Politics

‘หมอธีระ’ ห่วง ‘Long COVID’ ยิ่งติดเชื้อเยอะ โอกาสเจอสูง กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

‘หมอธีระ’ ห่วง ‘Long COVID‘ ยิ่งติดเชื้อเยอะ โอกาสเจอสูง ยกเคส เยอรมนี เจอ 28.5% สมรรถภาพการทำงานลดลง 80%

รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เมื่อเช้าวันนี้ (16 มี.ค.) เรื่องสถานการณ์โควิด – 19 โดยระบุว่า

Long COVID
รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทะลุ 461 ล้าน

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 1,584,841 คน ตายเพิ่ม 4,392 คน รวมแล้วติดไปรวม 461,359,298 คน เสียชีวิตรวม 6,072,226 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ เกาหลีใต้ เยอรมัน เวียดนาม ฝรั่งเศส และอิตาลี

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 16 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.81 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 73.95

การติดเชื้อใหม่ในทวีปเอเชียนั้นคิดเป็นร้อยละ 44.51 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 30.53

Long COVID

…สถานการณ์ระบาดของไทย

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่ รวม ATK สูงเป็นอันดับ 12 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย

ในขณะที่จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน 66 คน สูงเป็นอันดับ 17 ของโลก

…สรุปการระบาดของ WHO

องค์การอนามัยโลกออกรายงาน WHO Weekly Epidemiological Report ล่าสุดเมื่อวานนี้ 15 มีนาคม 2565

สถิติรายสัปดาห์ ทั่วโลกมีจำนวนการติดเชื้อใหม่เพิ่มขึ้น 8% แต่การเสียชีวิตลดลง 17%

หากเจาะดูภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ติดเชื้อใหม่ลดลง 21% เสียชีวิตลดลง 15%

เมื่อดูของไทยโดยใช้ข้อมูลจาก Worldometer จะพบว่า ติดเชื้อใหม่ยังคงเพิ่มขึ้น 2% และตายเพิ่มขึ้นถึง 30% สะท้อนให้เห็นว่าสถานการณ์ระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง

ทั้งนี้ข้อมูลจากรายงาน WHO ระบุว่า ปัจจุบันสายพันธุ์ Omicron ครองการระบาดทั่วโลกถึง 99.9% ในขณะที่เดลต้าเหลือ 0.1%

Long COVID

…อัพเดต Long COVID

“อัตราความชุกของ ลอง โควิด ในเยอรมัน ที่ผลกระทบต่อสมรรถนะการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน มีสูงถึง 28.5%”

Peter RS และคณะ จากประเทศเยอรมัน ติดตามศึกษาผู้ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 11,710 คน อายุเฉลี่ย 44.1 ปี เป็นเพศหญิงร้อยละ 60 โดยติดตามไปนานเฉลี่ย 8.5 เดือน

มีเพียง 3.5% ที่เคยติดเชื้อโรคโควิด-19 จนต้องนอนรพ. (แปลได้อีกนัยหนึ่งคือ ส่วนใหญ่ป่วยเล็กน้อยหรือติดเชื้อแบบไม่มีอาการ)

หากเจาะลึกเฉพาะคนที่มีอาการ ลอง โควิด และส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน สุขภาพ และสมรรถนะการทำงาน จนทำให้ลดลงเหลือ 80% หรือน้อยกว่านั้น พบว่ามีความชุกสูงถึง 28.5% ของคนที่เคยติดเชื้อทั้งหมด

และหากปรับตามฐานอายุและเพศ (age and sex standardized rate) ก็ยังคงสูงถึง 26.5%

“ผลการศึกษาในเยอรมันนี้ ตอกย้ำความสำคัญของภาวะ ลอง โควิด ซึ่งจะเป็นปัญหาใหญ่ที่ตามมาในระยะยาว หากควบคุมป้องกันโรคไม่ดี ประเทศที่มีคนติดเชื้อจำนวนมากจะมีโอกาสพบคนที่ประสบปัญหานี้สูง ส่งผลกระทบต่อทั้งสถานะสุขภาพ ผลิตภาพจากการทำงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาหรือฟื้นฟูสภาพ ในระดับบุคคล ครอบครัว และประเทศ”

Long COVID will be the “Pandemic after Pandemic”

การติดตามความรู้ที่ถูกต้อง และนำไปใช้ประพฤติปฏิบัติอย่างเหมาะสมสำหรับตนเองและครอบครัว เป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เราประคับประคองตัวจนผ่านพ้นวิกฤติการระบาดระยะยาว

ใส่หน้ากากนะครับ เว้นระยะห่างจากคนอื่น พบปะกันสั้นๆ

ไม่กินดื่มหรือแชร์ของกินของใช้ หากไม่สบาย ควรบอกกันให้ทราบ หยุดเรียนหยุดงาน ไปรักษาให้หายดีเสียก่อน

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo