาสุขภาพ ทำให้เราสามารถต่อสู้กับโรคระบาดได้ ตั้งแต่การวินิจฉัย การพยายามในการหาวิธีในการรักษา การป้องกัน รวมถึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน ในห่วงโซ่อุปทานของระบบการดูแลสุขภาพทั้งหมด

นอกจากนี้ โควิด ยังเป็นตัวเร่งที่ทำให้ต้องใช้เทคโนโลยี จากนี้ไป ผู้คนจะเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น

 8 นวัตกรรมทางการแพทย์เทรนด์แห่งอนาคต

Telemedicine ที่เร่งตัวขึ้นจากโควิด 19 ช่วยให้คนไข้ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องมารอพบแพทย์ที่โรงพยาบาล ปัจจุบันสามารถส่งต่อข้อมูลจากอุปกรณ์อย่าง สมาร์ท วอชท์ ที่บอกข้อมูลสุขภาพให้แพทย์พิจารณา และปรับการรักษาได้ ในปี 2563 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 7.9 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 27 ล้านล้านบาท และคาดว่าจะเติบโตได้ถึง 3.96 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 135 ล้านล้านบาท ในปี 2570

AI, Machine Learning และ Big Data ปัจจุบันข้อมูลทางการแพทย์อยู่ในรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น สามารถใช้ AI ช่วยวินิจฉัย คัดกรอง รวมถึงช่วยแพทย์ตัดสินใจในการรักษาได้ดีขึ้น เช่น นำ AI มาใช้ในการวินิจฉัยคนไข้ที่เป็นโรคเส้นเลือดในสมองตีบ ซึ่งช่วยร่นเวลาในการวินิจฉัยจากที่ใช้เวลา 15-30 นาที ให้เหลือเพียง 3 นาทีเท่านั้น

Internet of “Medical” Things-AR / VR และ sensors อุปกรณ์สวมใส่ และอุปกรณ์เชื่อมต่อทางการแพทย์ ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ดูแลรักษาสุขภาพ เช่น ใช้ AR / VR เฝ้าสังเกตอาการคนไข้ และทำการรักษาแบบ on-site ไม่ต้องมาที่โรงพยาบาล เซ็นเซอร์ติดแขนที่วัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตลอด 24 ชม. หรือ เซ็นเซอร์ติดที่ยา ทำให้รู้ว่าคนไข้ทานยาครบ และตรงตามเวลาที่กำหนดหรือไม่

ในปี 2563 หรือ 30% ของตลาด IoT มาจากผลิตภัณฑ์เพื่อดูแลสุขภาพ และคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าสูงถึง 6.2 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 211 ล้านล้านบาท

Medical Automation and Robotics การใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดอวัยวะขนาดเล็ก ที่มีความละเอียดอ่อน เช่น มือ หู ตา หรือ สมอง การนำหุ่นยนต์มาใช้งานหลังบ้าน ช่วยลดข้อผิดพลาด และเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการ โดยคาดว่าในปี 2569 จะมีมูลค่าตลาดที่ 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 13.6 ล้านล้านบาท

3D Bio-Printing การนำเทคโนโลยี 3D Printing มาใช้ในการพิมพ์โครงสร้างของกระดูก เพื่อให้เซลล์กระดูกสามารถเจริญเติบโตขึ้นมาเป็นกระดูกได้จริง ๆ โดยสามารถนำเทคโนโลยีนี้ มาประยุกต์ใช้ในการปลูกถ่ายอวัยวะได้ โดยคาดว่าในปี 2570 จะมีมูลค่าตลาดที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ หรือราว 6.2 หมื่นล้านบาท

S 155410443

Gene Editing ด้วยเทคโนโลยี CRISPR จากโรคที่เราไม่คิดว่าจะรักษาได้ สามารถตัดต่อยีนโดยการนำส่งระบบ CRISPR เข้าไปเพื่อแก้ไขความผิดปกติในตัวคนไข้ได้ เช่น ในคนไข้ที่มีไขมันในเลือดสูงมาก และยาก็ไม่สามารถรักษาได้ จึงรักษาด้วยการใช้การนำส่งระบบ CRISPR เข้าไปเพื่อแก้ไขความผิดปกติของยีน เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล คาดว่าในปี 2569 จะมีมูลค่าตลาดที่ 4 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 13.6 ล้านล้านบาท

Predictive and Preventive Medicine องค์ความรู้ด้านการถอดรหัสพันธุกรรมทำได้รวดเร็วมากขึ้น และราคาถูกลงอย่างมหาศาล จึงแทรกซึมอยู่ในทุกภาคส่วนของการดูแลรักษาสุขภาพ

ในอนาคตอันใกล้ มีความเป็นไปได้ว่าเด็กทุกคนที่เกิดใหม่จะมีข้อมูลรหัสพันธุกรรม ทำให้เราเข้าใจ ความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิดโรค และหาวิธีป้องกันได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะมีประโยชน์ในการช่วยลดต้นทุนการดูแลสุขภาพลง

Genomic / Precision Medicine การแพทย์แม่นยำ ที่นำองค์ความรู้ด้านการถอดรหัสพันธุกรรมมาใช้ในการรักษาโรค เพื่อที่จะได้รู้ว่าความผิดปกติเกิดขึ้นจากตรงไหน ควรใช้วิธีการรักษาอย่างไร เพื่อให้ผลการรักษาได้ผลดีที่สุด ปัจจุบันการแพทย์แม่นยำขยายตัวอย่างมากในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

ทางด้าน นายโทมัส แบรดลี่ย์-ฟลานนาแกน ผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน จาก JP Morgan Asset Management International Equity Group เปิดเผยว่า ปี 2565 นับเป็นปีแห่งความผันผวน จากทั้งเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น รวมถึงความกังวลในเรื่องคอขวดห่วงโซ่อุปทานต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันตลาดหุ้นในหลายภูมิภาค และหลาย ๆ อุตสาหกรรม กลุ่มเฮลท์แคร์เองก็หนีไม่พ้นที่จะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม หากมองย้อนกลับไปในอดีต ในช่วงที่เงินเฟ้อมีการปรับตัวขึ้นแรง ๆ จะพบว่ากลุ่มพลังงาน เป็นกลุ่มที่มีผลการดำเนินงานดีที่สุด ในขณะที่กลุ่มเฮลท์แคร์มีผลการดำเนินการดีตามมาเป็นอันดับ 2 จึงมองว่ากลุ่มเฮลท์แคร์ยังเป็นกลุ่มที่จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนได้ แม้ในช่วงที่เงินเฟ้อสูง

กระนั้นก็ตาม มองว่าไม่ใช่ว่าทุกหมวดในกลุ่มเฮลท์แคร์จะมีผลการดำเนินงานที่ดี โดยได้ปรับกลยุทธ์ลงทุน และเลือกกลุ่มที่จะเข้าลงทุนให้เหมาะสม โดยมีสัดส่วนเมื่อเทียบกับดัชนี MSCI World Healthcare ดังนี้

S 155410446

หุ้นที่ Overweight ให้น้ำหนักการลงทุน

  • กลุ่ม Biotech ที่ราคาหุ้นปรับตัวลดลง ทำให้มูลค่าหุ้นมีความน่าสนใจ ให้เน้นบริษัทที่มีนวัตกรรม โดดเด่น มีคุณภาพ และโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • กลุ่ม Healthcare Services เน้นลงทุนในกลุ่มประกันสุขภาพมากกว่าโรงพยาบาล

หุ้นที่ Underweight รักษาระดับ หรือลดน้ำหนักการลงทุน

  • กลุ่ม Pharma ไม่ได้มีการปรับลด โดยยังคงสัดส่วนที่มากที่สุดในพอร์ต เนื่องจากเป็นกลุ่มที่มั่นคง ไม่ผันผวนไปตามสภาพเศรษฐกิจ
  • กลุ่ม Medical tech มีการปรับลด หุ้นขนาดใหญ่ในบางบริษัท ที่มูลค่าหุ้นสูง

นางสาวศิริพร กล่าวสรุปในตอนท้ายว่า ถ้ามองลึกลงไปในหมวดหมู่ของการดูแลรักษาสุขภาพ เห็นว่า มีอีกหลายหมวดหมู่ย่อยที่มีความแข็งแกร่ง และราคายังไม่สูงมากเกินไป ไม่ว่าจะเป็น บริษัทยาที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ บริษัทไบโอเทคโนโลยี ที่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการควบรวม หรือการเข้าซื้อกิจการ

สุดท้ายนี้ มองว่าเฮลท์แคร์ยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอัตราที่ดี และยังคงมีนวัตกรรมที่จะปล่อยออกมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ ยังคงน่าสนใจ และเป็นโอกาสในการเพิ่มผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวต่อไปได้

สำหรับผู้ที่สนใจรับชมงานสัมมนา “Healthcare as important as ever” ย้อนหลัง โดยสามารถคลิกรับชมได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=GbNYrvq30Rg

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo