รัฐจ่ายให้! ครม. ไฟเขียว 1,200 ล้าน ชดเชยดอกเบี้ย 2% ต่อปีและค่าดำเนินโครงการ ในโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล)
วันที่ 31 ตุลาค 2566 นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. วันที่ 31 ตุลาคม 2566 มีมติเห็นชอบโครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล)
ไฟเขียวงบดำเนินโครงการ – ชดเชยดอกเบี้ย 2% ต่อปี
และอนุมัติวงเงินงบฯ วงเงินรวม 1,200 ล้านบาท จากงบฯ ร่ายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แรงงานไทยที่เดินทางกลับไทยมีสภาพคล่องที่เพียงพอในการเริ่มต้นประกอบอาชีพ หรือแบ่งเบาภาระหนี้สิน
โครงการสินเชื่อคืนถิ่นแรงงานไทย (อิสราเอล)
- วัตถุประสงค์เพื่อชำระหนี้กู้ยืมสำหรับการไปทำงานที่อิสราเอลและ/หรือเพื่อลงทุนประกอบอาชีพ (ข้อมูลจาก กรมการจัดหางาน ณ เดือน ก.ย. 2566 มีแรงงานไทยที่เดินทางไปทำงานในอิสราเอล 25,887 คน)
- เป็นผู้ที่ไปทำงานที่อิสราเอล อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ และเมื่อรวมอายุผู้กู้กับระยะเวลาที่ชำระเงินกู้แล้วต้องไม่เกิน 60 ปี (ประมาณ 12,000 ราย)
- ธนาคารออมสิน และ ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท / สินเชื่อต่อรายไม่เกิน 150,000 บาท ลูกค้ารับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ย 2% ต่อปี / ระยะเวลาชำระเงินคืนงวดสูงสุดไม่เกิน 20 ปี ปลอดชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 12 งวดแรก
- ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ ตั้งแต่วันที่ ครม. มีมติ (31 ต.ค. 2566) – 30 มิถุนายน 2567 หรือจนกว่าจะครบวงเงินโครงการฯ
- งบประมาณ รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,200 ล้านบาท
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เคาะแล้ว!!สินเชื่อแรงงานไทยในอิสราเอล กู้ได้ 1.5 แสนบาท วงเงิน 2,000 ล้าน
- นายกฯ เผย คลังเตรียมชงครม. เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อน 20 ปี ให้แรงงานไทยนำไปชดใช้นายหน้า
- ยืนยันอีกรอบ!! กต. ย้ำคนไทยถูกจับ 18 ราย เสียชีวิต 33 ราย กลับประเทศแล้ว 23 เที่ยวบิน