Politics

ข่าวดี! ผลทดสอบวัคซีน ChulaCov-19 เทียบเท่า’ไฟเซอร์’ จ่อใช้ เม.ย.65

แพทย์จุฬาฯเผยข่าวดีผลทดสอบวัคซีนโควิดสัญชาติไทย ChulaCov-19  กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงเทียบเท่ากับวัคซีน mRNA ไฟเซอร์ ไบออนเทค ยับยั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา เริ่มใช้ได้จริงภายในเดือนเมษายน 2565

ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และ ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ร่วมกันแถลงผลทดสอบวัคซีน ChulaCov-19 ในอาสาสมัครหลังจาก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ และศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกันพัฒนาวัคซีน ChulaCov-19 และทำการทดสอบในอาสาสมัครเมื่อราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา

โควิดจุฬา1

ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผู้อำนวยการบริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่าการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCov-19 (จุฬา-คอฟ-นายทีน) ที่ใช้เทคโนโลยี mRNA เช่นเดียวกับ Pfizer และ Moderna จนสามารถเรียกได้ว่า ChulaCov-19 เป็นวัคซีน mRNA สัญชาติไทยรุ่นเแรกว่า ผลการวิจัยเบื้องต้นของการทดลองในระยะที่ 1 กับอาสาสมัครจำนวน 36 คน อายุระหว่าง 18-55 ปี ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มมา 7 วันแล้ว พบว่ามีความปลอดภัยดี ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ ไม่พบว่ามีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอยู่ในขั้นเล็กน้อยหรือปานกลางและดีขึ้นภายในประมาณ 1-3 วัน

จุฬา55 e1629100931154

ส่วนผลของภูมิคุ้มกัน วัคซีน ChulaCov-19 พบว่า สามารถยับยั้งการจับของโปรตีนที่ปุ่มหนามของไวรัสโควิดได้ 94% ขณะที่ วัคซีนไฟเซอร์ 94% แอสตร้าเซนเนก้า 84% และซิโนแวค 75%

ที่สำคัญยังพบว่าวัคซีน ChulaCov-19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดแอนติบอดี้ได้สูงเทียบเท่ากับวันซีน mRNA อื่นๆ เช่น ไฟเซอร์ ไบออนเทค สามารถกระตุ้นแอนติบอดีได้สูงมากในการยับยั้งเชื้อสายพันธุ์ดั้งเดิม และแอนติบอดีที่สูงนี้ ยังสามารถยับยั้งเชื้อข้ามสายพันธุ์ได้ ทั้ง 4 สายพันธุ์ คือ อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา ยังกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิด ที-เซลล์  ช่วยขจัดและควบคุมเชื้อที่อยู่ในเซลล์ของคนที่ติดเชื้อโควิดได้

หลังจากนี้ ทีมผู้วิจัยจะทำการทดสอบเฟสที่ 2 เริ่มฉีดวัคซีนให้อาสาสมัครประมาณวันที่ 25 สิงหาคมนี้  คาดว่าปีหน้าคนไทยราว 70-80% น่าจะได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 2 อาจจะเป็นการศึกษาการฉีดวัคซีน ChulaCov-19 สำหรับเป็นเข็มที่ 3

จุฬา11 e1629098569752

ส่วนการดำเนินการในเฟส 3 อยู่ระหว่างการหารือว่า การขึ้นทะเบียนจะต้องมีขั้นตอนของ อย. อย่างไรบ้าง โดยตั้งเป้าให้ ChulaCov-19 เป็น 1 ใน 4 วัคซีนที่ได้รับการรับรองของคนไทย ที่จะเริ่มใช้ได้จริงภายในเดือนเมษายน 2565

นอกจากนั้น ที่สำคัญคือ วัคซีน ChulaCov19  มีประสิทธิผลในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันชนิดทีเซลล์ (T-cell) ซึ่งจะช่วยขจัดและควบคุมเชื้อไวรัสที่อยู่ในเซลล์คนที่ติดเชื้อแล้วได้ด้วย ความคงทนของวัคซีนและความสะดวกในการขนส่ง พบว่าวัคซีน ChulaCov19  สามารถเก็บที่อุณหภูมิ 2-8 องศาเซลเซียสหรือตู้เย็นธรรมดาได้นานถึง 3 เดือน ซึ่งวัคซีนของ Pfizer เก็บได้ 1 เดือน และเก็บที่อุณหภูมิห้อง 25 องศาเซลเซียสได้นานถึง 14 วัน จึงสะดวกสำหรับการใช้ในประเทศไทย  วัคซีนชนิด mRNA สามารถผลิตได้เร็ว ไม่ต้องรอเพาะเลี้ยงเชื้อ สังเคราะห์ในหลอดทดลอง ไม่เกิน 4 สัปดาห์ ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่  สามารถปรับแต่งวัคซีนต้นแบบตามพันธุกรรมของเชื้อกลายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับบริษัท Bionet Bionet Asia ผลิตได้ทันที

จุฬา33 e1629098594358

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight