Finance

‘บล.ไทยพาณิชย์’…มองเวลท์ รายวีค จับตาความชัดเจน ‘เจรจาการค้า สหรัฐ – จีน’

‘บล.ไทยพาณิชย์วิเคราะห์ Wealth Weekend …. มองเวลท์ รายวีค สรุปการลงทุนสัปดาห์นี้

ตลาดหุ้น

• ตลาดหุ้นสหรัฐ เริ่มปรับฐาน หลังจากที่ทำจุดสูงสุดใหม่จากแรงหนุน ผลประกอบการที่แข็งแกร่ง ด้านญี่ปุ่น เริ่มปรับฐานเช่นกันจากค่าเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น ขณะที่ตลาดหุ้นฮ่องกงเริ่มฟื้นตัวจาก valuation ที่น่าสนใจมากขึ้น และความคาดหวังที่ว่าสถานการณ์จะไม่แย่ไปกว่านี้
• ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลง โดยได้รับแรงกดดันมาจากหุ้นในกลุ่มน้ำมัน และโรงกลั่น หลังจากที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวลดลง แนวรับ 1,590 – 1,600 จุด ยังเป็นแนวรับที่แข็งแรง

ตราสารหนี้

• อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐระยะยาวปรับตัวลดลง (ราคาเพิ่มขึ้น) จากความไม่ชัดเจนของข้อตกลงทางการค้า ขณะที่พันธบัตรระยะสั้นแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ผลตอบแทนของพันธบัตร 10 ปี (1.77%) ปรับสูงกว่าพันธบัตรอายุ 3 เดือน (1.57%) ราว 20 basispoints ปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนอยู่ที่บริเวณ 28 basis points ค่อนข้างมาก
• พันธบัตรของไทยมีอัตราผลตอบแทนลดลง ทั้งระยะ 2 ปี และ 10 ปี โดยต่างชาติซื้อสุทธิ 551 ล้านบาทในสัปดาห์นี้

อัตราแลกเปลี่ยน

• ดอลลาร์สหรัฐ (DXY) ทรงตัวที่ 97.8 ขณะที่ปอนด์ทรงตัว ด้านเยนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยอยู่ที่บริเวณ 108.6 เยนต่อดอลลาร์ ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้น หลังจากที่ GDP เยอรมนีเป็นบวก
• ด้านค่าเงินเอเชีย ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.20 บาท ต่อดอลล่าร์ ขณะที่เงินหยวน อ่อนค่าลงเล็กน้อยที่ 7.03 หยวนต่อดอลลาร์

สินค้าโภคภัณฑ์

• ราคาน้ำมันดิบ Brent ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 63.6 ดอลลาร์ ต่อบาร์เรล จากกระแสข่าวที่รัสเซีย ไม่เห็นด้วยในการลดกำลังการผลิต ลงทำให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงมาในช่วงต้นสัปดาห์ แต่หลังจากสหรัฐ ประกาศตัวเลขน้ำมันดิบคงคลังที่ลดลงต่ำกว่าที่คาดไว ้และ OPEC ขยายเวลาในการลดกำลังการผลิต ไปถึงช่วงกลางปี 2020 ส่งผลให้ราคาน้ำมันฟื้นตัวขึ้นมาสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 เดือน

Stockความไม่ชัดเจนของข้อตกลงทางการค้า สหรัฐ – จีน กระทบตลาดการเงินโลกหลังจากที่ทางจีนเริ่มไม่สบายใจเกี่ยวกับข้อตกลงทางการค้า หลังจากที่ ปธน. ทรัมป์ ไม่เห็นด้วยที่จะยกเลิกกำแพงภาษี หากมีการลงนามข้อตกลงทางการค้าในระยะที่ 1 ขณะที่รัฐสภาสหรัฐผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรฮ่องกง ซึ่งทางจีน อาจมองว่าเป็นกิจการภายในจีน ทำให้ภาวะ Risk On น้อยลง สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างพันธบัตรสหรัฐ ทองคำ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น และค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น

มุมมองมหภาคและความเสี่ยง

ความไม่ชัดเจนด้านข้อตกลงการค้า ทำให้ตลาดการเงินเริ่มปรับฐาน จึงต้องจับตาสัญญาณเศรษฐกิจ ทั้ง 3Q19 US GDP และความเชื่อมั่นผู้บริโภคว่าจะฟื้นขึ้นหรือไม่ ด้านเศรษฐกิจไทยแม้ชะลอตัวแต่เริ่มเห็นสัญญาณบวก

Bond

3Qเหตุการณ์ที่น่าสนใจสัปดาห์หน้า…

What is our view?

เชื่อว่า สหรฐั -จีน จะมีข้อตกลงก่อน 15 ธันวาคม 2562 เหลือไม่ถึง 1 เดือนก็จะถึงวันที่ทางสหรัฐ  ยืดเวลาการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนกลุ่มที่ 3 มูลค่าประมาณ 1.6 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นสินค้าที่กระทบกับผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นเชื่อว่าในที่สุดแล้วทั้งสองฝ่าย น่าจะได้ข้อสรุปในเรื่องข้อตกลงทางการค้า ภายใน 15 ธันวาคม 2562  หากไม่สามารถตกลงกันได ้จะส่งผลกระทบทั้งต่อเศรษฐกิจสหรัฐและจีน  เป็นผลลบต่อตลาดเงินตลาดทุนสหรัฐเองด้วย การเจรจายากขึ้นหลังจากรัฐสภาผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรฮ่องกง ซึ่งทางจีนมองว่าเป็นการล่วงอำนาจอธิปไตย

GDP ไทยในไตรมาสที่ 3 โตต่ำกว่าคาด แต่ ส่งออกเดือนตุลาคม เริ่มมีสัญญาณบวก โดย GDP ขยายตัว 2.4% YoY ต่ำกว่าที่ตลาดคาดว่าจะโต 2.8% YoY ปัจจัยที่กดดันเศรษฐกิจ คือการบริโภคภาคเอกชนชะลอตัว การส่งออกที่ไม่ขยายตัว แต่การนำเข้าหดตัวมาก และสินค้าคงคลังที่ลดลงมาก สินค้าคงคลังที่ลดลงมาก แต่การบริโภคและลงทุนไม่ได้หดตัวมากนัก ทำให้ภาคการผลิตหันกลับมาผลิตได้บ้าง อาจมีผลต่อปัจจัยบวกเศรษฐกิจไทยในปีหน้า  การส่งออกเดือนตุลาคม แม้ลดลง 4.5% YoY แต่เริ่มมีสัญญาณบวกจากสินค้าคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวได้ครั้งแรกในรอบ 12 เดือนล่าสุด คาดว่า GDP ในปี 2020 จะขยายตัวได้ 2.8%

ทยอยเพิ่มน้ำหนักในสินทรัพย์เสี่ยง ยังคงยืนยันมุมมองในเชิงบวกต่อการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสำหรับปี 2020 เพียงแต่ยังคงแนะนำให้ทยอยเพิ่มน้ำหนัก โดยอาศัยช่วงจังหวะที่ราคาอ่อนตัว เนื่องจากการเจรจาการค้าสหรัฐฯ-จีน หากไม่สำเร็จก่อน 15 ธันวาคมนี้ จะส่งผลด้านลบในระยะสั้น แต่เชื่อว่าตลาดการเงินเตรียมใจไว้แล้ว  ขณะที่คาดว่าการเจรจาการค้าจะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2020 พร้อมกับเห็นว่าการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกเข้าใกล้จุดต่ำสุดแล้ว

ทั้งนี้ตลาดหุ้นที่เรามองว่ามีโอกาสให้ผลตอบแทนดีได้แก่ สหรัฐ ตลาดหุ้นเกิดใหม่ และตลาดหุ้นไทย (แนะนำ ซื้อสะสมบริเวณ 1600 จุด หรือต่ำกว่า ส่วนสินทรัพย์ทางเลือก ประเภท REITs/IFF ยังคงน่าลงทุนหลังจากผลตอบแทนจากเงินปันผลปรับตัวเพิ่มขึ้นมาในระดับที่เหมาะสมแล้ว ด้านทองคำมีความน่าสนใจลดลง แต่ควรซื้อเพื่อใช้ป้องกันความเสี่ยง

What to watch?

• ติดตามตัวเลข CB Consumer Confidence ประจำเดือนพฤศจิกายน ตัวเลขความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมาแล้ว 2 เดือนติดต่อกัน โดยคาดว่าตัวเลขความเชื่อมั่นในเดือนพฤศจิกายน จะปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์ความขัดแย้งทางการค้าที่ดีขึ้น ตลาดหุ้นสหรัฐ  สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง

• ติดตามตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของสหรัฐ  (ประมาณการครั้งที่ 2) โดยตัวเลขที่ประกาศครั้งแรก +1.9% YoY ดีกว่าคาด โดยเรายังเชื่อว่า GDP สหรัฐจะยังสามารถเติบโตได้ในระดับที่ใกล้เคียงกับ 2% ได้ที่บริเวณ 1.8 – 1.9% เนื่องมาจากภาคการบริโภคสหรัฐ ยังคงแข็งแกร่ง และมีสัดส่วนเกือบ 70% ของ GDP สหรัฐ

• ติดตามความคืบหน้าของข้อตกลงทางการค้าระหว่างสหรัฐ และจีนจากสถานการณ์ที่คลุมเครือทำให้นักลงทุนเกิดความกังวลว่าจะเกิดการลงนามข้อตกลงทางการค้าขึ้น หรือไม่เชื่อว่าการเจรจาหาข้อตกลงยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่สไตล์การเจรจา และการพูดต่อสาธารณชนของประธานาธิบดีทรัมป์ อาจจะทำให้ตลาดเกิดความกังวล

คำแนะนำการลงทุน

มุมมองเป็น Positive สำหรับตลาดหุ้นสหรัฐ จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดูแข็งแรงขึ้น ขณะที่บริษัทจดทะเบียนในภาพรวม ยังสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง และดีกว่าที่ตลาดคาด การเพิ่มสภาพคล่องเข้ามาในระบบของ Fed ส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นเช่นกัน ตั้งแต่นโยบายอัดฉีดสภาพคล่องเดือนละ 60,000 ดอลลาร์ ถูกนำมาใช ้ตลาดหุ้นสหรัฐ ถือว่ามีความผันผวนที่ลดลงไปค่อนข้างมาก หุ้นในกลุ่มเฮลท์แคร์ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง

มุมมอง Positive ต่อตลาดหุ้นจีน แต่มีมุมมองเป็นกลางต่อเศรษฐกิจจีน ข่าวความคืบหน้าของข้อตกลงทางการค้ามีความคลุม เครือมากขึ้น สถานการณ์ในฮ่องกงยังคงมีความรุนแรงอยู่ แต่ตลาดเริ่มฟื้นตัวหลังจากที่ปรับตัวลดลงแรงในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ในระยะกลาง และยาวเรายังมองบวกต่อการลงทุนในตลาดหุ้นจีน โดย เฉพาะหุ้นที่เกี่ยวกับการบริโภค ธุรกิจด้านการแพทย์และเทคโนโลยี โดยเฉพาะหุ้น A-Share เม็ดเงินที่จะเข้าสู่ตลาดหุ้นจีนในอนาคตจากการปรับน้ำหนักของ MSCI Emerging Market รวมไปถึงนโยบายทางการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น

ทางด้านตลาดหุ้นญี่ปุ่น ดัชนี Nikkei เริ่มปรับฐานหลังจากที่ข้อตกลงทางการค้าคลุมเครือมากขึ้น กระแสเงินไหลเข้าสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่า ภาพระยะสั้นดัชนี Nikkei สามารถยืนเหนือระดับ 22,800 – 23,000 จุดได้ ถือว่ายังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น เรายังคงมุมมอง Neutral ต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น

ทางด้านยุโรป ข่าวความคลุมเครือของข้อตกลงทางการค้าส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นยุโรปเช่นกัน เนื่องจากจีนคือลูกค้ารายใหญ่ของยุโรป ทั้งสินค้าหรูหรา และการท่องเที่ยว บริษัท Volkswagen ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลกได้ออกมาปรับมุมมองระยะกลางและยาวลง ส่งผลให้หุ้นในกลุ่มยานยนต์ปรับตัวลดลง เรายังคงมุมมอง Neutral

มุมมอง Neutral กับตลาดหุ้นไทย มีการประกาศตัวเลขการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 3 ออกมาที่ 2.4% ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ 2.8% ค่อนข้างมาก การปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นอีกปัจจัยที่กดดันต่อตลาดหุ้นไทย เนื่องจากหุ้นในกลุ่มน้ำมันมีน้ำหนักในตลาดหุ้นไทยค่อนข้างมาก

ตราสารหนี้ต่างประเทศในระดับ Investment Grade สามารถเข้าลงทุนได้ หรือถือต่อเนื่องจากดอกเบี้ยทั่วโลกอยู่ในแนวโน้ม ขาลงส่วนต่างระหว่างหุ้นกู้ IG และพันธบัตรยังดูน่าสนใจ รวมไปถึงการปรับตัวลดลงของผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวในสหรัฐด้วย คงมุมมอง Neutral

มุมมอง Neutral ใน IFF/REITs ถึงแม้อัตราผลตอบแทนของเงินปันผลที่ยังน่าพอใจ จากผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และตลาดอยู่ในภาวะ Risk On มากขึ้นจากราคาที่ปรับลดลงมาทำให้อัตราผลตอบแทนน่าสนใจมากขึ้น สำหรับนักลงทุนระยะยาวที่ต้องการปันผล 4 – 5% ต่อปีสามารถถือต่อไปได้สำหรับผู้ที่ยังไม่มีสามารถทยอยเข้าลงทุนได้

มุมมองที่เป็น Neutral ต่อทองคำ จากผลตอบแทนพันธบัตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ยังคงแนะนำให้นักลงทุน ยังคงมีทองคำไว้ในพอร์ต เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของพอร์ตไม่ให้ผันผวนเกินไป ราคาบริเวณ 1,450 -1,475 ดอลลำร์เป็นช่วงราคาที่น่าสนใจเข้าไปลงทุน

การเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรม

Sector 1 1

Sector 2

Sector 3

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight