Finance

ปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ปิด 341 สาขา ปรับตัวสู้กระแสดิสรัป

ธนาคารพาณิชย์ยังเดินหน้าปิดสาขา จากกระแสดิสรัปเมื่อหลายปีก่อน ทำให้พฤติกรรมของผู้ใช้บริการเปลี่ยนไป โดยธนาคารพาณิชย์กำลังปรับตัวอย่างหนัก ทั้งรูปแบบการบริการและหาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ 

ธนาคารแห่งประเททศไทย(ธปท.) ระบุว่าสิ้นปี 2563 ธนาคารพาณิชย์ยังคงปิดสาขาเพิ่มขึ้น ปิดสาขารวมทั้งสิ้น 341 แห่ง โดยธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ไทยและต่างประเทศ รวม 31 แห่ง เหลือสาขาในประเทศ 6,167 แห่ง ลดลงจาก 6,508 แห่งเมื่อสิ้นปี 2562

ธนาคารที่ปิดมากที่สุดคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ปิดสาขามากที่สุด 180 สาขา ธนาคารกรุงไทย 159 สาขา ธนาคารกสิกรไทย 26 สาขา ธนาคารกรุงไทย 20 สาขา ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 20 สาขา

ธนาคารปิดสาขาทั่วประเทศ

สาขาธนาคารพาณิชย์ลดลงอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา จากระดับ 10,000 สาขา ลดลงต่อเนื่องเหลือ 6,167 สาขาในปี 2563 จากพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้บริการที่ไปสาขาลดลง โดยเฉพาะสาขาที่อยู่ตามชุมชน ซึ่งเคยเป็นจุดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด แต่การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีทางการเงิน ที่ทำให้คนเชื่อมั่นในด้านความปลอดภัยบริการออนไลน์มากขึ้น ความนิยมไปสาขาจึงลดลง

อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์ให้ความสำคัญกับการเปิดจุดบริการ ที่ไม่ใช่สาขาเต็มรูปแบบ แม้ว่าสาขาจะลดลง แต่จุดบริการยังเพิ่มขึ้น โดยสิ้นปี 2563 มีจุดบริการรวมทั้งสิ้น 304 แห่ง

นอกจากการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมผู้บริโภคแล้ว อีกด้านที่เกิดขึ้นคือ การเฟื่องฟูของแพลตฟอร์ม e-Marketplace ยังช่วยหนุนให้สาขาธนาคารมีบทบาทลดลง ซึ่งการปรับลดสาขาและก้าวสู่แฟลตฟอร์มใหม่ เป็นการปรับตัวของธุรกิจธนาคารจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี

นางสาวอริสา เพ็ญดารา ฝ่ายนโยบายและกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวในบทความ “ธนาคารพาณิชย์กับบทบาทการเป็นแพลตฟอร์ม e-Marketplace” ว่า ย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว เวลาเราจะซื้อของทีก็ต้องไปตลาดหรือไม่ก็ห้างสรรพสินค้า ซึ่งอาจอยู่ไกลจากบ้านต้องใช้เวลาเดินทางสักหน่อย ใครจะนึกว่าทุกวันนี้ เพียงแค่มีโทรศัพท์มือถือและแอปพลิเคชันออนไลน์อย่าง ‘แพลตฟอร์ม e-Marketplace’ ก็สามารถช้อปปิ้งแบบ anywhere anytime พร้อมรอรับสินค้าและบริการส่งตรงถึงหน้าบ้าน

เมื่อทุกอย่างย้ายขึ้นไปอยู่บนโลกออนไลน์และการรับ-จ่ายเงินต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง สิ่งที่แพลตฟอร์ม e-Marketplace จะขาดไปไม่ได้ คือ ระบบการชำระเงิน (payment) ที่น่าเชื่อถือและไว้ใจได้ ธนาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้มีความชำนาญและมีระบบโครงสร้าง payment ที่แข็งแกร่งจึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แพลตฟอร์ม e-Marketplace ประสบความสำเร็จ จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้มีแพลตฟอร์ม e-Marketplace รายใหญ่มากมายที่เป็นพันธมิตร (partner) กับธนาคารพาณิชย์

นอกจากบทบาทในการเป็นผู้ให้บริการ payment แล้ว ธนาคารพาณิชย์ก็สามารถใช้ความรู้และทรัพยากรด้านเทคโนโลยีที่มีอยู่นำมาต่อยอดพัฒนาและพลิกบทบาทไปเป็นผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม e-Marketplace เองได้เช่นกัน ประโยชน์สำคัญนอกเหนือจากลูกค้าจะได้ซื้อ-ขายสินค้าได้อย่างสะดวกสบายแล้ว ธนาคารพาณิชย์ยังสามารถเสนอสินเชื่อหรือบริการทางการเงินได้มากขึ้นอีกด้วย ผ่านการเข้าถึงข้อมูลพฤติกรรม (behavior data) ของลูกค้าที่เกิดจากการทำธุรกรรมในแพลตฟอร์ม e-Marketplace

ธนาคารแห่งประเทศไทยตระหนักถึงประโยชน์ของข้อมูลทางเลือกดังกล่าว จึงได้อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์สามารถให้บริการแพลตฟอร์ม e-Marketplace ได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม: 

Avatar photo