Stock - Finance

จับตาเกณฑ์ใหม่คัดหุ้นเข้า SET50 – SET100 หุ้นแบบไหนต้องระวัง!

การปรับหลักเกณฑ์คำนวณหุ้นในดัชนี SET 50 และ SET 100 ถูกพูดถึงกันมานานหลายครั้งแล้ว เพื่อเป้าหมายกำกับดูแลหุ้นที่มีความเคลื่อนไหวของราคาผิดปกติ แต่รอบนี้ดูเหมือนความพยายามของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะมีความชัดเจนมากขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะสิ้นสุดในวันที่ 1 ตุลาคม 2564 

ทำให้คาดว่าในเบื้องต้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ จะบังคับใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกหุ้นเข้าไปรวมอยู่ในดัชนี SET50 และ SET100 ในรอบเดือนธันวาคมที่จะถึงนี้ โดยมีด้วยกัน 2 แนวคิด ได้แก่

stock1 e1633452046801

1. หลักเกณฑ์เชิงปริมาณ (Quantitative) คือ ปรับใช้วิธีคำนวณ Market Cap. เป็นแบบ Free Float Adjusted เพื่อให้น้ำหนักของหุ้นในดัชนีสะท้อนความสามารถในการลงทุนได้เหมาะสมขึ้น

2. หลักเกณฑ์เชิงคุณภาพ (Qualitative) คือ ไม่นำหุ้นที่ติด Cash Balance หรือ Turnover List ในรอบนั้นมาร่วมคำนวณ เพื่อสะท้อนมูลค่าซื้อขายตามปกติ

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวว่า SET อยู่ระหว่างการพิจารณาออกมาตรการดูแลหุ้นที่มีความเคลื่อนไหวของราคาผิดปกติ โดยที่ไม่มีปัจจัยมาสนับสนุน ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นที่เป็นแบบเฉพาะกลุ่มอยู่ และคาดว่าจะมีการรับฟังความเห็นแบบเฉพาะกลุ่มอีกหลายครั้ง ก่อนที่จะเปิดรับฟังความคิดเห็นแบบเป็นการทั่วไป 

หุ้นได้-เสีย ปรับเกณฑ์ใหม่  SET50 – SET100

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ กสิกรไทย เปิดเผยว่า หุ้นที่ติด Cash Balance บ่อยครั้ง อาจถูกตัดสิทธิ์ในการคัดเลือกเข้าไปรวมอยู่ใน SET50 และ SET100 ซึ่งพบว่ามีหุ้นที่ต้องเฝ้าระวังที่สุดอยู่ 2 ตัว ได้แก่ DELTA และ NRF เพราะหลักทรัพย์ทั้งสองถูกติดเครื่องหมาย Cash Balance มากกว่า 3 เดือน จาก 12 เดือน ในช่วงเวลาที่ถูกนำมาคำนวน 

คราวนี้ลองมาดูข้อมูลจากฝ่ายวิจัยของบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส กันบ้าง ที่ได้ทำการสำรวจการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักใน Sector ต่างๆ อิงตามวิธี Free Float Adjusted Market Cap. พบว่าจะมีผลต่อการเพิ่มหรือลดน้ำหนักดัชนีประมาณ 11%

สำหรับกลุ่มที่จะถูกเพิ่มน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ 

  1. กลุ่มธนาคาร (BANK) ปรับเพิ่มขึ้น 5.6% 
  2. กลุ่มวัสดุก่อสร้าง (CONMAT) ปรับเพิ่มขึ้น 1.5%
  3. กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (PROP) ปรับเพิ่มขึ้น 1.4%
  4. กลุ่มการแพทย์ (HELTH) ปรับเพิ่มขึ้น 1.2%
  5. กลุ่มพาณิชย์ (COMM) ปรับเพิ่มขึ้น 0.2%

2 3 e1633497587969

ส่วนกลุ่มที่จะถูกลดน้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ 

  1. กลุ่มพลังงาน (ENERG) ปรับลดลง 4% 
  2. กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (ETRON) ปรับลดลง 2.4%
  3. กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ (TRANS) ปรับลดลง 1.8%
  4. กลุ่มบรรจุภัณฑ์ (PKG) ปรับลดลง 0.8%
  5. กลุ่ม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ปรับลดลง 0.7%

1 3 e1633497621660

จากนั้น บล. เอเซียพลัส จึงคำนวณเจาะลึกลงไปหาหุ้นที่มีโอกาสถูกเพิ่มหรือลดน้ำหนัก อ้างอิงเกณฑ์เฉลี่ยคือหากหุ้นที่มี Free Float สูงเกินค่าเฉลี่ย 46.3% จะได้รับผลประโยชน์จากหลักเกณฑ์ใหม่ และในทางตรงกันข้ามหาก Free Float ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ก็จะได้รับผลกระทบนั่นเอง โดยสรุปออกมาให้เห็นภาพง่ายๆ ดังนี้ 

5 หุ้น Free Float สูงได้รับผลบวก ปรับเกณฑ์คำนวณดัชนี

5หุ้นFree flpat1 e1633451940130

5 หุ้น Free Float ต่ำได้รับผลเสีย ปรับเกณฑ์คำนวณดัชนี

5หุ้นFree flpat2 e1633451957369

อย่างไรก็ดี ทั้งหมดนี้เป็นการคาดการณ์ในเบื้องต้นเท่านั้น ต้องรอติดตามกันอีกครั้งว่าตลาดหลักทรัพย์ฯ จะนำหลักเกณฑ์ไหนมาปรับใช้บ้าง ซึ่งแน่นอนว่าเราคงได้เห็นความผันผวนของตลาดในระยะสั้น แต่ก็เชื่อว่าท้ายสุดแล้วหากทำให้การคำนวณสะท้อนความจริงมากที่สุด จะช่วยสร้างเสถียรภาพที่ดีให้ตลาดทุนไทยได้ในระยะยาว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน