Stock - Finance

‘หุ้นทีวีดิจิทัล’ เทิร์นอะราวด์ กำไรฟื้น ราคาพุ่ง!

เช็ค 6 หุ้นทีวีดิจิทัล “เทิร์นอะราวด์ ” กำไรฟื้น ราคาพุ่งปี 2564 สาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา ทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป

หุ้นในกลุ่ม “ทีวีดิจิทัล” เคยถูกมองว่าเป็น “Sunset Industry”  หรือ อุตสาหกรรมตะวันตกดิน หลังจากถูกกระแสดิสรัปชัน จากสื่อออนไลน์ที่เข้ามาแย่งชิงเม็ดเงินโฆษณา รวมทั้งยังเจอการแข่งขันจากกลุ่มผู้ให้บริการ Streaming ต่างๆ ที่เข้ามาเปิดบริการในประเทศไทย อาทิ Netflix, VIU, WeTV, Disney+ และ HBO GO เป็นต้น ทำให้มีทีวีดิจิทัลหลายรายที่ล้มหายตายจากไป จะเหลือก็แต่ช่องที่มีสายป่านด้านเงินทุนเท่านั้น

ทีวีดิจิทัล

นับตั้งแต่ช่วงปี 2558 จนถึงปี 2563 พบว่าความเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทีวีดิจิทัลใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นปรับลดลงต่อเนื่อง สอดคล้องกับตัวเลขผลการดำเนินงานที่มีแต่ทรงกับทรุด แต่อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ไตรมาส 1 ของปี 2564 ธุรกิจทีวีดิจิทัลเริ่มกลับมาฉายแววโดดเด่นอีกครั้ง จนส่งผลให้ภาพรวมทั้งปี 2564 หลายบริษัททำกำไรสุทธิเติบโตในรอบหลายปี

บทความนี้เราจึงทำการสำรวจรายได้-กำไรในปี 2564 และความเคลื่อนไหวราคาหุ้นของ 6 หุ้นทีวีดิจิทัล เปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ประกอบด้วย AMARIN หรือ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), BEC หรือ บริษัท บีอีซี เวิลด์ จำกัด (มหาชน), MCOT หรือ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน), MONO บริษัท โมโน เน็กซ์ จำกัด (มหาชน), ONEE หรือ บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน) และ WORK หรือ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

ทีวีดิจิทัล

หุ้นในกลุ่มนี้สะท้อนผลกำไรที่ดีขึ้นชัดเจน  ที่สำคัญคือการเริ่มเห็นสัญญาณ “เทิร์นอะราวด์” ของหลายบริษัท สาเหตุหลักมาจากการฟื้นตัวของเม็ดเงินโฆษณา ทั้งอุตสาหกรรมที่เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งถูกอัดฉีดเข้ามาตามภาวะเศรษฐกิจ

อีกจุดที่สำคัญคือการปรับโครงสร้างธุรกิจก่อนหน้านี้ โดยที่หลายบริษัทมีการปรับลดขนาดองค์กรให้เล็กลง ทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงอย่างมีนัยสำคัญ จนสามารถรีดกำไรออกมาได้ แม้จะมีรายได้ลดลงก็ตาม ส่วนปี 2565 ยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ เพราะหากสามารถฟื้นตัวได้เร็วก็จะเป็นปัจจัยหนุนทางอ้อมที่ทำให้เม็ดเงินโฆษณาเพิ่มขึ้นด้วย

สุดท้ายแล้วถือว่ายังเป็นสมรภูมิที่มีการแข่งขันอย่างดุเดือด และต้องผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับพฤติกรรมผู้บริโภค ที่ทุกวันนี้ไม่ได้ยึดติดกับสื่อดั้งเดิมอย่าง ทีวี วิทยุ หรือหนังสือพิมพ์ แต่มีทางเลือกการเสพสื่อที่หลากหลายตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละกลุ่ม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน