Politics

‘หมอศิริราช’ ขอทุกคนช่วยกันช่วง 14 วัน -เร่งปูพรมเอกซเรย์ทุกพื้นที่หาผู้ติดเชื้อ

“หมอนิธิพัฒน์” ขอทุกคนช่วยกัน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ ช่วงล็อกดาวน์ ต้องเร่งปูพรมเอกซเรย์ทุกพื้นที่ผู้ติดเชื้อ จัดระบบเตียงรองรับผู้ป่วยที่จะเพิ่มขึ้น ช่วยตรึงประชาชนให้อยู่กับที่ 

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความระบุ  การตัดสินใจเลือกเส้นทางเดินที่อาจดูยากลำบาก แต่หวังว่าจะช่วยย่นระยะทางไปสู่จุดหมายให้สั้นลง ลดการสูญเสียของสมาชิกร่วมเดินทาง เป็นสิ่งที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจ ต้องใช้ความเข้มแข็งเด็ดเดี่ยวอย่างสูง แน่นอนย่อมมีคนได้รับผลกระทบจำนวนมาก จะทำอย่างไร ให้การเยียวยาส่งไปยังผู้สมควรได้รับ โดยไร้การเบียดบัง ทำอย่างไรให้มีการสอดส่องดูแล โดยภาครัฐเพื่อส่งผลให้มาตรการต่างๆ ที่ออกมาใช้งานได้จริง ทำอย่างไรจะดึงคนส่วนใหญ่ ให้เห็นคล้อยตาม และร่วมมือในการปฏิบัติ และทำอย่างไร ให้ฝ่ายเห็นต่างมาร่วมเสนอแนะหาทางออก โดยลืมความบาดหมางในอดีตไว้ชั่วคราว

นับจากนี้ อีกสองสัปดาห์เป็นอย่างน้อย ประเทศชาติจะเข้าสู่สภาวะจำศีล (hibernation) ทุกคนจะต้องช่วยกัน อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ เหมือนที่เราเคยทำกันได้สำเร็จในระลอกแรก เราจะต้องฝ่าฟันอุปสรรคใหญ่หลวงนี้ไปให้ได้ด้วยกัน สำหรับในกทม.และจังหวัดสีแดงเข้ม เรายังมีงานด้านการแพทย์สำคัญรออยู่ข้างหน้า 3 งานด้วยกัน คือ

ประชาชนๅๅ

1. การลดจำนวนผู้ป่วยใหม่ ในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า จากการล็อคดาวน์แบบเข้มงวด เพื่อให้ภาคการแพทย์ ได้ทำการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดที่ตกค้างเดิม และที่จะมีเพิ่มใหม่ในช่วงนั้นให้ได้ดีที่สุด และถ้าเป็นไปตามแผนนี้ ภายหลัง 14 วันไปแล้ว ยอดผู้ป่วยรายใหม่ ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิตจะเริ่มลดลงจนอยู่ในระดับที่ภาคการแพทย์ยอมรับได้ เพื่อให้งานบริการทางการแพทย์ ทั้งส่วนโควิดและไม่ใช่โควิดดำเนินไปได้ควบคู่กันตามมาตรฐานใหม่ และที่สำคัญคือ บุคลากรทางการแพทย์กลับมามีขวัญและกำลังใจเพื่อฝ่าฟันงานหนักกันต่อไปให้ได้นานที่สุด

2. การเร่งตรวจค้นหาผู้ป่วยรายใหม่แล้ว เร่งนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา เพื่อลดการสูญเสีย และควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน จะต้องปูพรมเอกซเรย์ทุกพื้นที่ หาผู้ติดเชื้อให้ละเอียด ระดมสรรพกำลัง จากทุกภาคส่วนและจากพื้นที่ที่การระบาดยังไม่มากมาช่วยกันทำภารกิจให้เสร็จสิ้นใน 14 วัน ในระหว่างที่งานข้อ 1. ช่วยตรึงประชาชนให้อยู่กับที่ นำระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้านและในชุมชนมาใช้ภายใต้การสนับสนุน และกำกับดูแลจากภาคการแพทย์ และจัดเตรียมระบบเตียงในการรองรับผู้ป่วย ที่จะมีเพิ่มขึ้นมากให้เพียงพอในทุกระดับความรุนแรง

3. การปรับยุทธศาสตร์วัคซีนให้เหมาะสม เน้นปกป้องบุคลากรด่านหน้า และประชาชนกลุ่มเสี่ยง ควบคู่ไปกับการเริ่มกระจายสู่ประชาชนทั่วไปให้ครอบคลุมเข็มแรกและเข็มสองเร็วที่สุด
สำหรับข้อถกเถียงการนำ antigen testing (ทางการแพทย์ตัดคำ rapid ออก เพื่อไม่ให้เข้าใจผิดว่าเป็นการตรวจที่ได้ผลเร็วแต่อาจไม่แน่นอน) มาใช้เพื่อลดความคับคั่งของการตรวจค้นหาผู้ป่วยในชุมชน จะต้องดำเนินการโดยมีภาคการแพทย์ควบคุมคุณภาพ ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อทราบผลการตรวจทั้งผลบวกและผลลบ และเชื่อมต่อผลการตรวจที่เป็นบวกเข้ากับระบบการตรวจยืนยันและระบบรับตัวเข้ารับการรักษาโดยภาคการแพทย์ หรือให้แยกกักตัวเพื่อรักษาหรือดูแลตัวเองที่บ้านหรือในชุมชนภายใต้การกำกับดุแลของภาคการแพทย์

หมอนิธิพัฒน์999 e1625851248439

N990 e1625851265636

ตามแผนภูมิคำแนะนำของหน่วยงานควบคุมโรคติดเชื้อแห่งอเมริกาล่าสุด ให้แยกในขั้นต้นก่อนว่า ผู้เข้ารับการตรวจมีอาการหรือไม่ ถ้าไม่มีอาการแล้วผลเป็นลบ จะต้องแยกกักตัว สังเกตอาการที่บ้าน หรือไม่ขึ้นกับว่ามีหรือไม่มีประวัติสัมผัสเสี่ยง

แต่ถ้าผลตรวจเป็นบวก สามารถเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวเพื่อรักษาที่บ้านหรือในชุมชน แต่ถ้าผู้เข้ารับการตรวจมีอาการเข้าได้กับโรคโควิด-19 อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 ข้อ คือ ไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก ถ่ายเหลว จมูกไม่รับกลิ่น ลิ้นไม่รับรส แล้วผลการตรวจเป็นลบต้องทำการตรวจยืนยันด้วยวิธีพีซีอาร์ต่อเพื่อจะพิจารณาทำการแยกกักตัวสังเกตอาการที่บ้านหรือเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวเพื่อรักษาที่บ้านหรือในชุมชน แต่ถ้าผลการตรวจเป็นบวกก็ให้เข้าสู่ระบบการแยกกักตัวเพื่อรักษาที่บ้านหรือในชุมชนได้เลยถ้ามีความพร้อม ดังนั้นการตรวจ antigen testing ในช่วงที่มีการะบาดสูงนี้ จะช่วยลดการตรวจยืนยันได้ยกเว้นกรณีที่ผู้เข้ารับการตรวจมีอาการแต่ผลการตรวจเป็นลบ

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight