Politics

เตรียมรับมือ! ศูนย์จีโนมฯ ‘พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง’ รู้ผลภายใน 24 ชม. อีก 2 สัปดาห์แล้วเสร็จ

ศูนย์จีโนมฯ ‘พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง’ รู้ผล 24 ชม. อีก 2 สัปดาห์แล้วเสร็จ หากมีอาการน่าสงสัย ‘สวอป’ ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสได้

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดี โพสต์เพจเฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics เรื่อง จีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง  (MONKEYPOX) โดยระบุว่า

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เกิดจากไวรัสที่มีจีโนมเป็นดีเอ็นเอ จัดอยู่ในสกุล orthopoxvirus ของตระกูล Poxviridae เป็นโรคติดต่อเฉพาะถิ่นในบางพื้นที่ของทวีปแอฟริกา ผู้ป่วยจะแสดงอาการของโรคหลังติดเชื้อประมาณ 12 วัน

พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง

ฝีดาษลิง อาการคล้าย ไข้ทรพิษ แต่อัตราเสียชีวิตน้อยกว่ามาก

อาการเบื้องต้น มีไข้, หนาวสั่น, ปวดหัว, เจ็บคอ, บวม, ปวดหลัง, ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ,ต่อมน้ำเหลืองโต อ่อนเพลียและซึมเซา เมื่อไข้ทุเลาลง จะเกิดผื่นขึ้น เริ่มจากบนใบหน้าก่อน จากนั้นจะลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ส่วนใหญ่จะพบที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า ผื่นนี้มีอาการระคายเคืองอย่างรุนแรง จากนั้นผื่นจะกลายเป็นตุ่มหนอง ในท้ายสุดตุ่มหนองจะเป็นสะเก็ดแล้วหลุดออกมา ทำให้เกิดแผลเป็นตามมา

มีอาการคล้ายกับไข้ทรพิษ (smallpox) เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่สัตว์  สัตว์จะเป็นประเภทสัตว์ฟันแทะเลี้ยงลูกด้วยนม รวมไปถึงลิง  สามารถก่อให้เกิดการระบาดระหว่างคนสู่คนร่วมด้วยได้ มีอัตราการเสียชีวิตร้อยละน้อยกว่า 1  ต่างจากไวรัสก่อโรคไข้ทรพิษซึ่งระบาดเฉพาะ “คนสู่คน” โดยมีอัตราการเสียชีวิตสูงกว่าคือร้อยละ 30

จีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง ประกอบด้วยลำดับเบส (A,T,G, หรือ C)  เรียงสลับกันไปมาประมาณ 196,858 ตำแหน่งหรือตัวอักษร

พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง

หากมีอาการน่าสงสัย ‘สวอป’ ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสได้ รู้ผล 48 ชั่วโมง

หากเกิดสงสัยว่า มีการรับระบาดในคนหรือสัตว์เกิดขึ้นในประเทศไทย สามารถทำการ “สวอป” ส่วนน้ำหรือหนองจากตุ่มแผล ใส่ในน้ำยาทำลายจุลชีพและไวรัส (inactivated viral transport medium) ส่งมาถอดรหัสพันธุกรรม

พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง

ทางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี  สามารถถอดรหัสพันธุกรรมด้วยเทคโนโลยี long-read nanopore sequencing ในลักษณะของ “shortgun metagenomic sequencing” กล่าวคือ ไม่จำเป็นต้องทราบว่าในสิ่งส่งตรวจ มีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดได้สำเร็จภายในเวลา 48 ชั่วโมง

หากใช้ “ชิพ (flow cell) ขนาดเล็ก”  สามารถถอดรหัสพันุกรรมได้ประมาณ 20 ตัวอย่าง หากเป็นชิพใหญ่จะถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสโรคฝีดาษลิงทั้งจีโนมได้มากกว่า 4,000 ตัวอย่างต่อชิพ ผลลัพธ์ที่ได้ คือจะทราบว่ามีจุลชีพหรือไวรัสประเภทใดบ้าง และจำนวนเท่าไรในตัวอย่างส่งตรวจนั้นๆ

คาดหวังว่าจะไม่มีการระบาดในประเทศไทย

พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง

กำลังพัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง โดยใช้เวลาตรวจ 24 ชั่วโมง คาดแล้วเสร็จในอีก 2 สัปดาห์

ล่าสุดมีการระบาดไวรัสก่อโรคฝีดาษลิงในยุโรบ สหรัฐอเมริกา  และออสเตรเลีย ในเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นต้นมาโดยมีจำนวนทั้งที่ยืนยันและต้องสงสัยว่าจะติดเชื้อรวมกันมากกว่า 100 ราย ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสก่อโรคฝีดาษลิงในโปรตุเกสได้สำเร็จ

ซึ่งทางศูนย์จีโนมฯได้ใช้รหัสพันธุกรรมดังกล่าวเป็นพิมพ์เขียว ในการสร้าง ชุดตรวจจีโนมไวรัสก่อโรคฝีดาษลิง  40 ตำแหน่ง ใช้เวลาในการตรวจประมาณ 24 ชั่วโมงด้วยเทคโนโลยี “Massarray genotyping” สามารถตรวจตัวอย่างได้ 100 ตัวอย่างต่อวัน ด้วยต้นทุนการตรวจไม่ต่างจากการตรวจ RTPCR ที่ใช้ตรวจกรองเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   คาดว่าชุดตรวจจะพัฒนาแล้วเสร็จในอีกประมาณ 2 สัปดาห์

พัฒนาชุดตรวจฝีดาษลิง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo