Finance

ธปท.แนะ 5 จุดวิธีตรวจธนบัตรปลอม ยันที่โคราชจริง แต่โดยสารเคมี

ธนบัตรปลอม ดูอย่างไร ธปท.แจงวิธีดูธนบัตรใบละ 1,000 บาทว่าปลอมหรือไม่ ดูได้จาก 5 จุด ขณะที่ชาวบ้านนครราชสีมากดจากตู้ ATM พบธนบัตรในเล็กผิดปกติ ยันเป็นธนบัตรจริง แต่ถูกสารเคมีทำให้เล็กลง

ธนาคารแหงประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่าจากกรณีผู้เสียหายร้องเรียนว่ากดเงินจากตู้ ATM ที่จังหวัดนครราชสีมา พบธนบัตรใบละ 1,000 ปลอมนั้น ศูนย์จัดการธนบัตร นครราชสีมา ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้พบกับผู้เสียหายและได้รับธนบัตรฉบับที่เป็นข่าวมาตรวจพิสูจน์แล้ว พบว่าธนบัตรฉบับนี้เคยถูกสารเคมี จึงทำให้แถบสีหลุดลอกบางส่วน ขนาดธนบัตรหดสั้นลง และเนื้อกระดาษหยาบกว่าปกติ จึงทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นธนบัตรปลอม

ธนบัตรปลอม

จากการนำธนบัตรมาตรวจพิสูจน์แล้ว พบว่า ธนบัตรที่กดได้จากตู้ ATM ตามที่เป็นข่าว”ไม่ใช่ธนบัตรปลอม” ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือรับรองว่าเป็นธนบัตรจริงให้ผู้เสียหาย เพื่อที่จะได้นำไปยืนยันกับธนาคารใช้ในการแลกเปลี่ยนธนบัตรฉบับใหม่ได้ครับ

สำหรับจุดสังเกตแบงก์พันที่ดูได้แบบง่าย ๆ เร็ว ๆว่าปลอมหรือไม่ ให้ดูที่ “แถบสีในเนื้อกระดาษ” ดังนี้

  • เป็นพลาสติกสีทองที่ฝังไว้ในเนื้อกระดาษตามแนวตั้งของธนบัตร จึงเรียกว่า “แถบสีทอง”
  • ในมุมปกติจะมองเห็นเป็นเส้นประแต่เมื่อส่องกับแสงจะเห็นเป็นเส้นตรงและมีข้อความ “1000 บาท 1000 BAHT”
  • เมื่อพลิกเปลี่ยนมุมมองจะเปลี่ยนจากสีทองเป็นสีเขียว และลวดลายในแถบจะกลิ้งเคลื่อนไหวไปมาได้
  • แถบสีอาจมีรอยขูดขีด หลุดลอกชำรุดจากการใช้งานได้ 
  • แถบสีที่อยู่ในเนื้อกระดาษธนบัตรแต่ละฉบับสามารถอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันได้ โดยอาจเลื่อนไปทางซ้ายหรือขวา ตามระยะที่มาตรฐานกำหนดไว้

ตรวจธนบัตร

ตรวจธนบัตร

ตรวจธนบัตร

ตรวจธนบัตร

แถบสีมีประโยชน์สังเกตง่าย แต่เพื่อความปลอดภัยควรตรวจสอบจุดอื่นเพิ่มเติมด้วยอย่างน้อย 3 จุด

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

Avatar photo