COVID-19

ปฏิเสธ รพ.สนาม อยากไปรพ.-ฮอสพิเทล ผู้ป่วยโควิด กทม. ตกค้างอยู่บ้านอีก 600 ราย

ผู้ป่วยโควิด กทม. ไม่ยอมไปอยู่ รพ.สนาม อยากไปโรงพยาบาล หรือฮอสพิเทล ส่งผลผู้ป่วยโควิด กทม. ยังตกค้างที่บ้าน 600 ราย สธ.เตรียมตั้งไอซียูสนาม

นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร ผู้อำนวยการสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ปัจจุบันพบปัญหา ประชาชนส่วนหนึ่ง ไม่พร้อมเข้ารับการดูแลรักษาที่โรงพยาบาลสนาม โดยอยากอยู่โรงพยาบาล หรือฮอสพิเทลมากกว่า และ เตียงโรงพยาบาลสนาม มีคนเข้าเข้า-ออกอยู่เสมอ ทำให้ยังมีผู้ป่วยโควิด กทม. ตกค้างอยู่ที่บ้านราว 600 ราย

วัคซีนโควิดรพ 1.สนาม ๒๑๐๔๑๙

ปัจจุบัน กทม. จะรับผิดชอบดูแลผู้ป่วยโควิดจากการค้นหาเชิงรุก ซึ่งพบเฉลี่ยราว 120-140 รายต่อวัน โดยหากเป็นผู้ป่วยสีเขียว จะกำหนดให้รับเข้าดูแลใน รพ.สนาม ที่มีการดูแลรักษาตามมาตรฐาน ของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ซึ่งขณะนี้ มีเตียงรพ.สนามอยู่ 1,656 เตียง มีการเข้ารักษา 1,275 เตียงเหลือว่าง 381 เตียง

นอกจากนี้ จะเร่งขยาย รพ.สนาม ในวันที่ 20 เม.ย.อีก 1,100 เตียง รวมในพื้นที่กทม. จะมีเตียง รพ.สนาม รวม 2,756 เตียง และมีแผนเปิดเพิ่มที่ จ.นนทบุรี และนครปฐมอีก 170 เตียง ทำให้จะมีเตียงรองรับเพิ่ทเป็น 2,926 เตียง ไม่รวมฮอสพิเทล ที่กำลังประสานกับผู้ประกอบการโรงแรม

นอกจากนี้ ในส่วนของการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ได้มีการมอบหมายให้สำนักเทศกิจทั้ง 50 เขต ร่วมกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน(สพฉ.) คาดว่า 1-2 วันจะเคลียร์ผู้ป่วยตกค้างที่บ้านได้

นพ.สุขสันต์
นพ.สุขสันต์ กิตติศุภกร

ส่วนกรณีพบปัญหา ผู้ติดเชื้อที่อยู่ใน รพ.สนาม จำนวนหนึ่ง ไม่ยอมปฏิบัติตามมาตรที่กำหนดนั้น นพ.สุขสันต์ กล่าวว่า ในรพ.สนาม จะมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดเอาไว้ตลอด 24 ชม. เพื่อดูแลสถานการณ์ หากพบว่า มีการรวมกลุ่มมากเกินไป ก็จะเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแล ตักเตือน ดังนั้นขอให้ปฏิบัติตามแนวทางที่กำหนด

ด้าน รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี และประธานคณะกรรมการโรงพยาบาล ในกลุ่มสถาบันแพทย์แห่งประเทศไทย (UHOSNET) กล่าวว่า รอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีคนไข้กลุ่มสีเขียวมาก แต่เพื่อเป็นการวางแผนรองรับสถานการณ์ถัดไป ที่คนไข้สีเขียว อาการจะเปลี่ยนไปเป็นสีเหลือง สีแดง

รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ
รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ

ดังนั้น กลุ่มโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ทุกสังกัด ทั้งสังกัดทหาร กลาโหม กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย จะร่วมกันจัดหาเตียงไอซียูเพิ่ม 50-100% โดยอาจจะยกเลิกกิจการบางอย่าง เพื่อนำเตียงไอซียูมาเสริม และส่งบุคลากรมาช่วยเหลือกัน รวมถึงการส่งต่อผู้ป่วยอาการหนัก ไปดูแลต่อ

อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์รุนแรงขึ้น แผนงานถัดไป คือ การตั้งไอซียูสนาม ซึ่งเคยดำเนินการมาแล้วตั้งแต่การระบาดระลอกแรก รวมทั้งการชักชวนเพื่อน ๆ ชาวสาธารณสุข ระดมสมอง ระดมพละกำลัง เพื่อให้ผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้อีกครั้ง”รศ.นพ.สุรศักดิ์ กล่าว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo