Stock - Finance

วิเคราะห์หุ้น ADVANC ในดีลประวัติศาสตร์ ‘TRUE-DTAC’

TRUE-DTAC ความเคลื่อนไหวของการประกาศเดินหน้าแผนควบรวมธุรกิจระหว่าง TRUE : บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ DTAC : บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้เล่นเบอร์ 2 และเบอร์ 3 ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทย 

ถือว่าเป็นการสร้างแรงสั่นสะเทือนให้กับเจ้าตลาดอันดับ 1 ในตอนนี้อย่าง ADVANC : บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ไม่มากก็น้อย แม้จะไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการควบรวมกิจการครั้งนี้เลยก็ตาม 

TRUE-DTAC

นั่นก็เพราะว่าธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมเป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้เล่นน้อยราย (Oligopoly) คือ มีผู้ประกอบการรายใหญ่ครองส่วนแบ่งกันเพียงไม่กี่เจ้า เพราะฉะนั้นเวลาเกิดความเคลื่อนไหวอะไร ก็มักจะส่งผลกระทบต่อผู้เล่นอื่นๆ ในกลุ่มทันที 

TRUE-DTAC จับมือตั้งบริษัทใหม่

กรณีมองในแง่ดีหากผู้เล่นในตลาดน้อยลงจากปัจจุบันที่มีอยู่ 3 ค่าย ได้แก่ ADVANC, TRUE, DTAC เหลือเพียง 2 ค่าย คือ 1. ADVANCE และ 2. TRUE + DTAC จับมือตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แนวโน้มการแข่งขันด้านราคา ทั้งการออกโปรโมชัน หรือการประมูลคลื่นในอนาคตจะลดลง ทำให้มีโอกาสสูงที่ตลาดจะให้อัพไซด์ต่อประเด็นดังกล่าว และมีโอกาสปรับราคาเป้าหมายของกลุ่มขึ้น จากอัตรากำไรที่มากขึ้น

บทวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย เปิดเผยว่า หุ้น ADVANC จะได้ประโยชน์จากดีลการควบรวมระหว่าง TRUE และ DTAC เนื่องจากการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่อาจลดลงนั่นเอง คาดว่ากำไรสุทธิปี 2565 ของ ADVANC จะอยู่ที่ 26,594 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 27,935 ล้านบาท ในปี 2566 

 ฝ่ายวิจัยบริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่า ดีล TRUE กับ DTAC จะเป็นบวกต่อหุ้น ADVANC เช่นกัน เพราะจำนวนผู้ประกอบการที่ลดลงเหลือ 2 ราย และยังมีศักยภาพทางธุรกิจใกล้เคียงกัน ทำให้มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มน้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อสารเป็นมากกว่าตลาด (outperform market) รวมทั้ง ADVANC จะมีอัพไซด์ที่เพิ่มขึ้นจากโครงสร้างอุตสาหกรรมที่ดีขึ้นอีกด้วย 

สรุปตัวเลขทางการเงินที่สำคัญระหว่าง ADVANC vs TRUE+DTAC

TRUE-DTAC

TRUE-DTAC มุมมองนักวิเคราะห์ 

หากดูตัวเลขทางการเงินข้างต้น จะเห็นว่า ADVANC ยังดูดีและทิ้งห่างทั้ง 2 ค่าย อยู่พอสมควร แต่การประเมินศักยภาพบริษัทงต้องดูอีกหลายปัจจัยในอนาคต เพราะหาก TRUE และ DTAC ควบรวมได้จริง ก็จะมีข้อได้เปรียบตรงที่งบประมาณการลงทุน รวมถึงต้นทุนต่ำลง เนื่องจากสามารถใช้ระบบโครงสร้างพื้นฐานเดียวกันได้ 

ขอย้อนกลับไปที่ธรรมชาติของตลาดผู้ขายน้อยราย หรือ Oligopoly เราบอกข้อดีไปแล้วในเรื่องของการแข่งขันที่อาจจะลดความเข้มข้นลงไป ทว่าในทางกลับกันการที่มีผู้เล่นน้อยลง ก็อาจส่งผลให้ต่างฝ่ายต่างต้องงัดกลยุทธ์มาต่อสู้กันตลอดเวลา จนถึงขั้นยอมขาดทุนเพื่อกำจัดคู่แข่งให้หมดไป โดยมีเป้าหมายเป็นผู้ชนtที่จะได้ครองส่วนแบ่งตลาดให้มากที่สุด ประเด็นนี้ถือว่ามองได้สองมุมเลย

อย่างไรก็ดี ความเห็นส่วนตัวมองว่าการที่เหลือผู้เล่นแค่ 2 ราย และส่วนแบ่งการตลาดใกล้เคียงกัน การที่ทั้งคู่จะห้ำหั่นกันเพื่อให้เป็นผู้ชนะเด็ดขาด อาจจะเป็นไปได้ยาก เพราะอุตสาหกรรมนี้ค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว จากจำนวนหมายเลขมือถือ 95 ล้านเลขหมาย แต่คนไทยมีอยู่ 70 ล้านคน

หมายเหตุ : บทความนี้เพื่อใช้สำหรับศึกษาเบื้องต้นเท่านั้น มิได้มีเจตนาในการชี้นำการลงทุนแต่อย่างใด นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน