Politics

เร่งพัฒนาชุดตรวจ ‘โอไมครอน 10 สายพันธุ์’ ชี้ชัด ติดเชื้อสายพันธุ์ไหน รับมือระบาดระลอกใหม่

เร่งพัฒนาชุดตรวจ ‘โอไมครอน 10 สายพันธุ์’ ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยชี้ชัด ติดเชื้อสายพันธุ์ไหน รับมือระบาดระลอกใหม่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุเรื่อง การเร่งพัฒนาชุดตรวจ โอไมครอน 10 สายพันธุ์ รวมถึงสายพันธุ์ย่อย ‘BA.2.75’ เพื่อให้แพทย์ใช้วินิจฉัยว่า ติดเชื้อสายพันธุ์ไหน ข้อความว่า

จำเป็นต้องตรวจกรองไวรัสโคโรนา 10 สายพันธุ์  รวมทั้ง BA.2.75 ในปฏิกริยาหลอดเดียว เนื่องจากระยะนี้มีการระบาดของโoไมครอน สายพันธุ์ย่อยหลายสายพันธุ์พร้อมกัน

โอไมครอน

ผู้ป่วยคิดเชื้อสายพันธุ์ใด? แพร่เชื้อต่อได้หรือไม่?

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี เร่งพัฒนาชุดตรวจโoไมครอนสายพันธุ์ย่อย “BA.2.75” ที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะแพร่ระบาดมาแทนที่ BA.5 รวมทั้งบรรดาโอไมครอนสายพันธุ์ย่อยที่ระบาดมาก่อนหน้านี้ ให้แล้วเสร็จในสองอาทิตย์จากนี้ เพื่อพร้อมใช้ตรวจกรอง หากมีการระบาดในประเทศไทย

  1. เพื่อให้แพทย์ผู้รักษาทราบได้ว่า คนไข้ที่กำลังรักษาติดเชื้อสายพันธุ์ใด เป็นเชื้อมีจีโนมสมบูรณ์แพร่ติดต่อได้ หรือเป็นเพียงซากเชื้อที่ไม่ติดต่อแล้ว
  • สามารถตรวจรู้ผลได้ภายใน 24-48 ชั่วโมง โดยมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการตรวจ RT PCR เพียงเล็กน้อย
  • คุณสมบัติ
  1. เป็นการตรวจหาสายพันธุ์ หลังทราบผลการตรวจ ATK หรือ PCR ของผู้ติดเขื้อรายนั้นว่าให้ผลเป็นบวก
  2. สามารถบ่งชี้สายพันธุ์ เพื่อการป้องกันและรักษา ได้แก่

โoไมครอน “B.1.1.529 “ (VOC): BA.1, BA.2, BA.4, BA.5, BA.2.12.1, และ **BA.2.75**

เดลตา “B.1.617.2” (VOC)

อัลฟา “B.1.1.7 “ (VOC)

เบตา “B.1.351” (VOC)

แกมมา “B.1.1.28 หรือ P1” (VOC)

ไปพร้อมกันในหลอดเดียว (single tube reaction)

  1. เนื่องจากมีการตรวจสอบตำแหน่งพันธุกรรมกว่า 40 ตำแหน่งบนจีโนมทั้งสายพร้อมกัน ทำให้สามารถใช้บ่งชี้ได้ว่า “จีโนมของไวรัสยังสมบูรณ์”แพร่ติดต่อได้ หรือ “แตกหัก”กลายเป็น “ซากเชื้อ” ที่ไม่ติดต่อแล้วพร้อมไปกับการตรวจหาสายพันธุ์ในข้อ 1

โอไมครอน

เทคโนโลยีการพัฒนาชุดตรวจ

เทคโนโลยี “MassArray” เป็นการใช้แสงเลเซอร์ยิงไปยังตัวอย่างดีเอ็นเอที่อยู่ในหลอดสุญญากาศ เกิดการกระเจิงเป็นไอออนของเบสแต่ละตัว (A,T, G, หรือ C) จากนั้นไอออนจะถูกเหนี่ยวนำด้วยไฟฟ้ากระแสตรง ให้วิ่งด้วยความเร็วสูงตรงไปยังตรวจจับ (ion detector) ซึ่งจะถอดสัญญาณออกมาเป็นรหัสพันธุกรรม A T G และ C

โอไมครอน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo