Politics

สธ. ชี้ ยังไม่มีจังหวัดใด พร้อมเข้าเกณฑ์นำร่อง ‘โรคประจำถิ่น’

สธ. ชี้ยังไม่มีจังหวัดใด พร้อมเข้าเกณฑ์นำร่อง ‘โรคประจำถิ่น’ เผยหากผ่านเกณฑ์ ต้องทำแผน ‘แซนด์บ็อกซ์’ คาดเริ่มกลางเดือน พ.ค.

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผุ้อำนวยการ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีจังหวัดใดสามารถเข้าใกล้ การประกาศให้โควิด – 19 เข้าสู่การกลายเป็นโรค ประจำถิ่น แม้แต่จังหวัดเดียว

โรคประจำถิ่น

เงื่อนไขสำคัญของการเป็นโรคประจำถิ่น ต้องประกอบไปด้วย

  • พื้นที่นั้นสถานการณ์การติดเชื้อต้องทรงตัว ไม่ได้พบผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น
  • พื้นที่นั้นต้องมีการรับวัคซีนเข็มกระตุ้นหรือเข็ม 3 เกิน 60% ของจำนวนประชากร ในส่วนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ต้องรับวัคซีนเข็ม 1 เกิน 80% และเข็มกระตุ้นเกิน 60%

นพ.จักรรัฐ กล่าวว่า หากจังหวัดใดผ่านเงื่อนไขนี้ จะเริ่มเข้าสู่กระบวนการที่ ศบค. กำหนด คือ การทำในลักษณะ ‘แซนด์บ็อกซ์’ หรือ แผนพร้อมปฏิบติ เพื่อเข้าสู่การเป็นโรค ประจำถิ่น ก่อนจะนำเสนอต่อ ศปก.สธ. และเสนอต่อที่ประชุม ศบค.ต่อไป อย่างไรก็ตาม ประมาณกลางเดือนพฤภาคม น่าจะมีการทดลองทำตามแผนการเข้าสู่การเป็นโรค ประจำถิ่นในแต่ละจังหวัด

ทั้งนี้ แผนที่จัดทำขึ้นจะต้องใช้ได้จริง เนื่องจากจะต้องเปิดให้ประชาชนทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ นั่นหมายถึง จะไม่มีการสวมหน้ากากอนามัยด้วย 

โรคประจำถิ่น

แผนการเสนอเข้าสู่โรค ประจำถิ่น มีส่วนประกอบด้งนี้

  1. ให้ผู้ประกอบการจัดทำแผนรับมือกับสถานการณ์โรคที่อาจมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งเรื่องของการกลายพันธุ์ เพื่อรับมือกับสถานการณ์จริง
  2. มีหน่วยงานกำกับดูแลตรวจสอบที่ชัดเจน เพื่อติดตามกำกับผู้ประกอบการอีกที เช่นการปิดเปิดสถานประกอบการ ผับบาร์ ไม่ใช่เปิดเกินเวลา
  3. ประชาชนต้องร่วมสังเกตการณ์ ติดตามกับมาตรการต่างๆ และแจ้งเบาะแส หากพบเห็นการไม่ปฏิบัติตามแผน

ทั้ง 3 ส่วน จะต้องตรวจสอบกันเอง เพื่อให้การทดลองเปิดกิจกรรมกิจการต่างๆ มีความรัดกุม พร้อมการเข้าสู่การเป็นโรค ประจำถิ่น ในวันที่ 1 ก.ค.65

โรคประจำถิ่น

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo