Stock - Finance

‘ภาษีคริปโต’ คืบหน้า สรรพากรยอม ‘หักกลบกำไรขาดทุน’ ก่อนคำนวณภาษี

ภาษีคริปโตคืบหน้า สรรพากรยอมให้หักกลบกำไรขาดทุนก่อนคำนวณภาษี  31 ม.ค.เตรียมออกคู่มือให้นักลงทุน พร้อมเสนอก.คลังออก พ.ร.ฎ.ยกเว้นVAT ให้กลุ่มเทรดในตลาดที่ ก.ล.ต.รับรอง

วันนี้ (28 ม.ค.) นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวว่า หลังจากกรมสรรพากร สำนักงาน ก.ล.ต. ธปท. ได้หารือกับสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย สมาคมฟินเทคประเทศไทย โบรกเกอร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปแนวทางการเสียภาษีคริปโตเคอร์เรนซี 3 แนวทาง ประกอบด้วย

shutterstock 2002007354 1

1.เปิดทางให้นำผลกำไร ขาดทุน หักกลบ รวมเป็นยอดคำนวณทั้งปี ว่ามีผลกำไร หรือขาดทุน เพื่อคำนวณยื่นแบบภาษี อนุญาตให้เฉพาะการลงทุนในตลาดแลกเปลี่ยนกำกับโดยสำนักงาน ก.ล.ต. โดยไม่รวมถึงการซื้อขายคริปโตนอกตลาด

ในวันจันทร์ 31 ม.ค.นี้ กรมสรรพากรจะออกคู่มือที่สรุปชัดเจน ในการจัดประเภทคริปโต รายได้จากการขุดหาคริปโต หรือรายได้จากการซื้อขาย มีการจัดหมวดหมู่ มาตรฐานทางบัญชี การคำนวณต้นทุน การวัดหรือประเมินมูลค่าทรัพย์สินดิจิทัล เพื่อเป็นคู่มือให้กับนักลงทุน

2.กรมสรรพากร ยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับการซื้อขายคริปโต ที่ไม่สามารถระบุตัวตนผู้ซื้อขายเท่านั้น ส่วนผู้ซื้อขายรู้จักตัวตน ให้หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งสรรพากร เพื่อนำรายได้มาคำนวณยอดรวมปลายปี หากทำการหักเอาไว้เกิน ในช่วงยื่นแบบภาษี จะได้รับเงินกลับคืนภาษีหลายหลัง ซึ่งได้คืนภาษีให้เป็นประจำอยู่แล้ว

hhh

3.แนวทางการเสนอกระทรวงการคลัง ออกพระราชกฤษฎีกายกเว้นจัดการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT เฉพาะการซื้อขายในตลาด Exchange ที่อยู่ในการกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต. และผลิตภัณฑ์เงินดิจิทัล ให้การรับรองโดย ธปท. เป็นแนวทางที่ดำเนินการเหมือนตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ออสเตรเลีย และอีกหลายประเทศ

นายเอกนิติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับแนวทางส่งเสริมดูแล หรือการจัดเก็บภาษี ที่ยังมีข้อเสนอหลากหลายจากภาคเอกชน ยังเดินหน้าหารือร่วมกันดูแลในระยะยาวเพิ่มเติม เช่น การเปิดให้โบรกเกอร์ หรือตลาดซื้อขาย เป็นผู้แทนหักภาษี ณ ที่จ่าย เพื่อนำส่งสรรพากร

ข้อเสนอการเปลี่ยนภาษีมูลค่าเพิ่มให้เป็นภาษีธุรกิจเฉพาะ โดยคำนวณการซื้อขาย Financain Transaction Tax นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวไปสู่การดูแล และใช้ผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง สร้างความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน

www 1

ด้านนายศุภกฤษฎ์ บุญสาตร์ นายกสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย กล่าวว่า 3 แนวทางดังกล่าว นับเป็นการส่งเสริมทรัพย์สินดิจิทัลทางอ้อม เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า นับเป็นจุดแรกของการเคลียร์ปมปัญหา เพราะยังมีแนวทางที่ยังไม่ชัดเจนอีกหลายประเด็น ในขั้นต่อไปจึงต้องนำความเห็นที่หลากหลายของชุมชนทรัพย์สินดิจิทัล เช่น การขอยกเว้นภาษีคริปโต ค่าธรรมเนียม และอีกหลายด้านที่ต้องผลักดันเพิ่มเติม

นายชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดคริปโต มีนักลงทุนรายย่อยซื้อขายประมาณ 2 ล้านราย เท่ากับตลาดหุ้นไทยในปัจจุบัน และเกิดธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก ยอมรับว่า ภาษีเป็นข้อกังวลของนักลงทุนรายย่อย คนยุคใหม่ เมื่อกรมสรรพากรเปิดให้ใช้รูปแบบหักกลบกำไร ขาดทุน นำผลมาคำนวณภาษีในสิ้นปี ถือว่าเป็นอีกแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการกระจายฐานภาษี สำหรับผู้มีรายได้สูง ซื้อขายจำนวนมาก จึงเสนอให้นำรูปแบบ Final Tax มาใช้เหมือนกับการเสียภาษีเงินปันผล ร้อยละ 10 ของการถือหุ้นในปัจจุบัน อีกทั้งไม่ควรให้สิทธิพิเศษสำหรับการซื้อขายนอกกระดานที่ไม่ได้ดูแลจากทางการ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo