Politics

ผลวิจัย สัมผัสเสี่ยงสูง ‘ฝีดาษลิง’ ให้วัคซีนตามหลัง ลดความรุนแรงของโรคได้

ดร.อนันต์ เผยผลวิจัยจากฝรั่งเศษ สัมผัสเสี่ยงสูง ‘ฝีดาษลิง’ ให้วัคซีนตามหลัง แม้ไม่อาจช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่ลดความรุนแรงของโรคได้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Anan Jongkaewwattana  โดยกระบุว่า

ฝีดาษลิง

ผู้เสี่ยงสูงจากการสัมผัสกับผู้ป่วยฝีดาษลิง เชื่อว่า สามารถให้วัคซีนตามหลังได้ ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ช่วยป้องกันการติดเชื้อ แต่สามารถลดระดับความรุนแรงของโรคได้

เก็บข้อมูลผู้เสี่ยงสูง สัมผสผู้ป่วย ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ข้อมูลล่าสุดจากฝรั่งเศสออกมาน่าสนใจครับ เป็นการเก็บข้อมูลจากผู้เสี่ยงสูงจำนวน 276 คน โดยการสัมผัสส่วนใหญ่ผ่านทางละอองฝอย (91%) หรือ สัมผัสทางอ้อมที่ไม่ได้ถูดตัวผู้ป่วยโดยตรง เช่น ไปสัมผัสสิ่งของที่ผู้ป่วยเคยใช้ หรือ (71%) และ การสัมผัสผ่านกิจกรรมทางเพศที่ไม่ได้มีการป้องกัน (54%) ค่า% จะมีส่วนซ้ำซ้อน เพราะผู้ให้ข้อมูลคิดว่าอาจจะมีความเสี่ยงสัมผัสเชื้อได้มากกว่า 1 ช่องทาง

โดยผู้เสี่ยงสูงทั้งหมดได้รับวัคซีนหลังจากวันที่มีความเสี่ยงประมาณ 11 วัน (เร็วสุด 8 วัน และ ช้าสุด 14 วัน) โดยวันที่ได้รับวัคซีนทุกคนยังไม่มีอาการใดๆ โดยวัคซีนที่ให้กับผู้เสี่ยงสูงคือ JYNNEOS (MVA-BN) Vaccine (IMVANEX, IMVAMUNE) ซึ่งเป็นแบบฉีด ไม่ใช่รุ่นเก่าที่เป็นตัวปลูกฝี

ฝีดาษลิง

ในจำนวนผู้เสี่ยงสูงที่ได้รับวัคซีนทั้งหมด พบว่า 12 คน ตรวจพบการติดเชื้อฝีดาษลิง (ออกจากระยะฟักตัว) โดย 3 คน พบติดเชื้อหลังฉีดวัคซีน 1วัน และ คนที่ตรวจพบวันที่ 2 และ 3 อีกวันละ 1 คน อีก 5 คน คือกลุ่มที่ตรวจพบหลังรับวัคซีน ไป 4-5 วัน และ มี 2 คน คือ อาการมาค่อนข้างช้า คือ หลังรับวัคซีนไป 22-25 วัน

ข้อมูลยังระบุว่ามีผู้ป่วย 1 ราย ( Patient #6) เป็นผู้ได้รับเชื้อจากการเก็บตัวอย่างจากผู้ป่วย และเผลอโดนเข็มที่ปนเปื้อนไวรัสเข้าโดยตรง ซึ่งหลังโดนเข็มทิ่มก็ฉีดวัคซีนทันที แต่ก็พบการติดเชื้อที่ 4 วันต่อมา

ฝีดาษลิง

ให้วัคซีนผู้เสี่ยงสูง แม้มีอาการ แต่รุนแรงน้อยกว่า

อาการของผู้ติดเชื้อ 12 คนที่ได้รับวัคซีนตามหลัง พบว่า 50% ยังมีตุ่มแผลขึ้นอยู่ และ มีอาการอื่นๆเช่น ไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ แต่อาการโดยรวมมีความรุนแรงน้อยกว่าผู้ป่วยฝีดาษลิงโดยทั่วไป

ทีมวิจัยเชื่อว่า การให้วัคซีนตามหลังการสัมผัสเสี่ยงสูง ถึงแม้อาจจะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ 100% แต่น่าจะสามารถลดความรุนแรงของโรคได้

เสียดายจากการศึกษานี้ไม่มีตัวเลขระบุว่า ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงแล้วไม่ได้รับวัคซีนจะมีการตรวจพบเชื้อกี่ % (มากกว่า 12 ใน 276 คน เท่าไหร่?) ซึ่งถ้ามีตัวเลขตรงนี้จะช่วยให้เห็นความสำคัญต่อการนำวัคซีนมาใช้ในผู้เสี่ยงสัมผัสกับผู้ป่วยได้ดีขึ้น

ฝีดาษลิง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo