Politics

เพจกฎหมายแรงงาน คลายข้อสงสัย!! ไม่รับปริญญา ไม่รับเข้าทำงานได้หรือไม่?

เพจกฎหมายแรงงาน แจกแจง “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” ยันการไม่เข้ารับปริญญา ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

เพจ กฎหมายแรงงาน โพสต์ข้อความระบุว่า จากการที่แพทย์หญิงท่านหนึ่งออกมาโพสว่า “ไม่เข้ารับปริญญา ระวังเขาจะไม่รับเข้าทำงาน” ส่งผลให้เกิด #ไม่รับปริญญา
และยังได้กล่าวไปถึงการดูโทรศัพท์ ซึ่งก็ถือเป็นการล่วงล้ำเข้าไปทำลายความเป็นส่วนตัวโดยเอาเงื่อนไขการรับสมัครงาน

“เขา” ในที่นี้น่าจะรวมทั้งงานภาคเอกชน งานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ซึ่งการไม่เข้ารับปริญญาอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ไม่มีเงิน เพราะการรับปริญญามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร หรือหลายอาจเรียนเพื่อต้องการความรู้แต่ก็ไม่ได้สนใจเข้ารับปริญญา หรือโควิด-19 ระบาด โดยปกติมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาจะเปิดให้ลงทะเบียนว่าใครจะเข้ารับปริญญาบ้าง และใครจะไม่เข้ารับปริญญา ซึ่งก็เป็นการให้สิทธิหรือเสรีภาพที่จะเข้ารับหรือไม่

shutterstock 21297604

ส่วนจะรับปริญญากับใครก็สุดแล้วแต่ อย่างต่างประเทศก็อาจรับกับอธิการบดี ในไทยหากเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็อาจรับกับราชวงศ์ มหาวิทยาลัยเอกชน ส่วนใหญ่ก็รับกับอธิการบดี หรือผู้ทรงคุณวุฒิ
การวางกติกาว่าหากใครไม่เข้ารับปริญญาจะไม่รับเข้าทำงานนั้นถือว่าผิดธรรมชาติการรับคนเข้าทำงานที่จะต้องพิจารณาจากความรู้ความสามารถ หรือทัศนคติ และ การไม่เข้ารับปริญญาก็ไม่ได้หมายความว่าบุคคลเหล่านั้นจะมีทัศนคติที่ไม่ดีเสมอไป

อย่างไรก็ตาม แม้มีการกำหนดกติกาการรับสมัครงานเอาไว้ แต่เมื่อ ตราบใดที่ยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ก็ไม่อาจนำกฎหมายคุ้มครองแรงงานเข้าไปใช้บังคับได้ แต่เมื่อเปิดรัฐธรรมนูญมาดูเราก็จะพบกับหลักการห้ามเลือกปฎิบัติ ถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นในทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ซึ่งหลักการเหล่านี้ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อไม่ให้เกิดการใช้อำนาจตามอำเภอใจ

 

shutterstock 1590003379 scaled e1642315751759

การเลือกปฎิบัติและทัศนคติที่มองคนเห็นต่างเป็นศัตรูย่อมเป็นอันตรายต่อความก้าวหน้าของสังคมจริง ๆ แล้วตราบาปที่ถูกบันทึกไว้ จากการเลือกปฎิบัติในสังคมไทย มีหลายกรณี ดังนี้

1. การเลือกปฎิบัติเพราะความแตกต่างในเรื่องเพศ
เกิดกรณีบริษัทได้กำหนดให้ลูกจ้างหญิงเกษียณอายุ 55 ลูกจ้างชายเกษียณ 60 ปี ซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติกรณีเกษียณเพราะเหตุความแต่งต่างในเรื่องเพศ ส่งผลให้การกำหนดอายุการเกษียณของเพศหญิงเป็นโมฆะ (คำพิพากษาที่ 2127/2555)

2. การเลือกปฎิบัติเพราะความพิการทางร่างกาย
เคสนี้ น่าตกใจมากเพราะเกิดขึ้น จากการกระทำของผู้บังคับใช้กฎหมายเอง เรียกว่า “ความพิการของกฎหมายและผู้บังคับใช้กฎหมาย” โดยเป็นกรณีการเลือกปฎิบัติต่อผู้พิการในการสอบเป็นผู้ช่วยอัยการ (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 142/2547) และการตัดสิทธิทนายโปลิโอในการเข้าสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 16/2545)

3. การเลือกปฎิบัติเพราะผลการเรียน
เป็นกรณีที่เกิดกับการเลือกรับราชการ โดยรับเฉพาะเกียรตินิยม (คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.158/2550)
และน่าตกใจที่แนวคิดการเลือกปฎิบัติอันเกิดจากการไม่เข้ารับปริญญา ขอเถอะจงเลือกจากความสามารถและคุณค่าในตัวเขา

271959225 1158036714732431 6050522517638402983 n e1642312377865

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight