Stock - Finance

สรรพากร ประกาศยกเว้นภาษี ‘พักทรัพย์-พักหนี้’ ช่วยธุรกิจฝ่าโควิด

กรมสรรพากร ออกประกาศยกเว้นภาษี “พักทรัพย์-พักหนี้” ช่วยลูกหนี้ธุรกิจ เสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด-19

เพจ ไทยคู่ฟ้า จากมาตรการรัฐในการช่วยเหลือภาคธุรกิจ “พักทรัพย์ พักหนี้” เพื่อลดภาระหนี้ชั่วคราวให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 โดยการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ พร้อมให้สิทธิซื้อคืนในอนาคต

money 210726

ล่าสุด เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ร่วมโครงการฯ เพิ่มเติม กรมสรรพากรได้ประกาศยกเว้นภาษีให้กับทั้งลูกหนี้ และสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ ช่วยเสริมสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจในระยะนี้ โดยจะได้รับการยกเว้น
– ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
– ภาษีเงินได้นิติบุคคล
– ภาษีมูลค่าเพิ่ม
– ภาษีธุรกิจเฉพาะ
– อากรแสตมป์

214624339 1221267481672389 2152400602810129693 n e1627299581780

ก่อนหน้านี้ นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกกรมสรรพากร กล่าวว่าตามที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ เรื่อง มาตรการภาษีอากรเพื่อสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ (พักทรัพย์ พักหนี้) เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 กรมสรรพากรได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 34 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข กรณีหนี้ที่ต้องดำเนินการตามมาตรการสนับสนุนการรับโอนทรัพย์สินหลักประกันเพื่อชำระหนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 721) พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564  มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

สำหรับการออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเพื่อรองรับมาตรการดังกล่าว จะทำให้ลูกหนี้ธุรกิจซึ่งมีทรัพย์สิน และได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และต้องการสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจ ตัดสินใจเข้าร่วมมาตรการได้ง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องกังวลกับภาระภาษีที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการลดต้นทุนให้กับลูกหนี้ และสถาบันการเงินและสามารถให้สินเชื่อแก่ประชาชนและธุรกิจต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น และช่วยในเรื่องของสภาพคล่อง

ทั้งนี้ ให้ผู้ประกอบการสามารถซื้อทรัพย์สินกลับคืนได้ในราคาที่โอนไป และยังมีมีสิทธิเช่าทรัพย์นั้นกลับไปใช้ในการประกอบธุรกิจได้ ทำให้ไม่เกิดภาวะขาดสภาพคล่องหรือผิดนัดชำระหนี้อีกด้วย ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.rd.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศ หรือศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161

messageImage 1626766849105 e1627299487682

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight