Stock - Finance

เปิดโมเดลการเติบโต ‘CKP’ ทะยานสู่กำลังการผลิต 5,000 MW

ซีเค พาวเวอร์ เจาะพอร์ตโรงไฟฟ้า CKP เติบโตทะยานสู่กำลังการผลิต 5,000 เมกะวัตต์ ภายใน 4 ปี  เป็นการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10-20%

เรารู้จัก “หุ้น CKP” หรือ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) กันดีในฐานบริษัทลูกของกลุ่ม “ช.การช่าง” โดยดำเนินธุรกิจหลักด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ถือว่าเป็นผู้นำและมีความถนัดในโรงไฟฟ้าพลังน้ำ แต่ก็ยังมีโรงไฟฟ้าประเภทอื่นๆ ด้วย ทั้งโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

ซีเค พาวเวอร์

ปัจจุบันผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ของ CKP ก็คือบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่สัดส่วน 30.67% อันดับ 2 คือ บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) ที่สัดส่วน 24.98% และรองลงมาเป็นบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่สัดส่วน 17.59%

ความน่าสนใจของ CKP คือเป็นหุ้นที่มีความแข็งแกร่ง ด้วยกลุ่มผู้ถือหุ้นระดับแนวหน้าของประเทศที่มีสินทรัพย์มหาศาล อย่างที่เราจะเห็นว่า 3 ผู้ถือหุ้นหลักของบริษัทประกอบด้วย CK, TTW และ BEM ขณะที่โครงสร้างรายได้ก็ค่อนข้างมั่นคง รายได้ของบริษัทกว่า 90% มาจากการขายไฟฟ้าและไอน้ำ ซึ่งเป็นสัญญาระยะยาว

ซีเค พาวเวอร์  เจาะพอร์ตโรงไฟฟ้า CKP

กำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้ง (Installed Capacity) ปัจจุบันของบริษัทอยู่ที่ 2,167 MW (เมกะวัตต์) แบ่งเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ 88% โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม 11% และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1% โดยสามารถแยกออกเป็นแต่ละโครงการ ดังนี้

ซีเค พาวเวอร์

1. โรงไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี (XPCL) ในสปป. ลาว จำนวน 1,285 MW โดย CKP ถือหุ้นโครงการในสัดส่วน 42.5%
2. โรงไฟฟ้าพลังน้ำน้ำงึม 2 ในสปป. ลาว จำนวน 615 MW โดย CKP ถือหุ้นโครงการในสัดส่วน 46%
3. โรงไฟฟ้าบางปะอิน โคเจนเนอเรชั่น 1 และ 2 จำนวน 238 MW โดย CKP ถือหุ้นโครงการในสัดส่วน 66%
4. โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บางเขนชัย (BKC) จำนวน 15 MW โดย CKP ถือหุ้นโครงการในสัดส่วน 100%
5. โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ NRS) และ CRS จำนวน 14 MW โดย CKP ถือหุ้นโครงการในสัดส่วน 30%

CKP ตั้งเป้าขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าสู่ 5,000 MW ในอีก 4 ปี

ข้อมูลจากการจัดประชุมนักวิเคราะห์ ​​(Analyst Meeting) ครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน CKP เปิดเผยแผนระยะยาวว่ามีเป้าหมาย เพิ่มกำลังการผลิตไฟฟ้าเป็น 5,000 MW ภายในปี 2568 เป็นการเติบโตเฉลี่ยปีละ 10-20%

แผนการเติบโตส่วนใหญ่จะมาจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำหลวงพระบางในสปป. ลาว มูลค่าโครงการ 150,000 – 160,000 ล้านบาท จำนวน 1,410 MW ซึ่ง CFP จะถือหุ้นในสัดส่วน 42% ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาร Tariff MOU กับประเทศไทย คืบหน้าไปแล้ว 50-60% และสัญญาสัมปทานกับรัฐบาลสปป. ลาว คืบหน้าไปแล้ว 80-90% ซึ่งปัจจุบัน CKP ใส่เงินลงทุนในโครงการนี้ไปแล้วประมาณ 2,700 ล้านบาท

นอกจากนี้ ยังมีโครงการ PPA โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภาคเอกชนในประเทศไทย และโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดดนาม  อยู่ระหว่างรอแผน PDP ฉบับใหม่ อย่างไรก็ตาม CKP จะยังคงสัดส่วนกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเอาไว้ที่ 80-90% ของพอร์ตโรงไฟฟ้าทั้งหมด

ถือว่าเป็นเป้าหมายที่น่าจับตามองทีเดียวสำหรับหุ้น CKP ซึ่งจะส่งเสริมให้บริษัทขึ้นมาเป็นบริษัทชั้นนำของธุรกิจผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และทำให้กำไรจากธุรกิจหลักเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากกำลังการผลิตใหม่ที่กำลังเพิ่มขึ้นในอนาคต

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน