COVID-19

ผงะ! โควิดสายพันธุ์อินเดีย ลามแล้ว 10 จังหวัด กทม. เจอมากสุด 206 ราย เร่งสอบโรคเพิ่ม

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผย ไทยตรวจพบ “โควิดสายพันธุ์อินเดีย”  สะสม 235 คน ลาม 10 จังหวัด เฉพาะ กทม. 206 คน รองลงมาอุดรธานี 17 คน เร่งสอบสวนโรคเพิ่ม พบส่วนใหญ่โยงแคมป์ก่อสร้างหลักสี่ ส่วนสายพันธุ์แอฟริกาใต้ ตรวจพบ 26 คน ในพื้นที่ ตากใบ 

วันนี้ (7 ก.ค.) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวเรื่อง “การเฝ้าระวังการกลายพันธุ์เชื้อไวรัสก่อโรค COVID-19 ในประเทศไทย” โดยมี นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศ.เกียรติคุณ ดร.วสันต์ จันทราทิตย์ หัวหน้าศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมแถลงรายละเอียด

img 1387

นพ.ศุภกิจ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า สายพันธุ์โควิด-19 ที่น่าเป็นห่วง คือ อัลฟา (Alpha-สายพันธุ์อังกฤษ) เบตา (Beta-สายพันธุ์แอฟริกาใต้) แกมมา (Gamma-สายพันธุ์บราซิล) และ  เดลตา (Delta-สายพันธุ์อินเดีย)

ข้อมูลการตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ในผู้ติดเชื้อจำนวน 3,964 คน ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์อังกฤษ และในจำนวนนี้เป็นสายพันธุ์อินเดีย 235 หรือ 6% ของจำนวนการตรวจสายพันธุ์

“พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์อินเดียสะสม 235 คน แบ่งเป็น กทม. 206 คน นนทบุรี 2 คน พิษณุโลก 2 คน สระบุรี 2 คน ร้อยเอ็ด 1 คน อุดรธานี 17 คน นครราชสีมา 2 คน อุบลราชธานี 1 คน สมุทรสงคราม 1 คน บุรีรัมย์ 1 คน ส่วนหนึ่งมีความเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์แคมป์ก่อสร้างเขตหลักสี่”

Whoเปี่ยนชื่อโควิดกลายพันธ์

เฝ้าระวังไวรัสกลายพันธุ์

ทางด้านนางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกรัฐบาล โพสต์เฟซบุ๊กในวันนี้ ระบุว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการ เพื่อดำเนินงานเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ของเชื้อไวรัสก่อโรคโควิด-19 ร่วมกับห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัย เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เพื่อให้ประเทศไทยมีข้อมูลเฝ้าระวังสายพันธุ์ ได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์เบตา ที่อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพของวัคซีน

1. การตรวจเฉพาะตำแหน่งกลายพันธุ์ ที่มีความจำเพาะต่อสายพันธุ์ที่น่ากังวลด้วยเทคนิค Real-time PCR สามารถทำได้ในระดับเขตภูมิภาค

2. Target sequencing ตรวจการกลายพันธุ์ในตำแหน่งต่างๆ ทั้งที่ทราบข้อมูลการกลายพันธุ์อยู่แล้ว หรือค้นหาตำแหน่งการกลายพันธุ์ใหม่บนยีนสำคัญ เช่น ยีนหนามแหลม (spike)

3. Whole genome sequencing ตรวจข้อมูลทั้งจีโนมของเชื้อไวรัส เป็นวิธีหลักในการเฝ้าระวังสายพันธุ์ เป็นไปอย่างครอบคลุม และมีประสิทธิภาพ ซึ่งการถอดรหัสพันธุกรรม ทั้งจีโนมของเชื้อไวรัส SAR-COV-2 เริ่มต้นที่ 9,000 ตัวอย่าง เพื่อให้มีข้อมูลพอเพียงต่อการควบคุมโรค และการบริหารวัคซีนโควิด 19 โดยจะดำเนินการต่อเนื่องไปอย่างน้อย 6 เดือน

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ขอฝากประชาชน ที่จะจ้างแรงงานต่างด้าวที่ลักลอบผ่านชายแดนเข้ามา ให้ความร่วมมือกับภาครัฐ แจ้งเบาะแส เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของสายพันธุ์น่ากังวล เพราะเชื้อเหล่านี้จะทำให้เกิดการระบาดรุนแรงในประเทศไทยได้

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo