Politics

เพื่อไทย อัดรัฐบาลล้มเหลว ทำคนจนพุ่ง 20 ล้านคน – หนี้บนพรมพรึบ-หนี้ใต้พรมเพียบ

พรรคเพื่อไทย อัดรัฐบาลแก้ปัญหาล้มเหลว คนจนเพิ่มจาก 10 ล้านคน เป็น 20 ล้านคน  กมธ.งบฯ ถกงบคลัง เจอหนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ ค่าดอกเบี้ยพุ่ง จัดเก็บพลาด 

พรรคเพื่อไทย (พท.) น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม. และโฆษกพรรคเพื่อไทย(พท.) พร้อมด้วย นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคพท. และคณะกรรมาธิการ (กมธ) วิสามัญพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ร่วมแถลงเรื่อง”แก้จนอย่างไร เพื่อไทยมีทางออก”

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องแถลงข่าวเนื่องจากสถานการณ์ความรุนแรงทางด้านวิกฤตเศรษฐกิจ สร้างความกังวลให้กับพรรคเพื่อไทย พี่น้องประชาชนได้ประสานเสียง สะท้อนถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ส่งมาถึงตัวแทนพรรคเพื่อไทย (พท.) เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาล ให้รัฐบาลทราบว่าประชาชนทนไม่ไหวอีกต่อไป วิกฤตเศรษฐกิจที่สินค้าราคาแพงต่อเนื่อง รายได้ที่ได้รับไม่พอกับรายจ่าย คนตกงานจำนวนมาก ค่าแรงก็ไม่เคยเพิ่มขึ้น ถูกซ้ำเติมด้วยปัญหาเรื่องของยาเสพติด ที่มีแนวโน้มว่าจะมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สร้างความกังวลว่าปัญหาเหล่านี้จะนำไปสู่การล่มสลายของประเทศ

ตตต 1

ทุกคนคิดว่าอาจจะสามารถอยู่ได้จากเงินที่รัฐบาลนำมาแจก แต่ลูกหลานของไม่สามารถอยู่ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ ได้รับเรื่องร้องเรียนจากเด็ก ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการศึกษา ที่ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาและถูกปิดไว้ใต้พรมเพื่อให้เข้าใจว่าสถานการณ์ ณ ขณะนี้ยังดีอยู่ ได้พูดคุยกับ นายเผ่าภูมิ ว่าหน่วยงานที่ได้เข้ามาชี้แจงกับ กมธ.งบฯ 2566 มีแต่ข้อมูลที่สวยหรู หากรัฐบาลยังฟังข้อมูลเหล่านี้ ไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริงว่าประชาชนเป็นอยู่อย่างไรแล้ว ทิศทางในการแก้ไขปัญหา จะไม่สามารถสำเร็จได้ สุดท้ายประชาชนจะได้รับทุกข์เหล่านั้น แนวทางที่ พท.ได้เสนอแนวทางแก้ไขไปหลายครั้ง แต่รัฐบาลกลัวว่าจะเป็นผลงานของ พท. จึงไม่ยอมรับฟังนำไปปฏิบัติตาม

น.ส.ธีรรัตน์ กล่าวว่า สิ่งที่ พท.พยายามจะบอกคือ การใช้ทฤษฎี “ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส” นี่คือสิ่งที่บอกว่าตลอด สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุนแรงขณะนี้ได้ผลยั่งยืน วิธีการที่จะบอกคือ พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส ขณะที่ทั่วโลกเกิดสงครามขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสงครามการค้าระหว่างประเทศใหญ่ 2 ประเทศ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน หรือแม้แต่การฟื้นตัวหลังปัญหาโรคระบาด แต่รัฐบาลกลับไม่มีมาตรการที่ทำให้เศรษบกิจฟื้นตัวอย่างรวอดเร็ว ทำงานแบบเดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง อย่างน้อยนี้ไม่ได้ เพราะประชาชนไม่มีต้นทุนเหมือนรัฐบาล ประชาชนต้องเอาเงินที่มีอยู่มาใช้จนหมดไปจาก 8 ปี ที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และพวก

ในขณะที่เราสามารถปลูกเงินจากดินได้ ประเทศไทยมีต้นทุนทางด้านทรัพยากร มีข้อได้เปรียบด้านเกษตรกรรม เป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำ รัฐบาลต้องสนับสนุนเกษตรกรให้ได้ใช้ประโยชน์จากส่วนนี้อย่างเต็มที่ ตอนนี้พี่น้อง   เกษตกรย่ำแย่ เพราะรัฐบาลเดินผิดทาง ใช้เพียงแค่การจ่ายเงินรายวัน แต่ไม่สนับสนุนต้นทุน รวมถึงหาพื้นที่ในการกระจายสินค้า รัฐบาลสามารถแก้วิกฤตให้เป็นโอกาสได้ อย่าทำงานอย่างเช้าชามเย็นชาม การแก้ปัญหาความยากจนจากคนจน 10 ล้านคน ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 20 ล้านคน

Capture.JPGตตตขขข e1655017319796

แม้การตั้งคณะกรรมการเพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน (คจพ.) แต่ไม่สามารถทำให้สถานารณ์ดีขึ้นได้ การประชุมคณะนี้มีแค่ 3 ครั้งเท่านั้น ขณะที่ปัญหาเกิดอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา สิ่งที่เสนอแนะ ต้องพุ่งเป้าไปที่ 2 กลุ่มคือ เกษตรกรและประชาชนที่หาช้ากินค่ำที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศราฐกิจ ณ ขณะนี้ กลุ่มเกษตกรต้องรดน้ำที่ราก โดยต้องส่งเสริมการเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีตลาดความต้องการเป็นจำนวนมาก เป็นวิถีชีวิตดั้งเดิมอยู่แล้ว ต้องเพิ่มทางเลือกให้เกษตรกรที่ถูกต้อง จากเดิมที่ปลูกข้าว ปีละ 2-3 รอบ ต้องสนับสนุนให้ปลูกข้าวโพดหลังนา หรือถั่วหลังนา เพื่อชดเชยการนำเข้าจากต่างประเทศ

กลุ่มที่ 2 กลุ่มประชาชนที่หาเช้ากินค่ำ ราคาน้ำมันดิบที่เป็นต้นเหตุต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ตอนนี้ราคาน้ำมันดิบพุ่งสูงขึ้นไม่หยุด โครงสร้างราคาน้ำมันบิดเบี้ยวค่าการกลั่นที่เพิ่มขึ้น หากรัฐบาลแก้ไขไม่ถูกจุดจะไม่สามารถแก้ปัญหาราคาสินค้าที่พุ่งสูงได้ เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มสามารถใช้จ่ายเงินได้ทันที วันนี้สิ่งที่รัฐบาลทำขึ้นคือ การปล่อยเฉย ทำให้เกิดความกังวลใจกับ พรรคพท.เป็นอย่างมาก

ด้านนายเผ่าภูมิ กล่าวว่า ผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์ สำหรับการพิจารณาพรบ.งนประมาณ 2566 ฝั่งพรรคพท.ซักถาม สืบค้น ตั้งข้อสังเกตในหลายๆ ประเด็น ในสัปดาห์แรกได้พิจารณาเศรษฐกิจภาพ รวมถึงหน่วยงานของกระทรวงการคลัง ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ สิ่งที่เราพบสิ่งที่เราเห็น สิ่งที่ตั้งประเด็น 6 ประเด็นคือ

1. หนี้บนพรมพรึบ หนี้ใต้พรมเพียบ หนี้บนพรมคือ หนี้สาธารณะ เป็นหนี้ที่โปร่งใส หนี้ที่ติดตามได้ แต่จำนวนเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วง ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา  สร้างหนี้สาธารณณะใหม่เพิ่มขึ้น 4.4 ล้านล้านบาท ส่วนหนี้ใต้พรม คือหนี้ที่ไม่ถูกบันทึกเป็นหนี้สาธารณะ เพราะทำผ่านมาตราการกึ่งการคลัง ใช้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) สั่งผ่านไปยังรัฐวิสาหกิจรวมถึงธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ มีตัวเลข 1 ล้านล้านบาท ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง แต่ละปีต้องตั้งงบประมาณชดเชยไปที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวนมหาศาล หนี้จำนวนนี้ยากต่อการตรวจสอบ

Capture e1655017303658

2. ค่าดอกเบี้ยพุ่ง  หนี้สาธารณะที่กู้ยืมมาต้องชดใช้ ทั้งเงินต้น ดอกเบี้ย รวมถึงค่าธรรมเนียม สิ่งที่เจอในการใช้หนี้ของ สำนักงานบริหารหนี้ (สบน.) ค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม สูงเกือบ 2 แสนล้านบาท ที่อันตรายคือมากกว่าเงินต้นเกือบ 3 เท่า หมายความว่าภาษีของประชาชน ไม่ได้นำไปลดเงินต้นสักเท่าไหร่ แต่ไปใช้กับดอกเบี้ยกับค่าธรรมเนียมมากว่า  เป็นปัญหาและเป็นประเด็น

3. การประเมินเศรษฐกิจที่ผิดพลาดและฝันหวาน หน่วยงานที่มาประเมินให้ฟัง มีเพียงแต่ภาพสวยหรู มีความหวัง แต่กลับกันเวลาถูกตั้งคำถามกลับไป เจอแต่ความเป็นจริง ปัญหาเงินเฟ้อ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนพลังงาน ผลกระทบจาการปรับดอกเบี้ยเชิงนโยบาย ผลกระทบนี้จะรุนแรง

4. การจัดเก็บพลาด เราเห็นตัวเลขของกรมสรรพาสามิตปีงบประมาณ 2565 เก็บภาษีพลาดเป้าทุกเดือน เก็บได้ต่ำกว่าเป้าหมายกว่า 2.6 หมื่นล้านบาท เรายังเห็นแนวโน้มการเก็บภาษีตลาดหุ้นและภาษีคริปโต เป็นปัญหาสำหรับการระดมทุมของประเทศโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ภาษีที่ไม่ควรจะเก็บแต่กลับเดินหน้า ส่วนภาษีควรจะเก็บ เช่น ภาษีมรดกยังวนเวียนอยู่กับ 200  ล้านบาทต่อปี

5. ธนาคารของรัฐ ยังวางบทบาทที่ผิด บางแห่งมุ่งสร้างผลกำไร ซึ่งตรงข้ามกับพันธกิจ พันธกิจของธนาคารของรัฐควรเข้าไปรับความเสี่ยงของสิ่งที่ธนาคารพาณิชย์ไม่อยากกระทำ เพื่อช่วยประชาชน ช่วยเอสเอ็มอี

6. การคลังชนเพดาน การเงินโดนกดดัน เค้นรายได้ภาษีเกินความเป็นจริง ตั้งสมมติฐานจีดีพีเกินความเป็นจริง ตั้งงบประมาณขาดดุลเกือบเต็มเพดาน เพื่อมีรายจ่ายเพียงพอในการขับเคลื่อนประเทศตัวเลขถูกเค้นจนบวม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight