Politics

หมอประสิทธิ์ ชี้ วัดดวง ‘สงกรานต์’ ตัวบ่งชี้ โควิดเป็นโรคประจำถิ่น หรือไม่??

หมอประสิทธิ์ ชี้ หาก ‘สงกรานต์’ ผ่านไปด้วยดี เป็นตัวบ่งชี้ โควิดโรคประจำถิ่น ทั้งการฉีดวัคซีน ภูมิคุ้มกันหมู่ เตือนระวังเดินทางช่วงหยุดยาว

ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กล่าวมาตรการปรับโควิด-19 ให้เป็นโรคประจำถิ่น ว่า 4 เสี่ยงที่เจอพร้อมกันและต้องระวังให้มาก คือ บุคคล กิจกรรม สถานที่ และช่วงเวลาเสี่ยง

สงกรานต์
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล

ขณะนี้ มีการผ่อนคลายกิจกรรมทำให้ 3 เสี่ยงแรกเกิดขึ้น ส่วนช่วงเวลาเสี่ยงที่ใกล้มาถึง คือ สงกsานต์ จากปีที่แล้วหลังสงกรานต์พบว่า หลายอย่างเคลื่อนไปในทางแย่ลง แต่จุดต่างปีนี้คือ วัคซีน รวมถึงสายพันธุ์โอมิครอนที่ความรุนแรงลดลงจากปีที่แล้ว

และอีกจุดเปลี่ยนคือการพยายามผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆ หลังจากที่เราเดินมาระยะหนึ่ง ผ่านจุดทดสอบเมื่อช่วงปีใหม่ จะเห็นว่า หลังปีใหม่ตัวเลขเราเกือบจะไม่ขึ้น ถือว่าเราร่วมมือกันทำได้ดี ต่อมาหลังตรุษจีน ตัวเลขเริ่มขึ้น

ประเทศไทย พร้อมหรือไม่? โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

หลายท่านที่ไม่ได้เดินทางในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา คงอยากเดินทางช่วงสงกsานต์ปีนี้ จะทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายของประชาชนระหว่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก สิ่งที่อาจเกิดขึ้น คือ ตัวเลขติดเชื้อต่อวัน เพราะโอมิครอนติดเชื้อง่าย ขณะที่ คนติดไม่มีอาการ ดังนั้นโอกาสที่ใครซักคนจะเดินทางไปหาครอบครัว มั่นใจว่าไม่มีเชื้อ หรืออาจไม่ตรวจเชื้อ ก็ต้องคิดว่า เราอาจนำเชื้อแพร่ได้

สงกรานต์

ต้องจับตาประเมินสถานการณ์ หลังเทศกาลสงกsานต์นี้ ที่จะเป็นจุดบอกว่าประเทศไทยเราพร้อมหรือไม่ ในการเข้าไปสู่โรคประจำท้องถิ่น ถ้าหากช่วงสงกsานต์ที่เป็นช่วงเสี่ยง แล้วเราผ่านไปได้ดี คนไทยเข้าใจโรค วิถีชีวิตในช่วงสงกรานต์นี้ก็จะต่อเนื่องไป ที่จะให้เดินทางไปเยี่ยมครอบครัวได้ เดินทางได้ ดังนั้น ระวังในจุดที่พึงระวัง

ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ถ้าเราผ่านสงกsานต์ไปด้วยดี คนฉีดวัคซีนเยอะขึ้นอีก สิ่งที่เราเชื่อว่าจะเกิดขึ้นในสังคมไทยคือ คนที่หายจากการติดเชื้อ ที่เฉลี่ยวันละ 2 หมื่นคน ทำให้เราภูมิคุ้มกันมากเกิดขึ้น ทั้งจากวัคซีนและหายจากโรค เชื่อว่าตอนนั้นเราจะเห็นข้อบ่งชี้ที่ทำให้โควิด-19 กลายเป็นประจำท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม การใช้ยารักษาผู้ป่วยโควิด-19 อาทิ โมลนูพิราเวียร์ แพกซ์โลวิด เกิดขึ้นระหว่างการระบาดเดลต้า แต่ขณะนี้เป็นโอมิครอน ที่ข้อมูลทั่วโลกเห็นตรงกันว่า ผ่านมา 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 24 พ.ย.64 พบว่า คนฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 โดส แล้วติดโอมิครอน ความรุนแรงของโรคน้อยลงเยอะจริงๆ

ทั้งนี้ แม้ว่ายา 2 ตัวมีรายงานว่ามีประสิทธิภาพดี แต่ยาฟาวิพิราเวียร์ ก็มีรายงานว่าได้ผลดีเช่นกัน เพียงแต่เราไม่ได้พูดถึง เราพูดถึงแต่ยาใหม่ ถ้าหากโอมิครอนรุนแรงกว่าเดลต้า ตนเห็นด้วยที่จะพูดถึงยาใหม่ แต่ขณะนี้ไม่ใช่ เพราะเชื้อขณะนี้มีความรุนแรงน้อยกว่า และคนมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น เชื่อว่ายาฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้มีประสิทธิภาพ

สงกรานต์

Long COVID เกิดจากระบบภูมิคุ้มกัน ทั่โลกกำลังศึกษากลไกการเกิดที่แท้จริง

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้การเคลื่อนสู่โรคประจำท้องถิ่น แต่ยังมีคำถามถึงลองโควิด-19 หรือ Post Covid-19 มีการสัมมนาใหญ่ที่สหรัฐฯ และอังกฤษ พบว่า โดยเฉลี่ยอาการลองโควิดเกิดขึ้นไม่ว่าจากสายพันธุ์ใด ประมาณ 15-30% ของคนติดเชื้อ มีมากกว่า 50 อาการตั้งแต่เล็กน้อย ไปจนถึงมากขึ้น

โดยข้อสรุปคือ อาการลองโควิด (Long COVID) เป็นอาการจริง แต่เดิมที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าอาจเกิดขึ้นจากความกังวล ส่วนกลไกเกิดที่เคยคุยกันว่าอาจเกิดจาก 1.ไวรัส หรือ 2.ระบบภูมิคุ้มกันที่มีปฏิกิริยาต่อไวรัส หรือ 3.เรื่องจิตใจ การสัมมนาทั้ง 2 แห่ง เห็นตรงกันว่า น่าจะเกิดจากระบบภูมิฯ ของเรา ที่ยังมีการกระตุ้น ทำให้บางคนที่หายแล้ว แต่ยังมีการอักเสบในร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการลองโควิด ทั้งนี้ ทั่วโลกกำลังศึกษากลไกการเกิดที่แท้จริง จากการติดตามผู้ป่วยที่หายเป็นระยะ

เผยพบผู้ได้รับวัคซีน มีอาการกลองโควิด น้อยกว่า คนไม่ได้ฉีดวัคซีน

ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้พบรายงานเดียวจากการศึกษา แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันเพิ่มเติมการศึกษาอื่นๆ ซึ่งพบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 มีอุบัติการณ์เกิดอาการลองโควิดน้อยกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด ซึ่งอาจเป็นหนึ่งในข้อคิดให้คนไปรับวัคซีน ดีกว่าติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม หน่วยงานต่างๆ โดย กระทรวงสาธารณสุข มีการกำหนดตั้งทีมติดตามอาการลองโควิด-19 และเฝ้าติดตามข้อมูลทั่วโลกในแนวทางการรักษาต่อไปด้วย

ทั้งนี้  นิยามของลองโควิดคือ หายจากติดเชื้อแล้วแต่มีอาการติดตัวอยู่ บางส่วนขึ้นสมอง บางคนรู้สึกสมองตื้อตลอดเวลา ไม่กระฉับกระเฉง มีรายงานนักกีฬาในอังกฤษ พบว่ากล้ามเนื้อไม่แข็งแรงเหมือนเดิม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo