Stock - Finance

ประกันสังคมอู้ฟู่! เปิดพอร์ตกว่า 2 ล้านล้าน ลงทุนทั้งหุ้น-ตราสารหนี้

ประกันสังคมเปิดพอร์ตเงินลงทุนสะสม 2,213,478 ล้านล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 พบมีการลงทุนประเภทตราสารหนี้ – ลงทุนหุ้น  

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  สำนักงานประกันสังคม ได้สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 มีเงินลงทุนสะสม 2,213,478 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย เงินสมทบจากนายจ้าง+ลูกจ้าง+รัฐบาลนำไปลงทุนสุทธิ จำนวน 1,459,317 ล้านบาท ดอกผลจาการลงทุน 754,161 ล้านบาท เป็นหลักทรัพย์เสี่ยง 23% หลักทรัพย์มั่นคงสูง 77%

เงินสะสม 2,213,478 ล้านบาท เงินออมชราภาพ 1,977,646 ล้านบาท เป็นยอดเงินออมเฉลี่ย ที่ผู้ประกันตนคนหนึ่งออกมไว้กับกองทุนประสังคม 153,475 บาทต่อคน

สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม1

สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม2

โดยหลักทรัพย์ที่กองทุนประกันสังคมมีการลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรกคือ

ประเภทตราสารหนี้ที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย

สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม3 0

 

1. กระทรวงการคลัง (MOF) จำนวน 1,032,375 ล้านบาท

2. ธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT) จำวน 258,198 ล้านบาท

3. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จำนวน 28,383 ล้านบาท

4.การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) จำนวน 23,505 ล้านบาท

5. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 22,832 ล้านบาท
(กระทรวงการคลังค้ำประกัน)

สำหรับหุ้นที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ประกอบด้วย

สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม4

1. บมจ.ปตท. (PTT) จำนวน 27,676 ล้านบาท

2. บมจ.ปูนซีเมนต์ไทย (SCC) จำนวน 20,242 ล้านบาท

3. การท่าอากาศยานแห่วประเทศไทย จำนวน 19,198 ล้านบาท

4. บมจ.ซีพี ออลล์ (CPALL) จำนวน 18,454 ล้านบาท

5.บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (ADVANC) จำนวน 17,554 ล้านบาท

 

สำหรับผลตอบแทนการลงทุนที่รับรู้แล้ว ในปี 2562 ดูเหมือนเป็นปีที่ดี ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนสูงมาก ได้รับเงินปันผลและกำไรจากการขายราสารทุนและหน่วยลงทุนถึง 41,655 ล้านบาท ดอกเบี้ยและกำไรจากการขายตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์ 43,978 ล้านบาท และดอกเบี้ยเงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ที่รับรู้แล้ว ไม่รวมกำไรที่เกิดขึ้นทางบัญชีจำนวน 85,633 ล้านบาท ( ปี 2562 มีการโอนหลักทรัพย์ให้บริษัทจัดการกองทุนบริหารและบันทุกกำไรทางบัญชี 15,800 ล้านบาท และขายกองทุน FIFและบันทึกกำไรทางบัญชี 9,465 ล้านบาท

ส่วนปี 2563 ได้รับเงินปันผลและกำไรจากการขายราสารทุนและหน่วยลงทุนถึง 18,243 ล้านบาท ดอกเบี้ยและกำไรจากการขายตราสารหนี้และค่าธรรมเนียมการให้ยืมหลักทรัพย์ 40,945 ล้านบาท และดอกเบี้ยเงินปันผล และกำไรจากการขายหลักทรัพย์ที่รับรู้แล้ว ไม่รวมกำไรที่เกิดขึ้นทางบัญชีจำนวน 59,118 ล้านบาท

สรุปผลการบริหารกองทุนประกันสังคม5

 

ก่อนหน้านี้ นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน บอกว่ากระทรวงมีนโยบายให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เพิ่มสัดส่วนลงทุนในต่างประเทศเป็น 30% จากเดิม 10-15% โดยพิจารณาเรื่องความเสี่ยงเป็นหลัก เนื่องจากกองทุนประกันสังคมลงทุนในประเทศจำนวนมาก อาจทำให้มีความเสี่ยงสูง  สปส.ให้เหตุผลที่ยังไม่สามารถเพิ่มลงทุนในต่างประเทศได้ เพราะกังวลจะขาดทุนจาก อัตราแลกเปลี่ยน

การลงทุนของกองทุนในอนาคต สปส.อยู่ระหว่างศึกษา และจัดทำแผนกลยุทธ์การลงทุน เพื่อลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่เหมาะสม และต้องมี ผู้จัดการที่เป็นมืออาชีพ ช่วยบริหารจัดการการลงทุนในแต่ละประเทศ เพราะบางช่วงอาจมีสินทรัพย์น่าลงทุน เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โรงไฟฟ้า สนามบินและถนน กลุ่มนี้ผลตอบแทนการลงทุนข้างสูง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight