Finance

กบข.เดินหน้าขับเคลื่อน ESG คาดปีหน้าตีกรอบเป็นรูปธรรม

ESG กำลังกลายเป็นเครื่องมือลงทุนเพื่อความยั่งยืน กบข. พร้อมหน่วยงานภาครัฐ นักลงทุนสถาบัน และธุรกิจธนาคาร เดินหน้ากำหนดกรอบ คาดปีหน้าชัด หลังจากร่วมประกาศเจตนารมณ์ ‘Sustainable Thailand 2021’

ดร.ศรีกัญญา ยาทิพย์ เลขาธิการคณะกรรมการกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กล่าวว่าหลังจากกบข. ร่วมกับนักลงทุนสถาบันและภาคธนาคาร 43 แห่ง ประกาศเจตนารมณ์ “Sustainable Thailand 2021” เพื่อสนับสนุนการนำหลักการลงทุนอย่างรับผิดชอบ มาใช้เป็นกรอบในการดำเนินงาน มุ่งขับเคลื่อนประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะมีการหารือร่วมกันเพื่อกำหนดกรอบเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ

ESG

“ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีนี้ จนถึงสิ้นปีหน้า จะมีการหารือจากหน่วยงานรัฐ นักลงทุนสถาบันและธุรกิจธนาคาร เพื่อตกลงร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป”

ดร.ศรีกัญญา กล่างถึงที่มาของการประกาศเจตนารมณ์ครั้งนี้ว่ากบข. ในฐานะนักลงทุนสถาบัน ตระหนักถึงพันธกิจสำคัญที่นอกเหนือจากการสร้างผลตอบแทนการลงทุน แต่ต้องคำนึงถึงผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และต้องส่งเสริมการลงทุนในกิจการที่ยึดถือในหลักธรรมาภิบาลควบคู่ไปด้วย (Doing well while doing good) อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนการลงทุนอย่างรับผิดชอบ ตลอดจนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน (Sustainable Economic and Social Development) สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ กบข. ในการเป็นผู้นำและผู้ริเริ่มนวัตกรรมการด้านการลงทุนโดยคำนึงถึงปัจจัยด้าน ESG (Leader in ESG Investing & Initiatives in Thailand)

“กบข.เป็นนักลงทุนสถาบัน เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วย และเราก็เชื่อมโยงกับระดับนโยบายของกระทรวงการคลัง  ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ดังนั้น จึงใช้การเชื่อมโยงจากตรงนี้เข้าไปขับเคลื่อนการลงทุน”

งาน Sustainable Thailand 2021 ที่จัดไป สืบเนื่องจาก กบข.ได้ผลักดันเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นมองความยั่นยืน หรือ SDGs วิสัยทัศน์ 2030 ที่เป็นเป้าหมายขององค์การสหประชาชาติ(UN) ที่มีเป้าหมายของโลก 17 เป้าหมาย โดยเรามองเรื่องสิทธิมนุษยชนก่อน ซึ่งเป็นจุดเชื่อมไปหลายด้าน

ESG

กบข. วางเป้าหมายในการขับเคลื่อนตามกรอบของ UN ในปีนี้ก่อน คือ การทำเรื่องสิทธิมนุษยชน เพราะเป็นจุดเชื่อมต่อได้เกี่ยวข้องกับหลายอย่างมาก เช่น แรงงาน โควิด ลูกค้า จึงวางเป้าหมายในปีนี้จะขับเคลื่อนเรื่องสิทธิมนุษยชนใน 2 เรื่องสำคัญ

เรื่องแรก อยากทำหรอบงงาน หรือเฟร์มเวิร์คเป็นมาตรฐานให้กับทุกบริษัททุกกิจการใช้ร่วมกันได้ จะทำอย่างไรบ้าง หากจะจริงจัง ต้องมีนโยบาย กระบวนการดูแล แก้ไขตามหลัก UN ซึ่งเราอยากทำให้ในเรื่องการลงทุนเป็นเฟร์มเวิร์ค ต้องเคารพสิทธิมนุษยชน และจะให้เกี่ยวโยงมาที่การลงทุน

เรื่องที่สอง กบข.อยากจะทำ คือ Heat Map (เทคโนโลยีการนำแผนที่มาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทางประชากรศาสตร์  ) กล่าวคือการมองหาธุรกิจในประเทศไทยที่พูดถึงตามหัวข้อสิทธิมนุษยชนเป็นสำคัญ อย่างเช่น อุตสาหกรรมประมง แรงงานข้ามชาติเป็นสิ่งสำคัญ หากกำหนดว่าธุรกิจต้องดูแลระดับ 5 แต่ดูแลจริงระดับ 1 ก็ถือว่ายังไม่ดี

“เราต้องการหาตรงนี้ เราต้องการหาว่าปัจจัยสำคัญมาก ๆ มีอะไร เพื่อหาสองอย่างเป็นแกน พอเราคิดได้ เราจะทำอย่างไร เพราะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ก็ไปชวนตลาดหลักทรัพย์เข้ามาร่วมด้วย เรื่องนี้ก็เดินหน้าอยู่กับตลท. อยู่ระหว่างการวางแผนคิดงานกัน”

ต่อมาทาง UN เสนอว่าทำไมประเทศไทยไม่ประกาศว่าจะจริงจังเรื่องความยั่งยืน ซึ่งมีหลายหน่วยงานดำเนินการเรื่องนี้ น่าจะรวมตัวกันเพื่อประกาศให้โลกได้รับทราบว่าประเทศไทยจริงจังในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ เพราะที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานดำเนินการ แต่ทำคนละมิติ ในขณะที่ทุกอย่างเป็นเรื่องเดียวกัน ซึ่งคนที่ช่วยผลักดันสำคัญ คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่เข้ามาสนับสนุนอย่างเต็มที่ โดยได้จัด 2 กลุ่ม ภาคสถาบันการเงิน และภาคลงทุน

การจัดงาน Sustainable Thailand 2021 ในครั้งนี้ มี 43 สถาบันการเงินเข้าร่วม และได้ลงนามประกาศขับเคลื่อนเรื่องการลงทุนที่ยั่งยืนร่วมกัน ซึ่งขณะนี้ กบข.ได้รวบรวมข้อสรุปในการทำหนังสือสำหรับไว้ให้นักลงทุนได้อ่านและมาศึกษา คือ Sustainable Thailand เล่มที่ 1 โดยจะรวบรวมเรื่องราวทั้งหมด เพื่อให้เห็นรู้ว่าประเทศไทยในขณะนี้ อยู่ ณ จุดใหน และ ปีหน้าจะทำงานร่วมกัน เพื่อดำเนินการต่อในปีหน้า

เตรียมระดมสมองกำหนดกรอบกติการ่วมกัน

ดร.ศรีกัญญา กล่าวว่าในห่วงโซ่ของการขับเคลื่อนด้านการลงทุน ผู้ที่มีบทบาทที่สุด คือ นักลงทุน ซึ่งกบข.จะทำหน้าที่ขับเคลื่อนการลงทุนไปพร้อมกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อช่วยให้ประเทศไทยสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยจะมีการกำหนดรกรอบติกา นโยบายและกระบวนการทำงานให้ชัดเจนร่วมกันกับนักลงทุนสถาบันทั้ง 43 แห่ง ที่ได้แสดงเจตนารมณ์ว่าจะขับเคลื่อนเรื่อง ESG อย่างเต็มที่และมีทิศทางที่ชัดเจน

“ขณะนี้ กบข.ได้ร่วมหารือ กับ UN เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนในขั้นต่อไป เพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านการลงทุน”

ดร.ศรีกัญญา กล่าวว่าขั้นแรกจะเริ่มทำความเข้าใจในคำนิยามของคำว่า “ความยั่งยืน” ก่อน เป็น taxonomy ซึ่งทางสหภาพยุโรป( EU) เพิ่งนิยามคำศัพท์ว่า taxonomy โดยได้เข้าไปหารือกับทาง UN ก็ได้ข้อสรุปว่าเราจะมาทำภาคภาษาไทย เพื่อให้คนที่เข้าร่วมเข้าใจร่วมกัน ซึ่งขณะนี้มีหน่วยงานที่ดำเนินการไปเบื้องต้นแล้ว คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)

อันดับถัดมา คือ การทำกระบวนการ ขั้นตอนในการทำยั่งยืนว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ยั่งยืน ซึ่งในฐานะนักลงทุน ตรงนี้ต้องเริ่มจากการดูนโยบายก่อนว่ามีความสอดคล้องกับมาตรฐานหรือไม่ จากนั้นไปดูเรื่องของกระบวนการทำงาน  และก็เข้าไปสร้างการเข้าถึง หรือ engagement

ยกตัวอย่าง กบข.มีกระบวนการภายใน มีกติกาเลือกผู้จัดการกองทุน ระหว่างทุนไป บริษัทมีปัญหาจะทำอย่างไร อันนี้กระบวนการ เป็นการตีกรอบการทำงาน ซึ่งเมื่อทุกอย่างชัดเจน แต่เกิดปัญหาจะทำอย่างไร การเข้าไป engagement ให้เขาเปลี่ยนแปลงจะทำอย่างไร ซึ่งต้องมาตกลงนโยบายการลงทุนกันว่าจะเป็นอย่างไร

“จะมาคุยกันเรื่องนี้ เราจะทำอย่างไร ต้องมาทำความเข้าใจกัน เริ่มต้นมีนโยบายไหม ต่อไปกระบวนการทำงาน หากเกิดปัญหาจะทำอย่างไร หลักการลงทุน เราต้องการ engagement ให้เขาเปลี่ยนแปลง บางคนเลือก divestment เราต้องมีความตกลงด้วยกัน อย่างกิจการที่มีปัญหาและไม่ยอมเปลี่ยนแปลง เราต้องประกาศไหม เรา sanction สิ่งเหล่านี้หรือไม่ ประเด็นเหล่านี้ยังไม่ได้ตกลงร่วมกัน”

ดร.ศรีกัญญากล่าวว่าหากสามารถตกลงกรอบกติกา นโยบายและกระบวนการชัดเจน ก็ต้องทำเอกสารขึ้นมา เพื่อดูว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หลังจากที่เราร่วมประกาศเจตนารมณ์ “Sustainable Thailand”

สำหรับ กบข. มีนโยบายชัดเจนว่าจะ investment และ engagement  หลักการลงทุนอย่างยั่งยืน คือ เมื่อมีกิจการที่ลงทุนอยู่แล้ว ดำเนินการไม่สอดคล้องกับ ESG ผู้ลงทุนต้องไปทำความเข้าใจ เพื่อให้เขาเปลี่ยนแปลง

เตรียมจัดทำ ESG Data ของไทยที่ได้มาตรฐาน

ดร.ศรีกัญญา กล่าวว่า กบข.มีแผนในการพัฒนาการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจะด้าน ESG ซึ่งที่ผ่านมามี world margin Index เป็นบริษัทประเมินด้าน ESG ทั้งโลกที่จดทะเบียนในตลาด S&P 500 โดยนักลงทุนต่างชาติรวมตัวกันตั้งเป็นสมาคมขึ้นมาเพื่อวัดการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของบริษัทจดทะเบียน

ดังนั้น กบข.มองว่าน่าจะเอาหลักคิดมาใช้ในประเทศไทย ซึ่งต้องหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง ซึ่งหากประเทศไทยทำได้ ก็จะช่วยให้เรามี ESG Data ที่ได้มาตรฐานสากล และจะทำให้บริษัทและนักลงทุนต่างประเทศ ที่ต้องการเข้ามาลงทุนไม่จำเป็นต้องหาข้อมูลเองและเป็นข้อมูลที่ 43 สถาบันยอมรับว่าใช้ได้

“ทั้งหมดเป็นแผนงานที่ กบข. ได้มีการหารือร่วมกับ UN เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่ได้คุยกับ 43 สถาบัน เป็นแค่แนวทางที่จะบอกว่าเมื่อลงนามแล้วจะไปไหนต่อ ซึ่งแผนนี้เรียบร้อยตกผลึกแล้ว ก็จะสามารถกเริ่มดำเนินการได้ไตรมาส 4 เป็นต้นไป”

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo