COVID-19

‘เชื้อราดำ’ ถล่มอินเดีย รักษายาก เสี่ยงตายสูง ‘หมอมนูญ’ เผยสาเหตุติดเชื้ออันตราย

เชื้อราดำ ลามหนักในอินเดีย โดยเฉพาะในคนป่วยโควิด”หมอมนูญ” เปิดสาเหตุเกิดโรค ชี้รักษายาก มีความเสี่ยงเสียชีวิตสูง โชคดีที่พบประเทศอื่น รวมถึงไทยน้อยมาก

นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เพจเฟซบุ๊ก “หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC” ถึงโรคติดเชื้อราดำ ที่ระบาดอย่างหนักในอินเดีย โดยเฉพาะในผู้ป่วยโควิด-19 โดยระบุว่า

นพยงธีระวัฒน์มนูญ ๒๑๐๖๑๑

“ประเทศอินเดีย กำลังเผชิญกับ โรคติดเชื้อราดำ (Mucormycosis) อย่างหนัก ท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่ ของโรคโควิด-19 แต่ประเทศอื่น ๆ รวมทั้งประเทศไทย กลับพบโรคนี้น้อยมาก

ประเทศอินเดีย พบคนป่วยด้วยโรคติดเชื้อราดำมากกว่า 28,000 คน ที่บริเวณโพรงจมูก ไซนัส ลุกลามเฉียบพลันเข้ากระดูก เบ้าตา และสมอง ในคนที่กำลังป่วย หรือหายป่วยจากโรคโควิด-19

เชื้อราดำ เป็นสิ่งมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป เชื้อราดำ จะปล่อยสปอร์ล่องลอยอยู่ในอากาศ เมื่อคนหายใจเอาสปอร์ของเชื้อราดำ เข้าไปในโพรงอากาศ ในจมูก และไซนัส เชื้อรา จะเจริญเติบโตงอกงามอย่างรวดเร็ว ในคนที่เป็นเบาหวาน และภูมิต้านทานต่ำ

เชื้อราดำ

สาเหตุสำคัญ ของการติดเชื้อราดำ ในคนอินเดียช่วงนี้ คือ

  • ติดเชื้อไวรัสโควิด-19
  • เป็นโรคเบาหวาน
  • การให้สเตียรอยด์ เพื่อลดการอักเสบของปอด จากโรคไวรัสโควิด-19 ถ้าให้ขนาดสูง และเป็นเวลานาน มีผลเสียทำให้น้ำตาลในเลือดขึ้นสูง และภูมิต้านทานต่ำ เหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราดำ

นอกจากนี้แล้ว ประเทศอินเดีย กำลังขาดแคลนออกซิเจน ที่ใช้ในทางการแพทย์อย่างหนัก คนอินเดียจำนวนมาก ป่วยเป็นปอดอักเสบ ออกซิเจนในเลือดต่ำ ไม่มีทางเลือก ต้องหันไปใช้ถังออกซิเจนที่ใช้ในทางอุตสาหกรรม ซึ่งไม่แน่ใจในความสะอาด อาจมีเชื้อราดำปนเปื้อนได้

อีกทั้ง เวลาใช้ออกซิเจน ต้องให้ก๊าซออกซิเจนผ่านน้ำ เพื่อเพิ่มความชื้น น้ำที่ใช้ต้องเป็นน้ำสะอาด ปราศจากเชื้อโรค ถ้าน้ำไม่สะอาด อาจเป็นตัวนำเชื้อราดำ เข้าจมูก และไซนัสอีกทางหนึ่ง

การรักษาโรคติดเชื้อราดำยากมาก ต้องให้ยาฆ่าเชื้อราทางเส้นเลือดเป็นเวลานาน บางคนต้องผ่าตัดกระดูก และเอาลูกตาออก ผู้ป่วยติดเชื้อราดำ มีอัตราการเสียชีวิตสูงมาก”

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo