Politics

สธ. ถก วางกรอบและแนวทางป้องกัน ‘ฝีดาษลิง’ รับมือนักท่องเที่ยว ‘ป่วยแฝง’ ไม่แสดงอาการ

สธ. ถก วางกรอบและแนวทางป้องกัน ‘ฝีดาษลิง’ ความเข้าใจในกลุ่มแพทย์ รับมือนักท่องเที่ยว ‘ป่วยแฝง’ ไม่แสดงอาการ เน้นเที่ยวบินตรงจากประเทศกลุ่มเสี่ยง

นพ.จักรรัฐ วงศ์พิทยาอานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ได้มีการหารือกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนิยามโรคฝีดาษลิง (ฝีดาษวานร ) มาตรการรับมือ การตรวจโรคและรักษา โดยมีเกณฑ์ 3 ข้อ คือ

ป่วยแฝง

วางมาตรการ เข้า-ออก พรมแดนไทย รับมือ นักท่องเที่ยว ‘ป่วยแฝง’ 

  1. เกณฑ์ทางคลินิค ว่ามีอาการอะไรบ้างที่เข้าข่ายเป็นโรคฝีดาษลิง
  2. เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ว่าต้องใช้การตรวจในระดับไหนของห้องปฏิบัติการ
  3. เกณฑ์ทางระบาดวิทยา จะต้องมีประวัติสัมผัส ประวัติเสี่ยง

โดยย้ำว่า การวางกรอบนี้เพื่อวางมาตรการในพรมแดนเข้าออกของไทย เน้นสนามบินที่มีเที่ยวบินตรง ให้สแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรค แบบเป็นกลุ่มจากคนสู่คน เน้นในยุโรป (อังกฤษ, สเปน,โปรตุเกส)

ป่วยแฝง

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า ขณะนี้ไทยยังไม่ได้พบการระบาด แต่มาตรการดังกล่าวเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง แม้ว่าการติดเชื้อจะเป็นในกลุ่มคนที่มีการสัมผัสแบบใกล้ชิดมากๆ ทั้งการสัมผัสฝีหนอง และเพศสัมพันธ์

แต่การสวมหน้ากากอนามัยยังคงป้องกัน เพื่อไม่ให้สัมผัสสารคัดหลั่ง และยังต้องเว้นระยะห่าง สำหรับระยะฝักเชื้อของโรคนี้อยู่ที่ 5-21 วัน

ทั้งนี้ หากไม่มีอาการในกลุ่มผู้เดินทางเข้ามา ไม่มีอาการก็ยากที่จะแพร่โรค เพราะระยะแพร่โรค คือ มีไข้ และมีตุ่ม ฝีหนอง แต่ก็ต้องย้ำทำความเข้าใจให้กับกลุ่มแพทย์ในเมืองท่องเที่ยว เพื่อให้สังเกตกลุ่มนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าไทย และอาจมีการพิจารณาหรือของคลินิกเฉพาะทางโรคนี้ด้วย

ป่วยแฝง

หลักการปลูกฝี เน้นกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ และบุคลากรทางการแพทย์

ส่วนเรื่องของการปลูกฝีเพื่อป้องกันโรคนั้น หลักการคนที่เคยปลูกมาแล้วจะมีความเสี่ยงน้อยกว่า เพราะฉะนั้น หากจำเป็นต้องปลูกฝี คนที่เสี่ยงที่ต้องได้รับการปลูกฝีก่อน คือคนที่ใกล้ชิดคนติดเชื้อ และบุคลากรการแพทย์ที่ต้องดูแลคไข้กลุ่มนี้ อาจต้องเตรียมไว้ก่อน แต่คนอายุ 45 ขึ้นไป อาจจะไม่เสี่ยงมาก เพราะเคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนแล้ว

ขณะนี้กรมฯ กำลังหาว่ามีบริษัทไหนขาย และกำลังแพลนว่าจะซื้อ แต่ต้องติดตามอยู่ว่าจะได้มากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาทั่วโลกกวาดล้างโรคฝีดาษไปหมดแล้ว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo