Politics

‘กฤษฏา’ สั่งด่วนหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯพร้อมรับมือพายุ ‘ปาบึก’

“กฤษฏา” สั่งด่วน หน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ เร่งเฝ้าระวังติดตามพายุ “ปาบึก” กำชับใช้ทุกช่องทางการสื่อสาร แจ้งข่าวไปยังพื้นที่เพื่อทราบสถานการณ์ ตลอด 24 ชม.

นายกฤษฎา บุญราช
นายกฤษฎา บุญราช

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” ที่คาดว่าจะเคลื่อนลงอ่าวไทย ซึ่งจะส่งผลให้วันที่ 3-5 มกราคม 2562 เกิดฝนตกหนักทั้ง 16 จังหวัดภาคใต้ ได้มีความห่วงใยถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้สั่งการให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รีบสั่งการทางวิทยุ และช่องทางการสื่อสารทุกช่องทาง ไปยังหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯในพื้นที่

พร้อมจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชม. ทั้งด้านการสูบน้ำ การอพยพปศุสัตว์ การเตือนประชาชน พร้อมกำชับให้เร่งรีบดำเนินการ รวมทั้งมอบหมายผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ไปตรวจติดตามด้วย เพื่อลดความสูญเสียให้น้อยที่สุด และรายงานผลให้ทราบทุกระยะ

 

คลื่น ทะเล2162

สำหรับการป้องกันแก้ไขปัญหาจากพายุปาบึก ในพื้นที่ 16 จังหวัดภาคใต้ ขอให้ทุกหน่วยตรวจสอบวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำการบ้านพัก โดยให้หาทางระวังป้องกันอันตรายจากพายุปาบึก ที่อาจทำให้ทรัพย์สินของทางราชการเสียหายไว้ด้วย พร้อมกันนี้ขอให้ประสานงานกับกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด และหน่วยทหารในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพด้วย

ทั้งนี้ จากการประชุมกองบัญชาการและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ในการเฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมการเผชิญเหตุ กรณีพายุโซนร้อน “ปาบึก” เมื่อวันพุธที่ 2 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา แนวโน้มสถานการณ์ ช่วงวันที่ 3-5 มกราคม 2562 มีปริมาณฝน 200-300 มม./วัน มีคลื่นความสูง 3-5 เมตร โดยทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ และกรมชลประทาน ได้ปฏิบัติการดังนี้

1.ทุกหน่วยงานประเมินความเสี่ยงและลดความเสี่ยงเตรียมป้องกันเหตุ โดยติดตามเส้นทางพายุ ปริมาณฝน ปริมาณน้ำท่า คลื่นจากพายุ (strom surge) เพื่อดำเนินการพร่องน้ำ ระบายน้ำ รองรับมวลน้ำ และบริหารจัดการน้ำในเขื่อน อ่าง ขนาดต่าง ๆ ให้สอดคล้องขนาดและความรุนแรงของพายุ

2. จัดสรรพกำลัง ยานพาหนะขนาดใหญ่ เครื่องสูบน้ำ เครื่องผลักดันน้ำ ระบบสื่อสาร วิทยุสื่อสาร ความพร้อมประตูระบายน้ำ เสบียงอาหาร เสบียงสัตว์ เวชภัณฑ์ เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในพื้นทีเมื่อเผชิญเหตุอุทกภัยก่อนหน้า

3.ร่วมปฏิบัติการตามแนวปฏิบัติ ของกองอำนวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอย่างใกล้ชิด

4.ร่วมสนับสนุนการป้องกัน ระงับ ยับยั้งเรือประมง ตามประกาศงดเดินเรือของจังหวัด

5.เตรียมพร้อมเพื่อการหยุดยั้งความเสียหาย การประเมินความเสียหาย และการฟื้นฟู ด้านการเกษตร เมื่อพายุได้ผ่านไปโดยเร็ว

Avatar photo