Finance

โบรกฯ ประสานเสียงหุ้นไทยเดือนเม.ย.ยังผันผวนสูง

DSC 7112

 

บล.เออีซี ประเมินว่า เดือนเมษายนตลาดหุ้นไทยยังเผชิญความผันผวนสูงและทิศทางลงเป็นต่อ หลังขาดปัจจัยหนุนใหม่ อีกทั้งยังถูกแรงกดดันจากปัจจัยลบทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนหาก SET ปิดหลุด 1,760 จุด แนะนำ Stop Loss และ Wait &See เนื่องจากมองดัชนีมีโอกาสแกว่งลงไปทดสอบระดับ 1,730 จุด แต่หากดัชนียังสามารถปิดยืนเหนือระดับ 1,760 จุด แนะนำ “ขึ้นขาย ลงซื้อ โดยไม่ไล่ราคา” ในหุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะ ดังนี้

– หุ้นกลุ่มพลังงานที่ได้อานิสงส์ราคาน้ำมันยังทรงตัวสูงและไม่ได้รับผลกระทบอย่างมีนัยจากการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นใหม่ : PTT, PTTEP

– หุ้น ธพ. ซึ่งคาดราคาจะเริ่มฟื้นตัว หลังสัปดาห์ก่อนปรับลงแรงจากกังวลสงครามค่าฟี : KBANK, SCB, BBL, TMB

– หุ้น Domestic Play ที่ยังโตแกร่ง พร้อมเป็นหลุมหลบภัย : BCH, RJH, MINT, ERW

– หุ้นจ่าย Div. Yield เกิน 3% โดยจะขึ้น XD เม.ย.–พ.ค. นี้ : KKP, AIT, SC, AP, LH

บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ระบุ เดือน เมษายนเต็มไปด้วย Event play มีหลายปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางตลาด นำโดยวันนี้ (2 เม.ย.) ติดตามสนช.เตรียมยื่นร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญการเลือกตั้งส.ส.ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งกรอบเวลาของการพิจารณาขึ้นอยู่กับว่าศาลจะวินิจฉัยบางมาตราอย่างที่ทำกับพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญที่มาส.ว.เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หรือตีตกทั้งฉบับ ( Roadmap ก.พ.62 จะเลื่อนหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ศาลวินิจฉัย) และ ติดตามนายกรัฐมนตรีตัดสินการใช้มาตรา 44 กับกลุ่ม ICT และ TV Digital ซึ่งหากนายกตัดสินใจไม่ใช้มาตรา44 เรามีมุมมองเป็นกลางต่อกลุ่ม ICT และเป็นลบต่อกลุ่ม TV Digital (เชิงโครงสร้าง)

และวันที่ 5 เม.ย. ติดตามกระทรวงพลังงานพิจารณาปรับสูตรโครงสร้างการคำนวณราคาเชื้อเพลิงหน้าโรงกลั่นใหม่ เพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมัน ในขณะที่วันนี้จะมีการปรับขึ้นค่าแรงทั้งประเทศ 5-22 บาท เป็น 308-330 บาท คาดกระทบภาคเกษตรและบริการสูงที่สุด (โดยภาคเกษตรและบริการมีต้นทุนแรงงานคิดเป็นสัดส่วนสูงกว่า 17 และ 20% ของต้นทุนทั้งหมด ตามลำดับ) ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมปกติจ่ายค่าแรงสูงกว่าอยู่แล้วและด้วยเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาททำให้ต้นทุนแรงงานมีผลกระทบจำกัด และล่าสุดเมื่อเช้าที่ผ่านมาจีนประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ 15-25% สูงกว่า 120 สินค้านำโดยหมูและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เบื้องต้นเราคาด CPF จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากราคาหมูในประเทศจีน(CPP) ที่ปรับตัวขึ้นและความต้องการ Feed stock ที่สูงขึ้น

สัปดาห์นี้คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1,760-1,780 จุด แนะนักลงทุนเปลี่ยนใช้กลยุทธ์ซื้อที่แนวรับ 1,760 และทยอยขายบริเวณแนวต้าน 1,780 และ 1,800

บล.ฟินันเซีย ไซรัส แนะกลยุทธ์การลงทุนเดือนเมษายน ระบุ สถิติอดีตที่ SET เดือน เมษายน ปรับขึ้นเฉลี่ย 1.8% M-M ดูจะใช้ไม่ได้ในปีนี้ที่มีประเด็น Trade war แม้ว่าเราคาดว่าสุดท้ายจะไม่บานปลายเป็นสงครามการค้า เพราะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย แต่เนื่องจากเดือนนี้ สหรัฐจะเผยรายการสินค้าที่จะเรียกเก็บภาษี พัฒนาการของข่าวจึงกระทบ Sentiment ตลาดหุ้นโลก (กระทบจำกัดต่อเศรษฐกิจจริง)

สำหรับประเด็นในประเทศ เราไม่กังวลแม้โอกาสเลื่อนเลือกตั้งจะสูงขึ้น (ประเด็นนี้ sensitive กับนักลงทุนทั่วไป ไม่ใช่กองทุน ส่วนต่างชาติขายหุ้นไทยมาตลอดอยู่แล้ว) ส่วนการฟรีค่าธรรมเนียมของธนาคาร ในระยะยาวมีผลบวกมากกว่าลบ ภาพของตลาดหุ้นในระยะสั้นจึงไม่สดใสนัก การพักเงินในกลุ่ม Defensive น่าจะเหมาะกว่า แต่ภาพระยะยาวยังมองบวกตามเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในวัฏจักรขาขึ้น เดือนนี้แนะนำ BDMS, CPN, ERW, KBANK, SYNEX

สำหรับกลุ่มที่ยัง laggard อาจกลับมา Outperform ในช่วงที่ตลาดพักฐาน นอกจากหุ้นกลุ่ม Defensive ที่เราแนะนำในระยะนี้ กลุ่มที่ laggard จะเป็นอีกกลุ่มที่มี Downside จากัด ซึ่งกลุ่มที่เราสนใจคือ ท่องเที่ยว (-9% YTD) และยานยนต์ (-3% YTD) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่แนวโน้มกาไร 1Q18 จะออกมาดีทั้งคู่ โดยกลุ่มท่องเที่ยวมีปัจจัยหนุนทั้งการลดหย่อนภาษีเที่ยวเมืองรอง การพัฒนาคลัสเตอร์ท่องเที่ยวเพิ่มอีก 6 คลัสเตอร์ เป็น 15 คลัสเตอร์ และไทยแลนด์ ริเวียร่า เราชอบ ERW (TP 9 บาท) และ MINT (TP 48 บาท) ส่วนกลุ่มยานยนต์น่าสนใจตรง PE ต่ำ และยอดผลิตรถยนต์ 2M18 +12% Y-Y แนะนำ PCSGH (TP 13 บาท)

 

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK