Stock - Finance

สำรวจ ‘หุ้นส่งออก’ เงินบาทอ่อนค่า กำไรโตแค่ไหน?

การที่เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวช้ากว่าเศรษฐกิจโลก โดยรายงาน World Economics Outlook จาก IMF คาดการณ์ว่า GDP ทั่วโลกจะเติบโตเฉลี่ย 5.9% ในปี 2564 ขณะที่ GDP ไทย น่าจะโตได้ไม่ถึง 1% ด้วยซ้ำ เพราะยังเป็นเศรษฐกิจแบบเก่า (Old Economy) ที่มีข้อจำกัดเยอะ ไม่ค่อยมีบริษัทนวัตกรรมและเทคโนโลยี

ทำให้ในช่วงนี้ 2 ธีมการลงทุน Global Growth ที่ได้รับความนิยม ธีมแรกนั่นคือการออกไปลงทุนกับหุ้นต่างประเทศที่ทำธุรกิจเทคโนโลยี สุขภาพ หรือเมกะเทรนด์ต่างๆ และธีมที่สองคือการลงทุนกับหุ้นส่งออกที่โตตามกระแสเศรษฐกิจโลก 

เงินบาทอ่อนค่า e1638668689706

ทั้งนี้ หุ้นกลุ่มส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าสูงสุดในรอบ 4 ปี และมีแนวโน้มที่จะอ่อนตัวลงแบบนี้ไปจนถึงสิ้นปี ด้วยปัจจัยหลักๆ ที่กดดันค่าเงินบาท ดังนี้ 

  1. การขาดดุลบัญชีเดินสะพัด เนื่องจากรายได้ที่ตกต่ำของภาคบริการ เพราะนักลงทุนท่องเที่ยวต่างประเทศที่หายไปเกือบบทั้งปี 
  2. กระแสเงินทุน (Fund Flow) ไหลออกจากบริษัทจดทะเบียนไทย เนื่องจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณปรับลดระดับ QE และการดำเนินนโยบายการเงินตึงตัวของประเทศต่างๆ ในยุโรป

จัดกลุ่มหุ้นส่งออก มีตัวไหนให้เลือกบ้าง

เราสามารถแบ่งหุ้นส่งออกในตลาดหุ้นไทยออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตามประเภทสินค้าส่งออก ได้แก่

  1. กลุ่มสินค้าเกษตรและอาหาร อาทิ หุ้น STA, STGT, KSL, NER, TU, TNR, CPF, GFPT, ASIAN, 
  2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วนยานยนต์ อาทิ หุ้น HANA, DELTA, KCE, SVI,
  3. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาทิ หุ้น SCC, VNG, MCS. STPI, BJCHI

เงินบาทอ่อนค่า กำไรหุ้นส่งออกเพิ่มขึ้นแค่ไหน

คำถามสำคัญก็คือการที่เงินบาทอ่อนค่า นั้นทำให้ผู้ประกอบธุรกิจส่งออกได้รับอานิสงส์มากน้อยแค่ไหน และมีใครบ้างที่ได้รับประโยชน์ โดยบทวิเคราะห์ KSecurities ประเมินว่าทุกๆ การอ่อนค่าลง 1 บาทต่อดอลาร์สหรัฐ จะช่วยหนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนให้ปรับเพิ่มขึ้น ดังนี้

สำรวจหุ้นส่งออก.jpg3 e1638678177844

สำรวจหุ้นส่งออก1 e1638668682486

ทั้งนี้ เป็นการวิเคราะห์ Sensitivity ค่าเงินบาทต่อดอลลาร์ ที่อ่อนค่าต่อแนวโน้มกำไรสุทธิกลุ่มต่างๆ สำหรับหุ้นส่งออกบางตัวที่ไม่มีในข้อมูลเนื่องจากไม่อยู่ในการคลอบคลุมของบทวิเคราะห์ หรือไม่สามารถคิดเป็นสัดส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงได้ เพราะยังมีฐานรายได้และกำไรจากการส่งออกที่น้อยอยู่

สุดท้ายนี้ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจมาฝากกันว่าตัวเลขส่งออกเดือนตุลาคม ปรับเพิ่มขึ้น 17.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งยังคงแข็งแกร่ง และก็คาดว่าน่าจะดีต่อเนื่องถึงไตรมาส 1/2565 ก่อนกลับสู่สภาวะปกติ โดยมีแรงหนุนจากการนำเข้าวัตถุดิบ PMIs และราคาพลังงาน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน