COVID-19

ศบค. ชง กทม.ใช้ ‘โมเดลสมุทรสาคร’ ตั้ง ‘แคมป์กักโรค’ คุมต่างด้าวติดโควิด

ที่ปรึกษา ศบค. เสนอ กทม. ใช้ “โมเดลสมุทรสาคร”  ตั้ง  “แคมป์กักโรค” คุมแรงงานต่างด้าวติดโควิด ที่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล 

วันนี้ (20 พ.ค.) นพ. ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) เปิดเผยหลังแถลงตัวเลขสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันว่า เรื่องสำคัญวันนี้ คณะที่ปรึกษาด้านการสาธารณสุขของ ศบค. เสนอแนะการแก้ปัญหาของชาวต่างด้าว ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย

โดยประมาณการว่า พื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีคนต่างด้าวอาศัยอยู่ประมาณ 1,318,641 คน เฉพาะที่ถูกต้องตามกฎหมาย กระจายอยู่ใน 6 จังหวัด แยกเป็น กทม.มีประมาณ 5.8 แสนคน สมุทรสาคร 2.3 แสนคน สมุทรปราการ 1.6 แสนคน ปทุมธานี 1.3 แสนคน นนทบุรี 99,000 คน และนครปฐม 93,000 คน

IMG 20210520135111000000

นอกจากนี้ ยังมีที่ไม่ถูกกฎหมายอีกจำนวนหนึ่ง ประมาณกันทั่วทั้งประเทศน่าจะมีหลักล้านคน

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ประเด็นอยู่ตรงที่หากไม่จัดการอะไรขึ้นมา คนเหล่านี้มีชุดพฤติกรรมที่จะเกิดประเด็นปัญหา 2-3 ข้อ คือ

  • กลุ่มคนเหล่านี้จะเป็นผู้ที่ไม่อยู่นิ่ง จะหลบหนีหรือเคลื่อนย้ายตัวเองบ่อย ๆ เพราะเป็นแรงงานไม่ถูกกฎหมาย
  • กลุ่มคนเหล่านี้จะไปอยู่กับคนที่ถูกกฎหมาย โดยพยายามที่จะเกาะกลุ่มรวมกัน ไปทำงาน และย้ายจุดไปเรื่อยๆ โดยมีจุดเชื่อมต่อคือคนที่ถูกกฎหมาย
  • มีที่พักที่แออัด ทั้งกินนอน ดื่มเล่นกัน

เพราะฉะนั้น 3 ปัจจัยนี้จะนำมาสู่การควบคุมโรคได้ยาก สิ่งที่ทางคณะที่ปรึกษาศบค.เสนอ คือ จะต้องให้มีศูนย์คัดแยกผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มผู้ใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งเราเรียนรู้มาจากทางจังหวัดสมุทรสาครแล้ว ซึ่งเขาควรจะได้พื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งอาจะใช้ มีคำพูด เช่น อาจเรียกว่าเป็น แคมป์กักโรค หรือเรียกว่าแคมป์ ISOLATION

189052505 328905718727759 5574987635267708173 n

“ตัวอย่างที่พูดคุยกันวันนี้คือโรงพยาบาลสนาม ซึ่งเกิดขึ้นที่จังหวัดปทุมธานี คือเอาตลาดเก่าที่ไม่ใช้แล้วมาปรับปรุง แล้วให้คนที่เป็นต่างด้าว มาอยู่ด้วยกันตรงนี้ แล้วชุมชนก็เป็นผู้ดูแลร่วมกัน มีรั้วรอบมิดชิด มีการส่งข้าวส่งน้ำ เพราะคนพวกนี้ทำงานอยู่ตรงนั้น และก็รู้จักกันในชุมชนทั้งสิ้น”

“โมเดลอย่างนี้ กทม.ควรจะต้องรีบทำ เพราะวันหนึ่งที่มีผู้ป่วยเพิ่มกันมา 300-400 คน จากการตรวจเชิงรุก มีที่นอนให้เขา แยกออกมาจากชุมชนให้ได้ และในเชิงของทางกฎหมาย ให้มีมาตรการรองรับ ขยายนิรโทษกรรม ให้เขาขึ้นทะเบียนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อให้เขาได้เข้าสู่ระบบบการจ้างงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย”

189718638 328905782061086 4257137583056463864 n

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo