COVID-19

เอาให้ชัด! เปรียบเทียบอาการไม่พึงประสงค์ วัคซีน ‘Sinovac กับ AstraZeneca’

โฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ อธิบายความจริง…เปรียบเทียบเหตุการณ์/อาการไม่พึงประสงค์ วัคซีน Sinovac กับ AstraZeneca ต่างกันชัดเจน แต่ทั้งคู่ มีความปลอดภัย และประสิทธิผล   AstraZeneca  พบกลุ่มอายุน้อย มีอาการมากกว่าผู้สูงอายุ ผู้หญิง มีอาการมากกว่าผู้ชาย

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ โฆษกกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความระบุข้อความว่า “ความจริง…เปรียบเทียบเหตุการณ์/อาการไม่พึงประสงค์ วัคซีน Sinovac กับ AstraZeneca ต่างกันชัดเจน แต่ทั้งคู่ มีความปลอดภัย และประสิทธิผล”…ครับ

1) ในช่วงต้นการฉีดวัคซีน วัคซีนที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น Sinovac และในผู้สูงอายุ จะใช้ AstraZeneca ขณะนี้การใช้วัคซีนส่วนใหญ่ จะเป็น AstraZeneca เป็นหลัก และจะต้องมีการใช้ต่อไปอีกเป็นจำนวนมาก

• ผลการศึกษา การฉีดวัคซีนทั้ง 2 ชนิด ในทุกอายุตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป พบว่า

วัคซีน Sinovac มีอาการไม่พึงประสงค์ น้อยกว่า AstraZeneca โดยเฉพาะในเรื่องไข้ ปวดบริเวณที่ฉีด อาการปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัวเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ ปวดศีรษะ

– วัคซีน AstraZeneca จะพบว่า กลุ่มอายุน้อย มีอาการมากกว่าผู้สูงอายุ ผู้หญิงจะมีอาการมากกว่าผู้ชาย

เมื่อดูอาการไม่พึงประสงค์ เปรียบเทียบกับวัคซีนที่ฉีดในต่างประเทศโดยเฉพาะวัคซีนในกลุ่ม mRNA แล้วไม่ต่างกันเลย

วัคซีน3333

• วัคซีน Sinovac อาการพบดังกล่าวน้อยกว่ามาก

 

2) ผู้ที่ฉีดวัคซีน AstraZeneca ถ้ามีไข้หรือปวดศีรษะ ท้องเสีย อาเจียน ปวดเมื่อยตามตัว คล้ายไข้หวัดใหญ่ ถือเป็นอาการที่พบได้ หลังการฉีดวัคซีน

• ดังนั้น หลังฉีดเมื่อกลับไปถึงบ้านถ้ามีอาการดังกล่าว รับประทานยาพาราเซตามอลได้เลย ไม่ต้องรอให้ไข้ขึ้นสูง หรือปวดเมื่อยเนื้อเมื่อยตัว และสามารถทานซ้ำได้ทุก 4-6 ชั่วโมง อาการดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 1-2 วัน ก็จะหายเป็นปกติ

• กรณีอาการมาก เช่น ไข้สูงติดต่อกันหลายวัน หรือสูงมาก ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และรับประทานยาแล้วไม่หาย ก็ควรจะปรึกษาแพทย์

3) ขอสร้างความเข้าใจ เพื่อจะได้ไม่เกิดวิตกกังวล ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนในกลุ่ม virus Vector หรือ mRNA วัคซีนจะมีอาการข้างเคียงได้มากกว่าวัคซีนชนิดเชื้อตาย ตามหลักฐานเชิงประจักษ์

4) ผลการศึกษาในการวิจัยทางคลินิก เดิมระยะห่างการให้วัคซีน AstraZeneca อยู่ที่ 4 สัปดาห์ เมื่อทำการศึกษาระยะที่ 3 ผู้ที่ได้รับวัคซีน 2 ครั้ง ห่างกันมากกว่า 6 สัปดาห์ ถึง 12 สัปดาห์ ได้ผลภูมิต้านทาน และประสิทธิภาพดีกว่าผู้ที่ได้รับห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์

รองโฆษก

• การใช้จริงที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่มีโรคระบาดมาก และวัคซีนไม่เพียงพอ อังกฤษ จึงยืดระยะห่างของการให้วัคซีนเข็มที่ 2 ออกไปอีกถึง 16 สัปดาห์ เพื่อให้ประชากรส่วนใหญ่ได้รับวัคซีนเข็มแรกให้มากที่สุด และได้ปูพรมเข็มแรกได้กว้างที่สุดเพื่อระงับการระบาด

• ผลการศึกษาในสกอตแลนด์ พบว่า การให้ AstraZeneca เพียงเข็มเดียว มีประสิทธิภาพถึง 80% การให้เข็มที่ 2 จะเพิ่มประสิทธิภาพเป็น 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ เห็นว่าเข็ม 2 เพิ่มประสิทธิภาพก็จริง ถ้าเปรียบเทียบกับการปูพรมเข็มแรกให้มากที่สุดแล้วค่อยเติมเข็ม 2 น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่าในการควบคุมการระบาดของโรค

• หลักของวัคซีน การทิ้งระยะห่าง ยิ่งห่างนาน ก็จะกระตุ้นภูมิต้านทานได้ดีกว่า

ดังนั้นประเทศไทยอยู่ในช่วงการระบาดขาขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการควบคุมโรคให้เร็วที่สุด จำเป็นที่จะต้องให้ AstraZeneca วัคซีนปูพรมในแนวกว้างให้มากที่สุดก่อน ต้องระดมทรัพยากรทั้งหมดรวมทั้งวัคซีนมาใช้ในการให้วัคซีนเข็มแรกภายใน 16 สัปดาห์ ประชากรส่วนใหญ่ทั้งประเทศก็จะได้วัคซีนอย่างน้อย 1 เข็ม แล้วค่อยไปเติมเข็มที่ 2 ภูมิคุ้มกันจะสูงขึ้นและอยู่นาน

นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ
ที่ปรึกษาระดับกระทรวง รก.11
หน้าสำนักวิชาการสาธารณสุข
และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight