Politics

สาวก ‘พรีออเดอร์’ อ่านด่วน! ยี่ห้อไหนบ้าง เครื่องสำอาง 18 ยี่ห้อดัง เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

เครื่องสำอาง 18 ยี่ห้อดัง เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม ตำรวจทลายแหล่ง ของกลาง 70 ล้าน

วันนี้ (18 มี.ค.) กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง โดย พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ,กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

ร่วมกันแถลงผลการปฏิบัติงานกรณีทลาย แหล่งจำหน่ายเครื่องสำอางปลอมเคาน์เตอร์แบรนด์ดังหลายยี่ห้อ พบของกลางจำนวนมาก โดยลวงขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ที่ต้องสงสัยว่าปลอม 18 ยี่ห้อดัง มูลค่ากว่า 70,000,000 บาท

ทั้งนี้ จากการได้รับแจ้งจากผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าดังกล่างมาใช้ แล้วพบว่า ไม่เป็นไปตามโฆษณาที่อวดอ้าง จึงสืบสวนจนทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าผิดกฎหมายดังกล่าว พบบ้านเช่าที่มีชาวเวียดนามเช่าเป็นแหล่งเก็บผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปลอมและด้อยคุณภาพจำนวนมาก อาทิ SK-II ,Estee Lauder ,Origins ,ครีมกันแดด Anessa , VICHY , KIEHL’S , CLARINS , BIODERMA เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง และนำมาโฆษณาขายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ในราคาที่ถูกมากกว่าปกติ

ต่อมาในวันที่ 14 มีนาคม 2565 กก.4 บก.ปคบ. ได้ร่วมกับ อย. นำหมายค้นของศาลอาญาพระโขนง เข้าค้นสถานที่เก็บสินค้า ในพื้นที่แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยพบหญิงชาวเวียดนาม(นามสมมติ) แสดงตนเป็นผู้ดูแลบ้านหลังดังกล่าว

จากการตรวจสอบบ้านหลังนี้ ใช้เป็นสถานที่เก็บและแพ็คบรรจุผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางส่งให้กับลูกค้า จากนั้นตรวจยึดผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ต้องสงสัยว่าปลอมเคาน์เตอร์แบรนด์ดังรวมกว่า 18 ยี่ห้อดัง มูลค่ากว่า 70,000,000 บาท เป็นของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนกก.4 บก.ปคบ.ดำเนินคดี

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม
ตัวอย่างเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

เบื้องต้นแจ้งการกระทำความผิด

  1. พระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2558

ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย” ต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ฐาน “ขายเครื่องสำอางที่มิได้จดแจ้ง” ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

  1. พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534

ฐาน “จำหน่าย เสนอจำหน่าย หรือมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายรับรองหรือเครื่องหมายร่วมปลอม” ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี หรือปรับไม่เกินสี่แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม
ตัวอย่างเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

ของแท้ลดราคา พรีออเดอร์ ลดราคา 1 แถม 1 แค่คำโฆษณาทางออนไลน์ อย่าเห็นแก่ของถูก

นพ.วิทิต  สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า การดำเนินการในครั้งนี้เป็นการจับเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางปลอมเครื่องหมายการค้าเคาน์เตอร์แบรนด์ดังหลายยี่ห้อ และหากบริษัทยืนยันแล้วว่าปลอมเครื่องหมายการค้าจริง จึงจัดเป็นเครื่องสำอางปลอม

ขอย้ำเตือนผู้บริโภคอีกครั้ง ให้ระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทางสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะการกล่าวอ้างว่าราคาถูกเกินกว่าปกติ, สินค้า Pre Order,  ซื้อตัดล็อตของแท้จากต่างประเทศ 100% หรือ ซื้อ 1 แถม 1 หลากหลายวิธีการชวนเชื่อ ขอให้ผู้บริโภคระลึกไว้เสมอว่าท่านกำลังเสี่ยงต่อการได้ของปลอม ของไม่มีคุณภาพ ใช้แล้วอาจเกิดอาการแพ้ได้

ฉะนั้น ก่อนกดคำสั่งซื้อทุกครั้งขอให้ผู้บริโภคระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบให้ดีเสียก่อน และก่อนซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพใดๆ ควรตรวจสอบข้อมูลอนุญาตทางเว็บไซต์ อย. www.fda.moph.go.th ก่อนทุกครั้ง

ทั้งนี้หากพบแหล่งผลิตหรือจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายหรืออาจไม่ปลอดภัยในการบริโภค ขอให้แจ้งเบาะแสร้องเรียนมาได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 อีเมล์ [email protected] หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม หลอกลวงผู้บริโภค ดำเนินการทางกฏหมายให้ถึงที่สุด

พล.ต.ต.อนันต์ นานาสมบัติ ผบก.ปคบ. ฝากความห่วงใยมายังพี่น้องประชาชนว่าระมัดระวังและไตร่ตรองให้รอบคอบ อย่าหลงซื้อผลิตภัณฑ์ผ่านสื่ออนไลน์ เพียงเพราะเห็นแก่ราคาสินค้าที่ถูกกว่าท้องตลาดและหลงเชื่อการโฆษณา  และขอเน้นย้ำกับผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางแพลตฟอร์ม อี-มาร์เก็ตเพลส และทางสื่อออนไลน์ทั้งหลายว่าอย่านำสินค้าที่ผิดกฎหมายมาจำหน่ายหรือหลอกลวงผู้บริโภคโดยเด็ดขาด หากพบจะดำเนินการทางกฎหมายให้ถึงที่สุด ทั้งนี้ผู้ที่พบเห็นการกระทำความผิดกฎหมายในลักษณะอื่นใด สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วน ปคบ.1135 หรือ เพจ ปคบ.เตือนภัยผู้บริโภคได้ตลอดเวลา

ที่มา : คณะกรรมการอาหารและยา

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

เคาน์เตอร์แบรนด์ปลอม

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

Avatar photo