Politics

เปิดข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด 3 ระลอก ชี้สูงอายุ-มีโรคประจำตัวเสี่ยงสูงสุด

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 สรุป ข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด ทั้ง 3 ระลอก ชี้ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง เสียชีวิตสูงสุด พร้อมเปิด Cluster ที่พบผู้ป่วยใหม่ภายใน 14 วัน

ศูนย์ข้อมูล COVID-19 สรุป ข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด ทั้ง 3 ระลอก โดยข้อมูลระบุว่า

ระลอกแรก มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.42%
มีโรคประจำตัว 70%
สูงอายุ 45%
ระยะเวลาเริ่มป่วยจนเข้ารักษา 6 วัน
ระยะเวลาพบเชื้อจนเสียชีวิต 15 วัน

ระลอกเดือนธันวาคม มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 0.14%
มีโรคประจำตัว 76%
สูงอายุ 65%
ระยะเวลาเริ่มป่วยจนเข้ารักษา 4 วัน
ระยะเวลาพบเชื้อจนเสียชีวิต 12 วัน

ระลอกเดือนเมษายน มีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 1.23%
มีโรคประจำตัว 82%
สูงอายุ 65%
ระยะเวลาเริ่มป่วยจนเข้ารักษา 1.6 วัน
ระยะเวลาพบเชื้อจนเสียชีวิต 12 วัน

ข้อสังเกต

  • ผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว ยังเป็นกลุ่มเสี่ยง เสียชีวิตสูงสุด
  • ระลอกเดือนเมษายน ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีภาวะเจ็บป่วยแสดงอาการ และอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว จึงเข้าสู่การรักษาเร็วกว่า 2 ระลอกก่อนหน้า
  • ระลอกเดือนเมษายน ผู้เสียชีวิตหลังตรวจพบเชื้อใน 1 วัน มักไม่มีประวัติการสัมผัสโรคที่ชัดเจน ไม่ได้ไปพื้นที่เสี่ยง มีอาการเริ่มแรกเล็กน้อย จึงไม่เข้ารักษา อาการทรุดหนักและเสียชีวิต

ข้อแนะนำ

  • ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ควรมีอุปกรณ์ตรวจค่าออกซิเจนในเลือด
  • ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง หมั่นสังเกตอาการผู้ป่วยในแต่ละวัน ถ้ามีอาการทางเดินหายใจ ทานน้อย หอบเหนื่อย ให้รีบพบแพทย์
  • สถานพยาบาลตรวจโควิด-19 ผู้สูงอายุทุกรายที่มีอาการทางเดินหายใจ และมีโรคประจำตัว แม้ไม่มีประวัติสัมผัสผู้ป่วย หรือไปพื้นที่เสี่ยง

ข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด

ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูล COVID-19 สรุปสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2564

สถานการณ์โลก : พบผู้ติดเชื้อภาพรวมลดลง

การติดเชื้อในประเทศ :

  1. พบการติดเชื้อต่อเนื่องมีแนวโน้มคงตัวทั้งใน กทม. ปริมณฑล และต่างจังหวัด
  2. พบในกลุ่มก้อนที่ต่อเนื่องจากกลุ่มก้อนเดิม (โรงงาน แคมป์ก่อสร้าง ชุมชนแออัด ชุมชนรอบโรงงาน และเรือนจำ)
  3. เริ่มพบในโรงงานหลากหลายประเภทและขนาด (ข้าว อาหารสด อาหารบรรจุ อิเล็กทรอนิกส์ เสื้อผ้า และอุปกรณ์การแพทย์) โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าว
  4. ยังพบผู้ติดเชื้อผ่านชายแดนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกัมพูชา

ผู้ป่วย :

  • ผู้ป่วยหนักค่อนข้างคงที่ : พบผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง

ความเสี่ยง :

  • สถานที่เสี่ยง: โรงงาน ตลาด (ตลาดค้าส่งขนาดใหญ่) ชุมชนแออัด แคมป์ก่อสร้าง และชุมชนรอบ ๆ
  • ปัจจัยเสี่ยง : มีการสัมผัสคลุกคลีกัน ทั้งในสถานประกอบการ ที่พัก ชุมชน ครอบครัว การเดินทาง

ข้อมูลการเสียชีวิตจากโควิด

ขณะที่ Cluster ที่มีผู้ป่วยภายใน 14 วัน มีดังนี้

  1. กรุงเทพกลาง เขตดินแดง เขตดุสิต เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตพระนคร เขตราชเทวี เขตสัมพันธวงศ์ เขตห้วยขวาง
  2. กรุงเทพตะวันออก เขตคลองสามวา เขตบางกะปิ เขตมีนบุรี เขตหนองจอก
  3. กรุงเทพใต้ เขตคลองเตย เขตบางคอแหลม เขตบางรัก เขตปทุมวัน เขตยานนาวา เขตวัฒนา เขตสวนหลวง
  4. กรุงเทพเหนือ เขตบางซื่อ
  5. กรุงธนใต้ เขตทุ่งครุ เขตบางแค
  6. กรุงธนเหนือ เขตบางกอกน้อย

ส่วน Cluster ที่ไม่พบผู้ป่วยรายใหม่ใน 14 วัน

  1. กรุงเทพกลาง ไม่พบการระบาดที่เป็น Cluster
  2. กรุงเทพตะวันออก เขตประเวศ
  3. กรุงเทพใต้ เขตสาทร
  4. กรุงเทพเหนือ เขตดอนเมือง เขตบางเขน เขตหลักสี่
  5. กรุงธนใต้ ไม่พบการระบาดที่เป็น Cluster
  6. กรุงธนเหนือ เขตบางพลัด

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK