Finance

กรุงไทย ปรับ ‘ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก-เงินกู้’ มีผล 6 มิ.ย. เช็กเลย!

กรุงไทย ปรับ “ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝาก” สูงสุด 0.25% “ดอกเบี้ยเงินกู้” 0.20% มีผล 6 มิ.ย. 66 พร้อมช่วยแก้หนี้ให้ลูกค้าทุกกลุ่ม

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  ธนาคารพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25%  เพื่อสะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อที่ปรับลดลงกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย โดยตระหนักถึงการดูแลผู้ฝากเงิน พร้อมยังคงสนับสนุนและดูแลช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME และครัวเรือนที่อ่อนไหวต่อค่าครองชีพและภาระหนี้ที่สูงขึ้น  เพื่อให้เวลาลูกค้าปรับตัว และสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ

กรุงไทย

ปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากเงินกู้

โดยประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก 0.05-0.25 % ต่อปี เพื่อส่งเสริมการออม ให้ผู้ฝากเงินมีรายได้เพิ่มขึ้นในภาวะที่ค่าครองชีพสูงขึ้น และปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) เพิ่มขึ้น 0.20%  ต่อปี เป็น 6.80% ต่อปี  ปรับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR) เพิ่มขึ้น 0.20 % ต่อปี เป็น 7.27% ต่อปี  และปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้รายย่อย (MRR)  0.20% ต่อปี เป็น 7.320 %ต่อปี

มีผลตั้งแต่วันที่  6 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป

กรุงไทย

พร้อมช่วยแก้หนี้ให้ลูกค้าทุกกลุ่ม

นายผยง  กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารพร้อมดูแลช่วยเหลือลูกค้าทุกกลุ่ม โดยกลุ่มผู้ประกอบการ SME และกลุ่มลูกค้าที่อ่อนไหวต่อภาระหนี้และค่าครองชีพที่สูงขึ้น ให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  พร้อมสนับสนุนให้เกิดการเร่งปรับตัวอย่างต่อเนื่อง รองรับการเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ จากปัจจัยความท้าทายรอบด้าน เพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เพื่อการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน ผ่านมาตรการความช่วยเหลือแบบเฉพาะกลุ่ม เพื่อให้ลูกค้าได้รับความช่วยเหลือแบบตรงจุดและทันท่วงที และมาตรการช่วยเหลือพิเศษเพื่อแก้หนี้อย่างยั่งยืน

กรุงไทย

สำหรับลูกค้าประเภทบุคคลและลูกค้าธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ผ่านเครื่องมือทางการเงินที่หลากหลาย เพื่อลดภาระการผ่อนชำระ สามารถพิจารณาลดภาระดอกเบี้ยและเงินต้นได้ โดยการพิจารณาตามความเหมาะสมและจำเป็นสำหรับลูกค้าแต่ละรายเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด  สนับสนุนแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ที่สะท้อนกับความสามารถในการชำระหนี้และความเสี่ยงของลูกค้า

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo