ศบค.ปรับแนวปฏิบัติ ‘สัมผัสเสี่ยงสูง’ ให้สังเกตอาการ 10 วัน โดย ‘ไม่ต้องกักตัว’ ไปทำงาน หรือไปไหนมาไหนได้ แค่ต้องระวัง
นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค. เป็นประธาน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม ว่า สำหรับสถานการณ์โควิด-19 ทั้งผู้ป่วยปอดอักสบใส่ท่อช่วยหายใจ และเสียชีวิตน้อยลงมาก ทิศทางถือว่าเป็นบวก
จากกักตัว 5 วัน สังเกตอาการ 5 วัน เป็น สังเกตอาการ 10 วันโดยไม่ต้องกักตัว
มาตรการด้านสาธารณสุขจึงจะปรับเปลี่ยนจากเดิมสัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูง จะต้องกักตัวเอง 5 วัน และสังเกตอาการ 5 วัน เปลี่ยนเป็นให้สังเกตอาการ 10 วัน โดยไม่ต้oงกักตัว สามารถไปทำงานได้ หรือทำงานที่บ้าน ให้อยู่ในสังคมได้ แต่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการให้ไปตรวจหาเชื้อ

ศบค. ได้พิจารณาแนวทางการจัดการ ผู้สัมผัสใกล้ชิดเสี่ยงสูงของผู้ป่วย และผู้ติดเชื้อโควิด โดยให้สังเกตอาการตนเอง 10 วัน ไม่ต้oงกักตัว ตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 หลังสัมผัสครั้งสุดท้าย หรือเมื่อมีอาการป่วย โดยผู้สัมผัสเสี่ยงสูง สามารถไปทำงานได้ ซึ่งต้องแยกพื้นที่กับผู้อื่น ปฏิบัติตามมาตรการ Universal Prevention งดไปสถานที่สาธารณะ งดร่วมกิจกรรมร่วมกลุ่มคนจำนวนมาก และงดใช้ขนส่งสาธารณะที่หนาแน่น ยกเว้น กลุ่มผู้ดูแลสัมผัสใกล้ชิดกลุ่ม 608 และเด็กเล็ก ให้งด การอยู่ใกล้ชิดกลุ่มดังกล่าว อย่างน้อย 10 วัน
คลายล็อกสถานบันเทิง ตัวแปร โรคประจำถิ่น
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ด้านการปรับเป็นโรคประจำถิ่นตามมาตรการด้านสาธารณสุข ที่ปรับเร็วขึ้น 2 สัปดาห์ ระยะที่ 3 มาเกิดในช่วงปลาย พ.ค. หรือต้น มิ.ย. ซึ่งเร็วขึ้นกว่าเดิม แต่การจะประกาศเป็นโรคประจำถิ่น ยังกำหนดไว้ตามเดิม คือ 1 ก.ค. เพราะต้องติดตามมาตรการผ่อนคลายและการเปิดเทอม เพื่อให้ตัวเลขต่างๆที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 1 ก.ค. เป็นไปได้จริง รวมถึงติดตามสถานการณ์ หลังการผ่อนคลายเปิดสถานบันเทิงในวันที่ 1 มิถุนายน จะเป็นตัวแปรด้วย
อ่านข่าวเพิ่มเติม
- แนวปฏิบัติ ‘ผู้ป่วยโควิด’ เตรียมตัวไปเลือกตั้งอย่างไร ให้ปลอดภัย ตามมาตรการสาธารณสุข
- ปลัดกทม. แนะขานคะแนน ‘แยกโทนเสียง’ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ป้องกันสับสน
- คลิปหลุด!! ‘ใช้เครื่องลงคะแนน’ เลือกตั้งผู้ว่าฯ กกต.กทม. ย้ำ ‘ลงคะแนนแบบกระดาษ’ เท่านั้น