Stock - Finance

เจาะดีล ‘TU’ ถือหุ้น ‘RBF’ ลุยตลาดอาหารโลก

หุ้น TU หรือ บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) คือ ผู้ประกอบธุรกิจผลิตและส่งออกอาหารสำเร็จรูปแช่แข็งและบรรจุกระป๋อง ซึ่งมีแบรนด์ชื่อดังอย่าง SEALECT TUNA และมีสินค้าตั้งแต่ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาแซลมอน กุ้ง ปลาหมึก และอาหารทะเลอื่นๆ 

รายได้หลักของ TU มาจากต่างประเทศเป็นหลัก โดยมีรายได้จากสหรัฐอเมริการวมและยุโรป รวมกันเกือบ 70% รายได้จากการส่งออกไปประเทศอื่นๆ อีก 20% และมีรายได้มาจากในประเทศไม่ถึง 10% 

ด้วยความเป็นผู้นำในกลุ่มธุรกิจอาหารที่มีขนาด Market Cap. สูงถึง 100,000 ล้านบาท ทำให้ TU กลายเป็นหุ้นพิมพ์นิยมของนักลงทุน รวมถึงกองทุนรวมที่ต้องมีหุ้นตัวนี้ติดพอร์ตไว้เสมอ เพระาฉะนั้น การเคลื่อนไหวแต่ละครั้งของ TU จึงค่อนข้างมีผลต่อดัชนี และน่าจับตามองอย่างมาก

เจาะดีล TU ถือหุ้น RBF e1632671933473

TU ทุ่มเงิน 3,000 ล้านบาท เข้าถือหุ้น 10% ของ RBF

อย่างล่าสุดที่ทาง TU ประกาศเข้าซื้อหุ้น 10% มูลค่า 3,000 ล้านบาท ของบริษัท อาร์แอนด์บีฟู้ด ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ หุ้น RBF ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมผลิตส่วนประกอบอาหาร วัตถุแต่งกลิ่น และรสสำหรับอาหาร

ทาง TU ให้เหตุผลของการเข้าลงทุนครั้งนี้ว่าจะเป็นการจับมือกันเป็น Strategic partner เนื่องจากมองเห็นว่า RBF เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุดิบชั้นนำในประเทศ ซึ่งดีลนี้จะช่วยเสริมธุรกิจทั้งในส่วนสินค้าหลัก และสินค้าใหม่ๆ อย่างโปรตีนทางเลือก อาหารสัตว์เลี้ยง รวมไปถึงการสร้าง Value-added ให้กับสินค้าของบริษัทต่อไป

ถึงแม้ในระยะสั้นคาดว่าส่วนแบ่งกำไรที่ TU จะได้รับจาก RBF อาจจะยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่างนัก เนื่องจาก TU ยังคงมีภาระเป็นต้นทุนทางการเงินราว 3% ต่อปี จากเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้สนับสนุนการเข้าซื้อหุ้น RBF แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือผลบวกระยะยาวจากการ Synergy กันมากกว่า

โบรกฯ ชี้ดีล TU-RBF วินวินทั้งคู่ 

บริษัทหลักทรัพย์ เคทีบีเอสที  จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การที่ TU ซื้อหุ้น RBF ในสัดส่วน 10% จะส่งเสริมให้บริษัทมุ่งไปสู่การสร้าง value added business มากขึ้น โดยเฉพาะในธุรกิจ supplement และ plant base protein ที่จะได้นวัตกรรมของ RBF มาช่วยส่งเสริม

ขณะที่ราคาเข้าซื้อไม่แพง โดยหากเข้าซื้อที่ราคา 15-16 บาท/หุ้น ก็ถือว่าต่ำกว่าราคาหุ้นปัจจุบันที่ 20.30 บาท นอกจากนี้ การเข้าถือหุ้น 10% บริษัทจะรับรู้รายได้เป็นเงินปันผล ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะได้รับเงินปันผลราว 60-70 ล้านบาท

ส่วนในฝากของ RBF จะได้ประโยชน์แน่นอนจากยอดขายที่มากขึ้นจาก TU ซึ่งมีช่องทางการจัดหน่ายทั่วโลก โดยเฉพาะในยุโรปและอเมริกาที่เป็นแหล่งสำคัญของตลาด plant based ดังนั้น ประเมินว่าจะส่งผลให้การเติบโตของรายได้ RBF จะสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่เคยทำได้ 10-12% ต่อปี 

ถือว่าเป็นอีกดีลหนึ่งที่ Synergy กันค่อนข้างดีเลยระหว่า TU กับ RBF ด้วยการนำจุดแข็งของทั้งสองมาผสานเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของธุรกิจกัญชงที่คาดว่าทั้งคู่ได้วางแผนระยะยาวร่วมกันอีกด้วย ซึ่งหากสำเร็จจะเกิดประโยชน์ทางธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำเลยทีเดียว

สรุปงบครึ่งปี e1632671825236

 อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
แชร์วิธีคิด แบ่งปันความรู้ การเงิน การลงทุน