Politics

คุณหมอแชร์ไอเดีย! สัมผัสที่อบอุ่น…กำลังใจครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วยโควิด

คุณหมอแชร์ไอเดีย! สัมผัสที่อบอุ่น กำลังใจครั้งสุดท้ายให้ผู้ป่วย “โควิด” ไม่ต้องจากไปอย่างโดดเดี่ยว

พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร อายุรแพทย์โรคระบบทางเดินหายใจ และเวชบำบัดวิกฤติประจำ โรงพยาบาลเอกชัย จ. สมุทรสาคร โพสต์แชร์ไอเดียส่งกำลังใจให้ผู้ป่วยในวันที่ต้องจากไป โดยระบุว่า “เสียง” คือสัมผัสสุดท้าย ที่คนจะสูญเสียเมื่อก่อนจะตาย

เวลานี้มีผู้ป่วย “โควิด” มากมายที่ต้องเสียชีวิตแบบโดดเดี่ยว เพราะญาติเฝ้าไม่ได้ คนไข้ต้องตายแบบคนเดียว ศพถูกเก็บแบบไม่มีใครได้เห็นอีก แล้วเผาอย่างรวดเร็ว

หลายคนจึงมีภาพจำ เพียงภาพของผู้ป่วยที่เดินขึ้นรถพยาบาลไป พร้อมกับกระเป๋า 1 ใบ แล้วบอกว่าเดี๋ยวเจอกัน ….
แต่โรคมันโหดร้าย ไม่ให้โอกาสได้เจอกันอีก

เมื่อวานได้คุยกับผู้ป่วยโควิดคนหนึ่ง ที่กำลังนั่งร้องไห้อยู่ ปกติจะไม่พ้น

  • เป็นต้นเหตุให้คนที่รักติดเชื้อ
  • กลัวโรคลุกลาม
  • มีคนใกล้ชิดเป็นรุนแรง หรือ เสียชีวิตแล้ว
184114234 4636393773040677 2829843058453720574 n
ภาพจากเฟซบุ๊ก Nittha Oer-areemitr

เวลาเจอผู้ป่วยแบบนี้ มักจะสอบถามเขา ไม่อยากให้เขาต้องเก็บความรู้สึก เพราะการอยู่คนเดียวให้ห้องผู้ป่วย อาจจะทำให้เขายิ่งจมดิ่งได้

การให้เขาได้เล่า อาจทำให้เขารู้ว่ามีเราที่รับรู้ความรู้สึกเขาอยู่

สิ่งที่คนไข้เล่า ก็คือ แม่ของเขาเพิ่งเสียชีวิต ได้ไม่กี่ชม. นี่เอง ทางรพ. โทรมาบอก

แน่นอนว่า เขาไม่ได้เห็นแม่มาหลายวัน จึงถามว่า ได้คุยกับแม่ครั้งสุดท้าย ตอนไหน…คนไข้ตอบว่า

ตอนแม่ไปรพ.

ในใจตกใจมากพอควร เพราะไม่คิดว่าระหว่างอยู่รพ. จะไม่ได้คุยกันเลย

คนไข้บอกว่า ไปถึงรพ. แม่ก็เป็นเยอะแล้ว…

ความเจ็บปวดหนึ่ง ที่คนไข้โควิดที่ใกล้เสียชีวิต และญาติคนไข้ต้องเจอ คือ “ความโดดเดี่ยว” ในช่วงที่กำลังจะจากไป…

จริง ๆ เราทำอะไร ได้บางอย่าง…

เนื่องจากเสียงคือ สัมผัสสุดท้าย ที่คนไข้จะเสียไป

รองมา คือ “สัมผัส”

ดังนั้น สิ่งที่ทำได้ คือ ให้ใช้โทรศัพท์ของคนไข้เอง ให้ญาติโทรเข้าไป เอาไปวางข้างหู ให้ครอบครัวได้ร่ำลาคนไข้

แม้ใจความเนื้อหา ผู้ที่ใกล้จะหมดลม คงแปลความไม่ได้

แต่น้ำเสียงที่คุ้นเคย เสียงที่อบอุ่น น่าจะทำให้คนไข้ไม่โดดเดี่ยว

ในมุมญาติ สิ่งที่ควรพูดคือ ขอบคุณ ขอโทษ บอกรัก เป็นต้น

อีกอย่างที่ทำได้ เห็น idea จาก ต่างประเทศ คือ ทำถุงมือใส่น้ำ เหมือนในภาพ ให้เหมือนมีใครจับมือเค้าอยู่ ก็น่าจะทำให้รู้สึกอุ่นใจขึ้นบ้าง

ใครมี idea ช่วยกันเสนอดูค่ะ

พญ.นิษฐา เอื้ออารีมิตร

186496693 4634254073254647 5295775876861670227 n
ภาพจากเฟซบุ๊ก Nittha Oer-areemitr

นอกจากนี้ “คุณหมอ” ยังโพสต์ชวนทุกคนให้ฉีดวัคซีน โดยระบุว่า ย้ำเหมือนทุกครั้ง ฉีดแล้ว กันเชื้อลงปอดรุนแรงได้ แค่นี้ก็คุ้มมากแล้ว เพราะเวลาเชื้อลงปอดทีนึงคุณจะเหลือทางที่เลือกไม่ได้ แค่ 3 ทาง

  • คุณอาจจะไม่รอด
  • คุณอาจจะรอดแต่ปอดเละมาก
  • คุณอาจจะรอด แต่ปอดเละไม่มาก (ไม่มีผลต่อการทำงานของปอด)

ปัจจุบัน เคสที่ดู มีไม่น้อยที่ “ปอดเสียถาวร” คือไม่กลับไปแบบเดิม ไม่กลับไปเท่าเดิม กลายเป็นต้องพึ่งพาออกซิเจนตลอดชีวิต

เลยเอารูปซีทีสแกนปอดคนไข้โควิด ที่ไม่สามารถลดออกซิเจนลงได้ ทั้งๆที่ป่วยมา20 วันแล้ว สีเทาอ่อนคือปอดที่อักเสบ
สีดำ ๆ คือปอดส่วนที่ยังไม่อักเสบ

แบบนี้บอกได้ว่า ส่วนทีีอักเสบมีมากกว่า 90%

คนไข้คนนี้ อายุเพียง 49 ปี เท่านั้น….

ตอนนี้ต้องรักษาโดยใช้ยา steroid ขนาดสูง ระยะยาว ยาวววว หลายเดือน เพราะไม่รู้การอักเสบจะยืดเยื้อแค่ไหน

แค่เห็นปอดแบบนี้ ความเสี่ยงจากผลข้างเคียงวัคซีน ก็ถือว่าคุ้มมากที่จะเสี่ยง….

ฉีดเถอะ…ถ้าไม่อยากตายจากโควิด
ฉีดเถอะ…ถ้าไม่อยากปอดเสียถาวรจากโควิด
อย่ารอ…สิ่งที่ยังมาไม่ถึง

ขอบคุณเฟซบุ๊ก Nittha Oer-areemitr

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK