Finance

ธปท.คลอดธรรมาภิบาลห้ามกรรมการอิสระนั่งบอร์ดแบงก์เกิน 9 ปี

S 25985063

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2561 นางสาวเมทินี ศุภสวัสดิ์กุล  ผู้อานวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการกำกับสถาบันการเงิน แทนผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ส่งหนังสือถึงผู้จัดการสถาบันการเงินทุกแห่ง เรื่องการนำส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันการเงินและหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการหรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน

ภายใต้สภาพแวดล้อมทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และคาดเดายากรวมทั้งแนวโน้มการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการทางการเงิน และการให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)ได้อย่างครอบคลุมคณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงิน ซึ่งทำหน้าที่กำหนดทิศทางและติดตามการดำเนินธุรกิจของสถาบันการเงิน จะต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ที่รอบด้านมากขึ้น เพื่อให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญต่างๆ ตลอดจนต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสมในด้านจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต

นอกจากนี้ การดำเนินธุรกิจภายใต้หลักการธรรมาภิบาลที่ดี(Good Corporate Governance) จะทำให้สถาบันการเงินสามารถบริหารความเสี่ยง และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครอบคลุม อันจะช่วยสร้างคุณค่าให้แก่สถาบันการเงินอย่างเหมาะสมในระยะยาว ตลอดจนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน พร้อมส่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่สนส.10/2561 เรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน ลงวันที่ 22พฤษภาคม 2561 และที่สนส.11/2561 เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงินลงวันที่ 22พฤษภาคม 2561 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปแล้วและมีผลบังคับใช้แล้ว

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน และหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน

สาระสำคัญของประกาศเรื่องธรรมาภิบาลของสถาบันการเงิน 

1.กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารระดับสูงอุทิศเวลา และความสามารถในการปฎิบัติหน้าที่่ให้แก่สถาบันการเงินอย่างเต็มที่ เช่น กรรมการแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมในการซักถามและแสดงความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการประชุมอย่างเต็มความสามารถ ผู้บริหารระดับสูงต้องไม่ปฎิบัติหน้าที่เป็นพนักงานเต็มเวลาที่องค์กรอื่นจนส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฎิบัติหน้าที่ในสถาบันการเงิน

2.ยกระดับหน้าที่ของคณะกรรมการสถาบันการเงินและผู้บริหารระดับสูงในการกำกับดูแลความเสี่ยง และเสริมสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร เช่น การสร้างและการปลูกฝังวัฒนธรรมที่่คำนึงถึงความเสี่ยง ซี่งรวมถึงนโยบายการกำหนดค่าตอบแทนที่สะท้อนวัฒนธรรมองค์กร ที่คำนึงถึงความเสี่ยงและนโยบายและกระบวนการแจ้งเบาะแสภายในองค์กร

3.ยกระดับกลไกส่งเสริมการปฎิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการของสถาบันการเงินให้ปฎิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลและเป็นอิสระ โดยการปรับเงื่อนไขการดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องได้ไม่เกิน 9 ปี กำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการของสถาบันการเงินให้ประกอบด้วยกรรมการที่มีความรู้ และประสบการณ์หลากหลายเหมาะสมกับกลยุทธ์และการดำเนินงานในระยะยาวของสถาบันการเงิน รวมทั้งให้หน่วยงานที่ทาหน้าที่ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ มีสถานะในองค์กรเทียบเท่ากับหน่วยงานอื่น และมีช่องทางการรายงานไปยังคณะกรรมการในระดับกำกับดูแล ตลอดจนให้จัดตั้งคณะกรรมการกำกับ ความเสี่ยงเพื่อช่วยคณะกรรมการของสถาบันการเงินในการกำกับดูแลความเสี่ยง

4. ให้เปิดเผยข้อมูลด้านธรรมาภิบาลเพิ่มเติม เช่น ข้อมูลการถูกเปรียบเทียบปรับที่มีนัยสำคัญโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย

สาระสาคัญของประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ความเห็นชอบการแต่งต้ัง กรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอานาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน คือ

ทบทวนตำแหน่งผู้บริหารทุก4ปี

1.ให้สถาบันการเงินทบทวนคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้บริหารในตำแหน่ง สูงสุดของสถาบันการเงินอย่างสม่ำเสมอ โดยให้ขอความเห็นชอบบุคคลในตำแหน่งดังกล่าวต่อธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างน้อยทุก 4 ปี

2. ให้ผู้ที่สถาบันการเงินยื่นขอความเห็นชอบให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ชี้แจงคุณสมบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อ ความเหมาะสมในการดำรงตำแหน่งในสถาบันการเงิน เช่น ประวัติการถูกสอบสวนโดยนายจ้างหรือ อดีตนายจ้างในประเด็นที่เกี่ยวกับการทำผิดกฎหมาย หรือระเบียบข้อบังคับภายในองค์กร ที่เกี่ยวกับความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งรับผิดชอบต่อความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลประกอบการพิจารณา ที่ให้ไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเคร่งครัด

ในกรณีที่่สถาบันการเงินทราบข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อคุณสมบัติหรือความเหมาะสม ในการดำรงตำแหน่งของกรรมการ ผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือที่ปรึกษาของสถาบันการเงิน ให้สถาบันการเงินแจ้งต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยเร็ว

ดังนั้นเมื่อประกาศออกมาแล้วสถาบันการเงินและกรรมการอิสระทุกแห่งของสถาบันการเงิน จะต้องปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight