ประชุมเจ้าหนี้การบินไทย วันนี้ จับตา”เลื่อนโหวต” อนุมัติแผนฟื้นฟูธุรกิจ เหตุเจ้าหนี้บางส่วนต้องการ “แฮร์คัตหนี้ และลดทุน” หวังได้คืนหนี้ หลังผู้ทำแผนการบินไทยค้านมาตลอด คาดแผนฟื้นฟูไม่จบวันนี้ พร้อมเปิดเจ้าหนี้หุ้นกู้การบินไทยเพียบ
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ขอแจ้งให้ทราบว่าเนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังคงพบผู้ป่วยติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อดังกล่าว
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ให้มีการประชุมเจ้าหนี้ เพื่อพิจารณาแผนในคดีฟื้นฟูกิจการของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) วันนี้ (12 พ.ค.) ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting) เพื่อขออนุมัติแผนจากเจ้าหนี้ เป็นขั้นตอนสำคัญตามกฎหมาย การบินไทยจะไม่สามารถดำเนินกระบวนการฟื้นฟูกิจการต่อไปได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุนและความเห็นชอบจากเจ้าหนี้ทั้งหลายที่เพียงพอตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด
ประชุมเจ้าหนี้การบินไทย
แหล่งข่าวจากที่ประชุมเจ้าหนี้ กล่าวว่าการประชุมวันนี้ (12 พ.ค.) เป็นการประชุมที่น่าสนใจเพราะการบินไทยเป็นหน่วยงานที่มีเจ้าหนี้มากถึง 12,829 ราย มีทั้งเจ้าหนี้รายใหญ่และรายย่อย สำหรับการปรับโครงสร้าง ตามแผนมูลหนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้รวม 410,140 ล้านบาท ประกอบด้วยเงินต้น 404,151 ล้านบาท ดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย 5,989 ล้านบาท ดังนั้นการประชุมอาจจะไม่ใช่เรื่องที่ง่ายนัก เหมือนกับการประชุมเจ้าหนี้บริษัทอื่นๆที่มีจำนวนเจ้าหนี้ไม่มากเท่ากับการบินไทย
ปม”แฮร์คัตหนี้-ลดทุน”ต้นตอลงมติไม่ได้
แหล่งข่าว กล่าวว่าประเด็นที่อาจจะทำให้การประชุมยืดเยื้อ ไม่สามารถโหวตลงมติได้วันนี้ น่าจะเป็นประเด็นที่ทางเจ้าหนี้รายใหญ่ ๆ มากกว่า โดยเแพาะประเด็นที่เจ้าหนี้ขอ “แฮร์คัตหนี้ และการลดทุน” ที่ผ่านมาผู้ทำแผนของการบินไทยไม่เห็นด้วย ในประเด็นดังกล่าว เรื่องนี้เจ้าหนี้ต้องการแฮร์คัตหนี้ประมาณ 30-40% เพื่อที่จะให้ได้เงินส่วนที่เหลือกลับมาเร็วขึ้น แต่หากไม่แฮร์คัทเลยโอการที่จะได้เงินก็ยาก อาจจะนำไปสู่ปัญหาการล้มละลาย ส่วนการลดทุนเมื่อลดทุนแล้วก็ค่อยเพิ่มทุนใหม่ ประเด็นเหล่านี้ อาจจะทำให้การประชุมเจ้าหนี้วันนี้ไม่สามารถตกลงร่วมกันได้
ที่ผ่านมามีเจ้าหนี้บางส่วนได้เสนอมาแล้ว แต่ผู้ทำแผนฟื้นฟูการบินไทย ไม่เห็นด้วย เกรงว่าจะสร้างความเดือดร้อนให้กับเจ้าหนี้อย่างสหกรณ์ ที่มีอยู่ 74 สหกรณ์เป็นเจ้าหนี้การบินไทยอยู่เกือบ 7 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะการลดทุน และจะส่งผลกระทบกับกรกระทรวงการคลัง
ดังนั้นการประชุมวันนี้คงจะมีการพูดกันมากในประเด็น ที่ต่างฝ่ายต่างก็ไม่เห็นด้วยกับการ“แฮร์คัตหนี้และการลดทุน” คาดเรื่องนี้อาจต้องใช้เวลาในการพิจารณา หากที่ประชุมวันนี้ไม่สามารถลงมติได้ ทั้งเจ้าหนี้และผู้ทำแผนฟื้นฟูของการบินไทย สามารถเลื่อนการลงมติได้อีก 14 วัน
แหล่งข่าว กล่าวว่าการประชุมวันนี้”ไม่น่าจะลงมติอนุมัติแผนฟื้นฟูในส่วนของเจ้าหนี้ในวันนี้ได้ คงต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่ง เพราะยังมีหลายประเด็นที่ต้งอเจรจากันก่อน โหวตลงมติ แต่สุดท้ายเชื่อว่าแผนฟื้นฟูจะผ่านการอนุมัติจากเจ้าหนี้แน่นอน แต่คงไม่ใช่วันนี้” แหล่งข่าว ระบุ
เผยเจ้าหนี้หุ้นกู้การบินไทยเพียบ
รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนของเจ้าหนี้ตามแผนฟื้นฟูการบินไทยที่จะเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ในส่วนของหุ้นกู้และเจ้าหนี้สัญญาเช่าเครื่องบิน(ต่อจากตอน4) ประกอบด้วย
เจ้าหนี้ประเภทที่ 18 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2563 กลุ่มนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 469 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวม 6,728,176,739.33 บาท เจ้าหนี้ประเภท 18 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ ที่ออกเมื่อเดือน วันที่ 23 มิถุนายน 2560, วันที่ 16 สิงหาคม 2561,วันที่ 30 สิงหาคม 2556,วันที่ 30 กันยายน 2558 และวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
เจ้าหนี้ประเภทที่ 19 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2564 กลุ่มนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 628 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่อการขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 8,181,616,521.61 บาท เจ้าหนี้ประเภทที่ 19 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ ที่ออกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557,วันที่ 3 พฤษภาคม 2562,วันที่ 13 พฤษภาคม 2554,วันที่ 13 พฤษภาคม 2554,วันที่ 16 สิงหาคม 2561,วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562, วันที่ 23 ธันวาคม 2559 และ วันที่ 26 ธันวาคม 2557
เจ้าหนี้ประเภทที่ 20 ถือหุ้นกู้ที่มีวัน ครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2565 กลุ่มนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 385 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 11,243,882,548.49 บาท เจ้าหนี้ประเภท 20 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ ที่ออกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2555,วันที่ 30 เมษายน 2558, วันที่ 3 พฤษภาคม 2562, วันที่ 23 มิถุนายน 2560,วันที่ 30 กันยายน 2558, วันที่ 11 ตุลาคม 2555
เจ้าหนี้ประเภทที่ 21 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2566 ประเภทนี้มี เจ้าหนี้ 386 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายในการขอชำระหนี้รวม 6,815,695,871.79 บาท เจ้าหนี้ประเภทที่ 21 มีดังต่อไปนี้ เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562,วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561,วันที่ 16 สิงหาคม 2561,วันที่ 30 สิงหาคม 2556 และวันที่ 23 ธันวาคม 2559
เจ้าหนี้ประเภทที่ 22 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2567 กลุ่มนี้มีเจ้าหนี้ 308 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 6,029,619,864.69 บาท เจ้าหนี้ประเภท 22 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557, วันที่ 23 มีนาคม 2555,วันที่ 3 พฤษภาคม 2562,วันที่ 23 มิถุนายน 2560 และวันที่ 26 ธันวาคม 2557
เจ้าหนี้ประเภทที่ 23 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2568 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 147 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 6,458,485,383.89 บาท เจ้าหนี้ประเภท 23 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561,วันที่ 30 เมษายน 2558 และวันที่ 30 กันยายน 2558
เจ้าหนี้ประเภทที่ 24 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2569 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 82 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 3,731,218,141.35 บาท เจ้าหนี้ชั้น 24 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 และวันที่ 23 ธันวาคม 2559
ประเภทที่ 25 เจ้าหนี้ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2570 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 136 ราย งมีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายต่อการขอชำระหนี้รวมเป็นเงิน 3,101,186,292.40 บาท เจ้าหนี้ประเภทที่ 25 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560
เจ้าหนี้ประเภทที่ 26 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2571 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 191 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามคำขอชำระหนี้รวม 6,799,982,548.86 บาท เจ้าหนี้ประเภท 26 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561,วันที่ 16 สิงหาคม 2561, วันที่ 23 ธันวาคม 2559
เจ้าหนี้ประเภทที่ 27 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2572 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 135 ราย มีภาระ เงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 4,303,796,322.49 บาท เจ้าหนี้ชั้น 27 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562, วันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
เจ้าหนี้ประเภทที่ 28 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนในปี 2573 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 39 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 1,237,617,324.04 บาท เจ้าหนี้ชั้น 28 เป็นผู้หุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2561
ประชุมเจ้าหนี้การบินไทย
เจ้าหนี้ประเภทที่ 29 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2575 กลุ่มนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 79 ราย มีภาระ เงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 2,076,612,504.70 บาท เจ้าหนี้ชั้นที่ 29 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560
เจ้าหนี้ประเภท 30 ถือหุ้นกู้ครบกำหนดปี 2576 ชั้นนี้มี เจ้าหนี้ 136 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นเงิน 2.778,751,102.67 บาท เจ้าหนี้ประเภท 30 เป็นผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561,วันที่ 16 สิงหาคม 2561
เจ้าหนี้ประเภทที่ 31 ถือหุ้นกู้ที่มีวันครบกำหนดไถ่ถอนปี 2577 กลุ่มนี้มี เจ้าหนี้ 85 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นจำนวนเงิน 4,041.372,575.87 บาท เจ้าหนี้ชั้น 31 ผู้ถือหุ้นกู้ที่ออกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2562 และวันที่ 13 พฤศจิกายน 2562
ประเภท 32 สถาบันการเงินเจ้าหนี้ ที่ออกหนังสือค้ำประกันจากธนาคารประเภทนี้มี เจ้าหนี้ 3 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้รวม 533,712,023.16 บาท ประเภทนี้เป็น สถาบันการเงินเจ้าหนี้ที่ออกหนังสือค้ำประกัน จากธนาคารเพื่อค้ำประกัน
ประเภทที่ 33 บุคคลที่วางหนังสือค้ำประกันกับการบินไทย สำหรับการปฏิบัติตามสัญญาประเภทนี้มี เจ้าหนี้ 46 ราย มีภาระ เงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตาม คำขอรับชำระหนี้รวม 107,867,302.51 บาท เจ้าหนี้ประเภทนี้คือ บุคคลที่วางหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยสถาบันการเงิน การบินไทยได้รับมอบ ให้เป็นผู้รับประโยชน์ การบินไทยมีสิทธิเรียกร้อง กับธนาคารผู้ออกบัตรเพื่อชำระเงิน เมื่อเงื่อนไขและข้อตกลงในหนังสือค้ำประกันถูกเรียกใช้
เจ้าหนี้สัญญาเช่าเครื่องบิน
เจ้าหนี้ประเภทที่ 34 ภายใต้สัญญาการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ มีความสำคัญต่อธุรกิจการบินของการบินไทย และผู้วางแผนยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อยุติข้อพิพาทเจ้าหนี้ในชั้นนี้ เป็นเจ้าหนี้ที่เกิดจากภาระผูกพันตามสัญญาการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ที่ทำไว้กับผู้ให้บริการรายใหญ่ ที่มีความจำเป็น ต่อการดำเนินธุรกิจของการบินไทย มีสถานะเป็นลูกหนี้ของการบินไทย ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางศาล การบินไทยได้เรียกร้องค่าเสียหาย เจ้าหนี้ในกรณีนี้มีสิทธิที่จะหักหนี้ ที่มีภาระผูกพันตามสัญญาการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ที่เกิดขึ้นก่อนวันปรับโครงสร้างธุรกิจ ผู้วางแผนอยู่ระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้ เพื่อยุติข้อพิพาท เจ้าหนี้จะยอมรับภาระหนี้ที่ต้องชำระให้กับการบินไทย ทำให้การบินไทยสามารถใช้เงินที่เหลือสุทธิ จากจำนวนที่หักกลบ เพื่อชำระค่าบำรุงรักษาเครื่องยนต์ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ปรับโครงสร้างกิจการ มี เจ้าหนี้ 2 ราย มีภาระผูกพัน เงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย ตามใบขอชำระหนี้รวมเป็นเงิน 39,418,434,446.66 บาท
เจ้าหนี้ประเภทที่ 35 ภายใต้สัญญาเช่าเครื่องบิน เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังวันที่ปรับโครงสร้างกิจการ ยังมีเจ้าหนี้บางรายที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในจำนวนที่เทียบเท่ากับภาระผูกพัน ที่เกิดจากสัญญาเช่าเครื่องบิน / สัญญาเช่าการเงิน ผู้ทำแผนเห็นว่าหนี้ของเจ้าหนี้ในชั้นนี้เกิดขึ้น / จะเกิดขึ้นภายหลังวันที่ปรับโครงสร้างธุรกิจ ประเภทนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 48 ราย มีภาระเงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้เป็นเงิน 191,525,369,523.09 บาท
เจ้าหนี้ประเภทที่ 36 ถือเครื่องยนต์ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานของการบินไทยประเภทนี้ประกอบด้วย เจ้าหนี้ 1 ราย มีภาระ เงินต้นดอกเบี้ยและค่าใช้จ่ายตามใบขอชำระหนี้ รวมเป็นเงิน 2,888,865,591.08 บาท
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- เปิดแผนฟื้นฟูการบินไทย! ผงะยอดหนี้ 336,469 ล้าน-เงินสดมีไม่ถึงหมื่นล้าน เสนอแผนเจ้าหนี้ 12 พ.ค. นี้ (ตอน1)
- แผนฟื้นฟูชี้ชัด การบินไทยต้องใส่ ‘เงินกู้ก้อนใหม่-เพิ่มทุน’ (ตอน 2)
- ฃการบินไทยเสนอ ‘เจ้าหนี้’ ขอกู้เงินด่วน 5 หมื่นล้าน (ตอน3)