Politics

ตะลึง!! ภูเก็ตพบ 5 ราย ติดโควิด ‘โอไมครอน’ มาจากต่างประเทศ

โอไมครอน “ภูเก็ต” พบ 5 ราย ติดโควิดสายพันธุ์ “โอไมครอน” มาจากต่างประเทศ-ส่งเข้าระบบรักษา คณะผู้แสวงบุญอุมเราะห์ไทย เดินทางกลับจากซาอุดิอาระเบีย ผ่านโครงการ “Test&Go” มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 5 ราย เป็นผู้ป่วยสีเขียว รักษาตัวในจังหวัดภูเก็ต 5 ก่อนเดินทางกลับไปรักษาตัวต่อที่ปัตตานี  

โอไมครอน ภูเก็ต พบแล้ว 5 รายมาจากต่างประเทศ 

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต รายงานข้อมูลว่าขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนแล้ว 5 ราย เป็นชาย ชาวอเมริกันอายุ 31 ปี  ชาวสวีเดน อายุ 36 ปี ชาวไทย อายุ 36 ปี เดินทางจากซาอุดีอาระเบีย  ชาวตูนิเซีย อายุ 32 ปี และหญิงชาวเยอรมัน อายุ 24 ปี โดยทั้งหมดถูกส่งตัวเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาลตามกระบวนการเรียบร้อย

โอไมครอน

 

ทั้งนี้ จังหวัดภูเก็ตได้ดำเนินการตรวจแยกสายพันธุ์เชื้อโควิด เมื่อนักท่องเที่ยวมีผลตรวจเชื้อ RT-PCR เป็นบวกที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ภูเก็ต และส่งตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กรุงเทพ โดยจะใช้เวลาดำเนินการตรวจประมาณ 7 วันจึงจะทราบผลของสายพันธุ์โควิดของผู้ติดเชื้อ

นายแพทย์กู้ศักดิ์​ กู้เกียรติกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต เปิดเผยว่า​ ขณะนี้มีการตรวจพบผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ผ่านท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนรวมทั้งสิ้น 5 คนด้วยกัน โดยคนแรกเป็นคนไทยชาวจังหวัดปัตตานีที่เดินทางกลับจากการประกอบพิธีจากประเทศซาอุดีอาระเบีย โดยเที่ยวบินดังกล่าวมีผู้เดินทางมาด้วยรวมทั้งสิ้น 137 คน ในจำนวนนี้มี 5 คนตรวจพบติดเชื้อโควิด-19 ตั้งแต่วันแรกที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต และต่อมาพบว่าในจำนวนนี้มี 1 คน เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยคนดังกล่าวได้ถูกส่งตัวไปรับการรักษาต่อยังโรงพยาบาลโคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุข

นอกจากนั้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยังมีการตรวจพบนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศที่เดินทางเข้าสู่ภูเก็ตจำนวน 4 สายการบิน รวมทั้งหมด 4 คนติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลของภูเก็ต

โอไมครอน

นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ระบุว่า การตรวจพบผู้ติดเชื้อดังกล่าวเป็นการตรวจพบตั้งแต่วันแรกที่เดินทางมาถึงท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต​ ตามโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ดังนั้นทั้งหมดจึงเข้าสู่กระบวนการรักษาตั้งแต่วันแรกที่มาถึง ขอประชาชนอย่าตื่นตระหนก

โอไมครอน เผย 4 สายการบิน พบมีกลุ่มเสี่ยงกว่า 20 คน 

ส่วนผู้ที่เดินทางมาในสายการบินทั้ง 4 สายการบินพบมีกลุ่มเสี่ยงจำนวนกว่า 20 คน ขณะนี้ทั้งหมดถูกนำตัวเข้ากักตัวตามมาตรการของสาธารณสุขเพื่อรอดูอาการแล้ว ส่วนมาตรการหลังจากนี้ทางจังหวัดภูเก็ตจะยังคงตรวจเข้ม ผู้ที่เดินทางเข้าสู่ภูเก็ต ผ่านทางสนามบินโดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากต่างประเทศ​ รวมถึงการตรวจเข้มบุคคลที่ต้องสัมผัสกับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากต่างประเทศ ในช่วงวันแรกที่มาถึง อาทิ คนขับรถ รวมถึงพนักงานโรงแรม จะต้องมีการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังคนในกลุ่มนี้ด้วย

นายแพทย์กู้ศักดิ์  กล่าวอีกว่า คณะผู้แสวงบุญอุมเราะห์ไทย จำนวน 137 คน เดินทางกลับจากประเทศซาอุดิอาระเบียสู่ประเทศไทยผ่านโครงการ “Test&Go” เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ที่ผ่านมา ตรวจพบผู้ติดเชื้อ 5 ราย  ทั้ง 5 รายนี้ ได้กักตัวและเข้ารับการรักษาในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยอยู่ในความดูแลของทีมแพทย์อย่างใกล้ชิดตลอดระเวลาที่อยู่ภูเก็ต เป็นเวลา 5 วัน

ทั้งนี้ เนื่องจากทั้ง 5 ราย เป็นกลุ่มผู้ป่วยสีเขียวที่ไม่มีอาการ จึงได้ขอเดินทางกลับไปรักษาในพื้นที่ชายแดนใต้ โดย สสจ.ภูเก็ตได้ประสานกับจังหวัดปลายทาง ให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้กลับไปรักษาภายใต้การดูแลจากทีมแพทย์ตามมาตราการระดับจังหวัดอย่างเข็มงวด ต่อมาในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ได้รับแจ้ง จากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ภูเก็ต ว่า 1 ใน 5 ราย เป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน หลังจากที่ได้เดินทางกลับไปรักษาตัวในพื้นที่แล้ว

โอไมครอน

สำหรับผู้แสวงบุญอุมเราะห์คณะนี้ ได้มีการตรวจ RT-PCR ที่ซาอุดิอาระเบียก่อนเดินทางกลับมายังประเทศไทย และได้ตรวจหาเชื้อตามมาตรการของจังหวัดภูเก็ตอีกครั้งที่สนามบินภูเก็ต หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงได้เข้าสู่กระบวนการของกระทรวงสาธารณะสุขโดยกักตัว 14 วัน ส่วนผู้ที่ไม่ใช่ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงและมีผลเป็นลบ ได้เดินทางกลับไปยังจังหวัดปลายทางแล้วทั้งหมด

ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจด้านการควบคุมและป้องกันโรค อย่างสูงสุดคณะผู้แสวงบุญได้กักตัวเองและสังเกตอาการต่อจนครบ 14 วัน เพื่อสร้างความปลอดภัยให้ตัวเองและสังคม และขอยืนยันว่าไม่ได้เป็นการแพร่ระบาดเชื้อในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต ดังนั้นขอให้พี่น้องประชาชนอย่าตื่นตระหนกและติดตามข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight