PR News

เปิดเบื้องหลังแคมเปญ “Noble | The Sound of Architecture”

rabbit

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าผลงานโฆษณาไทยในปัจจุบัน ได้ถูกยกระดับและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นผลงาน NOBLE | DEFINE THE DIFFERENCE| The Sound of Architecture จากโนเบ ดีเวลลอปเมนท์ หนึ่งในงานความคิดสร้างสรรค์ของครีเอทีฟไทยทได้สร้างประสบการณ์เชิงสถาปัตยกรรมผ่านการฟัง ทั้งยังได้ถูกเผยแพร่แนวคิดและไอเดียจนได้รับการพูดถึงในวงกว้างทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ อาทิ Campaign Brief Asia, Branding in Asia, Advertising Vietnam ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 จนถึงต้นปีที่ผ่านมา  

นายสุนาถ ธนสารอักษร Managing Director, Rabbits Tale เล่าให้ฟังว่า โจทย์ที่ได้รับมาค่อนข้างชัดเจนมากว่า เป็นการสร้างงานครีเอทีฟเพื่อดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมายมาร่วมงานอีเวนต์ของทางโนเบิลฯ โดยไม่ได้ต้องการที่จะมาแข่งขันในเชิงราคาหรือโปรโมชั่น แต่อยากใช้ความเป็นตัวตนที่แตกต่างและโดดเด่นกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายอยากเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ร่วมกัน

“การตีโจทย์อย่างแรกเริ่มจาก หาตัวตนของโนเบ ดีเวลลอปเมนท์คืออะไร?” ซึ่งเราก็จะเห็นได้ชัดจากโปรเจกต์ที่ทำมาตลอดกว่า 27 ปี ทั้งคอนโดมิเนียมและบ้านเดี่ยว ที่มีการให้ความสำคัญกับทุก ๆ ดีเทลของงาน และการสร้างเอกลักษณ์ที่เป็นตัวตนของผู้อยู่อาศัย ในครั้งนี้เราจึงได้เลือกใช้ความโดดเด่นด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม และเลือกถ่ายทอดผ่านเสียงดนตรีตามคาแรคเตอร์ของโครงการนั้น ๆ”

rabbit

นายนรนิติ์ ยาโสภา Executive Creative Director, Rabbits Tale เล่าถึงเบื้องหลังแนวคิดไอเดีย และแรงบันดาลใจ ก่อนจะมาเป็นโฆษณาชิ้นนี้ว่า “โชคดีที่ลูกค้าเปิดกว้างให้เราใส่ไอเดียได้อย่างเต็มที่ เราจึงกล้าที่จะคิดเพื่อต้องการเปลี่ยนจากงานอีเวนต์รูปแบบเดิม ๆ ให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่โชว์เคสที่นำเสนอด้วยวิธีการใหม่ในรูปแบบ “เสียง”  ด้วยการถอดรหัสงานโครงสร้างสถาปัตยกรรม รายละเอียดงานออกแบบตกแต่ง ให้กลายเป็นภาพกราฟิก และถ่ายทอดออกมาเป็นท่วงทำนองเพลงที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของแต่ละโครงการเพื่อให้รับรู้ถึงความแตกต่างที่โนเบิลฯ ตั้งใจใส่ไว้ในทุก ๆ รายละเอียด

“นักปรัชญาชาวเยอรมันได้กล่าวไว้ว่า“ดนตรีคือสถาปัตยกรรมที่เป็นของเหลว และสถาปัตยกรรมคือดนตรีที่ถูกแช่แข็ง” กล่าวคือดนตรีและสถาปัตยกรรมมีความคล้ายคลึงกัน ด้วยงานสถาปัตยกรรม            ที่ประกอบด้วยโครงสร้างอาคารที่มีส่วนโปร่ง, ส่วนเว้า และส่วนทึบ รวมถึงสเปซที่ช่วยกำหนดจังหวะ สถาปัตยกรรมมีการเลือกเทคเชอร์ แมททีเรียลในการให้อารมณ์แตกต่างออกไปในแต่ละส่วน สำหรับดนตรีก็มีตัวโน้ตในการคุมเสียงดนตรี มีเครื่องดนตรีในการให้เสียง คอนเซปต์ของแต่ละโครงการก็เหมือนกับดนตรีที่มีมูดแอนด์โทน ทั้งสองสิ่งนี้จึงสามารถรวมเป็นสิ่งเดียวกันได้ แค่อยู่ในคนละรูปแบบเท่านั้น”

rabbit

จำนวนชิ้นงานที่ทางทีมได้ผลิตออกมา ประกอบด้วย ไฟล์วิดีโอหลัก ๆ 8 ตัว, วิดีโอตัวย่อย 40 ตัว, กราฟิก 40 แบบ, เสียงกว่า 30 เสียง และเพลง 5 เพลง ภายในระยะเวลา 1 เดือนครึ่ง นี่คือหนึ่งในความท้าทายของทีม อีกทั้งเราได้สร้างเครื่องอ่านค่าเสียงขึ้นเองโดยเฉพาะ เนื่องจากเราต้องการตัวเชื่อมโยงซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องได้ระหว่างของสองสิ่งคือ สถาปัตยกรรมกับดนตรี เครื่องอ่านค่าเสียง หรือ Sound Machine ตัวนี้ได้ใช้คอนเซปต์หลัก ๆ เหมือนกับเครื่องอ่านแผ่นเสียง แต่แตกต่างกันตรงตัวแผ่นเสียงที่ใช้เล่นมีลักษณะเป็นแผ่นกราฟิก ที่ได้มาจากการ Decode โครงสร้างสถาปัตยกรรมอย่าง พื้นผิวอาคาร, ลวดลาย และวัสดุ ออกมาเป็นองค์ประกอบเสียง อาทิ ไม้ กระจก ปูน หรือ เหล็ก ก็จะได้เสียงเฉพาะ โดยถอดจากเครื่องที่ทำตัวเซนเซอร์อ่านสี อ่านค่าของแผ่นกราฟิกเพื่อเป็นตัวกำหนดจังหวะของการเล่นเสียงในแต่ละ Track ซึ่งมีทั้งหมด 7 Track โดยจะอ่านค่าจากต้นทางไปยังสุดทาง จนได้ผลลัพธ์เป็นเสียงเพลงเฉพาะทั้ง 5 โครงการ

“ส่วนหนึ่งของความสำเร็จคือการมีทีมเวิร์คที่ดี คือแต่ละคนได้นำความรู้และความเชี่ยมชาญในแต่ละด้านมาช่วยเสริมกัน เพื่อสร้างเครื่องอ่านค่าเสียงจนสำเร็จตามที่ตั้งใจ เริ่มจากทีมกราฟิกที่แปลงค่าสถาปัตยกรรมทั้งหมดออกมาเป็นกราฟิกกว่า 40 แบบ คุณคริสคริสจูเนีย เดรบิค ครีเอทีฟเทคโนโลจิสประจำแรบบิทส์ เทลล์ ที่คอยช่วยจัดการตอบคำถามและหาโซลูชั่นในเรื่องเทคนิคต่าง ๆ คิดระบบ และจัดหาอะไหล่มาทำระบบฮาร์ดแวร์ รวมถึงเขียนโปรแกรมซอฟท์แวร์ควบคุมระบบทั้งหมด, คุณซิมิลันเอกนกพงษ์ สุวรรณพุฒ ที่คอยช่วงจัดการเรื่องวัสดุแมททีเรียลของตัวเครื่องทั้งหมด คุณบีสกล นาคธรรมาภรณ์ และคุณกบชวพล ดิเรกวัฒนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นยนต์กู้ภัย ก็มาช่วยในการดูโครงสร้างที่เป็นกลไกหลักของตัวเครื่องรางเลื่อนตัวเซนเซอร์ และช่วยเขียนโปรแกรมการอ่านค่าของเซนเซอร์ให้ออกมาตรงที่สุด และคุณตั้ม โมโนโทน ให้เกียรติมาเป็นที่ปรึกษาเรื่องดนตรี และครีเอทเสียงดนตรีที่ได้จากการเก็บเสียงจากสถานที่จริงในแต่ละโครงการ ตลอดจนเรียบเรียงเพลงทั้ง 5 เพลง ทุ่มเทเพื่องานนี้โดยเฉพาะ” นายนรนิติ์ กล่าวทิ้งท้าย

นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งของการสร้างมิติใหม่ให้กับอุตสาหกรรมโฆษณาไทย พัฒนากรอบความคิดสร้างสรรค์ที่ต่างออกไป ควบคู่กับการสร้างปรากฏการณ์ใหม่ให้กับวงการอสังหาริมทรัพย์ไทยและแวดวงดนตรี ที่สามารถผสมผสานทั้งสองศาสตร์ได้อย่างน่าทึ่ง ซึ่งเป็นอีกบทพิสูจน์ว่าแท้จริงแล้วโฆษณาไทยก็มีฝีมือไม่แพ้ในระดับสากล และยังเป็นที่น่าจับตามองอย่างมากในเวทีระดับโลกอีกด้วย

Avatar photo