Politics

126 คณาจารย์-เครือข่ายนักกม.แถลงการณ์ ข้อโต้แย้งคำสั่งไม่อนุญาตประกันตัว 4 แกนนำราษฎร 

126 คณาจารย์นิติศาสตร์-เครือข่ายนักนักกฎหมาย แถลงการณ์ ข้อโต้แย้งคำสั่งไม่อนุญาตประกันตัว 4 แกนนำราษฎร 

คณาจารย์ด้านนิติศาสตร์ เครือข่ายนักกฎหมาย และนักกฎหมาย ร่วมกันออก แถลงการณ์ “ข้อโต้แย้งต่อคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำราษฎร 4 คน” โดยมีคณาจารย์จากสถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์ 10 แห่ง เครือข่ายนักกฎหมาย และนักกฎหมาย จำนวน 126 คน ร่วมลงชื่อแนบท้าย โดยมีรายละเอียดดังนี้

สืบเนื่องจากกรณีที่ศาลอาญา มีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำ “ราษฎร” 4 ราย ในคดีการชุมนุม “#19กันยายนทวงอำนาจคืนราษฎร” นั้น พวกเราในฐานะคณาจารย์ด้านนิติศาสตร์ เครือข่ายนักกฎหมาย และนักกฎหมาย มีความเห็นอันหนักแน่นว่าสิทธิในการได้รับการประกันตัว ของประชาชนเป็นหลักการอันสำคัญยิ่งที่สถาบันตุลาการซึ่งมีหน้าที่ทางกฎหมาย ทางสังคม ทางมนุษยธรรม และเป็นที่พึ่งสุดท้ายของประชาชน จักต้องยืนหยัดและยึดมั่นในฐานะที่เป็นสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชน แม้สถาบันตุลาการจะถูกแวดล้อมด้วยแรงกดดันทางสังคมและการเมืองมากเพียงใดก็ตาม

พวกเรามีเหตุผลในการโต้แย้งต่อคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวแกนนำราษฎร 4 คน ดังต่อไปนี้

ประการแรก กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้น นอกจากจะเป็นกฎหมายที่กำหนดอำนาจหน้าที่ของรัฐในการรักษาความสงบเรียบร้อยแล้ว ยังเป็นกฎหมายที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น การกระทำของรัฐที่เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานของบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ จะกระทำได้ต่อเมื่อกรณีมีความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เท่านั้น

การควบคุมตัวตามกฎหมาย มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยจะแสดงตัวต่อศาล และจะไม่ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน โดยหลักแล้วผู้ต้องหาหรือจำเลยทุกคนพึงได้รับการอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 107 แม้ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีจักเป็นหนึ่งในข้อพิจารณาการปล่อยตัวชั่วคราวตามมาตรา 108 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา อาทิ ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะหลบหนี จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือจะเกิดความเสียหายต่อการสอบสวน

w644

แต่หากพิจารณาจากพฤติการณ์ของอานนท์ นำภา พริษฐ์ ชิวารักษ์ สมยศ พฤกษาเกษมสุข และปฏิวัฒน์ สาหร่ายแย้ม ได้แสดงให้สังคมเห็นอย่างต่อเนื่องและหนักแน่นว่าการกระทำของพวกเขาเป็นการกระทำโดยสงบ ปราศจากความรุนแรง และเปิดเผยต่อสาธารณะ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาของบ้านเมือง ซึ่งเป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามทำนองคลองธรรมของระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ ความร้ายแรงของโทษในคดีที่พวกเขาถูกกล่าวหานั้น ยิ่งมีเหตุอันสมควรยิ่งที่ประชาชนทั้งสี่จะต้องมีโอกาสในการต่อสู้คดีและพิสูจน์เจตนาอันบริสุทธิ์แห่งตนด้วยพยานหลักฐานอย่างเต็มที่ โดยการปล่อยตัวชั่วคราวเป็นมาตรการที่มีขึ้นเพื่อรับประกันว่าประชาชนคนไทยจะไม่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกให้ร้ายในนามของกระบวนการยุติธรรม เพียงเพราะพวกเขาเป็นเห็นแตกต่างจากผู้มีอำนาจรัฐ

ประการที่สอง การที่ศาลระบุในคำสั่งไม่ให้ประกันตัวว่า “พิเคราะห์ความหนักเบาแห่งข้อหาและพฤติการณ์แห่งคดีแล้วเห็นว่าคดีมีอัตราโทษสูงพฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้ายแรง อีกทั้งการกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำๆ ต่างกรรมต่างวาระตามข้อกล่าวหาเดิมหลายครั้งหลายครา กรณีมีเหตุอันควรเชื่อว่าหากอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยอาจไปก่อเหตุลักษณะเดียวกันกับความผิดที่ถูกกล่าวหาอีก จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวให้ยกคำร้องแจ้งคำสั่งให้ทราบ และคืนหลักประกัน”

การให้เหตุผลในลักษณะดังกล่าวเป็นการคาดหมายว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำการซ้ำในอนาคต แต่เหตุผลดังกล่าวไม่ได้เป็นไปตามเหตุที่กำหนดไว้ในมาตรา 108/1 จึงมีข้อน่ากังวลถึงการใช้อำนาจและการปฏิบัติหน้าที่ของศาลว่าอยู่บนพื้นฐานของกฎหมายและกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

แม้ศาลจะเห็นว่าเป็นกรณีที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108 (3) แต่ศาลย่อมทราบดีว่าประเด็นการกระทำความผิดตามมาตรา 112 และมาตรา 116 ดังที่ปรากฏในคดีนั้น มีข้อกังวลจากทั้งภาคประชาชนในประเทศและองค์กรระหว่างประเทศ ถึงการบังคับใช้กฎหมายโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐต่อการลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออก

การแสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ความเสมอภาค รวมถึงการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบัน ซึ่งมิใช่เป็นการกระทำอาชญากรรมหากเป็นการใช้สิทธิในเสรีภาพที่ได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ ทั้งยังเป็นสิทธิในเสรีภาพที่ประเทศไทยผูกพันที่จะต้องส่งเสริม เคารพและปกป้องตามพันธกรณีระหว่างประเทศในฐานะรัฐภาคี (กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR ข้อ 14)

ดังนั้น การพิเคราะห์ของศาลว่า การแสดงออกของผู้ต้องหาหรือจำเลย เป็นการก่อเหตุอันตรายหรือไม่ จึงจำต้องกระทำด้วยความระมัดระวัง และรอบคอบ โดยให้เป็นไปตามหลักวิชาทางกฎหมาย เพื่อพิทักษ์สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย มิฉะนั้น ศาลก็อาจจะถูกครหาเป็นอื่นได้

ประการที่สาม นอกจากนี้ ความหนักเบาแห่งข้อหา และพฤติการณ์แห่งคดี เป็นเรื่องร้ายแรงหรือไม่ ก็เป็นข้อกล่าวหา ที่ทั้งโจทก์ และจำเลย ต่างจะต้องมีโอกาสอย่างเต็มที่ ในการเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ ด้วยพยานหลักฐาน

การได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว เป็นมาตรการที่สืบเนื่องมาจากหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ถูกกล่าวหานั้น เป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุด (the principle of presumption of innocence) อันเป็นหลักการทางกฎหมายพื้นฐานที่สำคัญ ในการดำเนินคดีทางอาญา ศาลต้องไม่ตัดสินล่วงหน้าไปก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด

ดังที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 29 วรรค 2 ว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด และก่อนมีคําพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้” อีกทั้งยังเป็นหลักการสากลดังที่ปรากฏใน ICCPR ข้อ 14 (2) ซึงประเทศไทยเป็นภาคีมีพันธกรณีในการปฏิบัติตามกติการะหว่างประเทศดังกล่าว

ดังนั้น การที่ศาลมีคำสั่งโดยระบุว่า “การกระทำของจำเลยเป็นการกระทำซ้ำ ๆ ต่างกรรมต่างวาระตามข้อกล่าวหาเดิมหลายครั้งหลายครา” จึงอาจทำให้เข้าใจได้ว่า ศาลมีความเชื่อเสมือนหนึ่งว่า ผู้ต้องหา หรือจำเลย ได้กระทำความผิด ตามที่พนักงานสอบสวนกล่าวหาจริง ทั้งที่ยังมิได้ดำเนินการสืบพยาน และรับฟังข้อเท็จจริงให้สิ้นกระแสความ จนปราศจากข้อสงสัยตามสมควรว่า จำเลยได้กระทำความผิดดังฟ้องจริง

ยิ่งเมื่อประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า ยังไม่เคยปรากฏคำพิพากษาถึงที่สุด ในคดีการชุมนุมทางการเมืองของ “ราษฎร” ว่ามีความผิดตามมาตรา 112 ประกอบกับประเด็นข้อกังวลต่อการริดรอนเสรีภาพ ในการแสดงออกทางการเมืองแล้ว จึงมีข้อสังเกตว่า การไม่ให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลดังกล่าว ย่อมเสมือนศาลได้ตัดสินพิพากษาผู้ต้องหาในคดีนี้ไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วหรือไม่ รวมทั้งศาลได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนบนพื้นฐานของหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าบริสุทธิ์หรือไม่อย่างใด

ทั้งนี้ ควรต้องตระหนักว่าการแสดงความคิดเห็นเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ความเสมอภาค รวมถึงการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นย่อมมิใช่สิ่งที่เป็นอาชญากรรม หากเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองผู้กระตือรือร้นและรักชาติบ้านเมือง ซึ่งเป็นการใช้สิทธิอันชอบธรรมในฐานะมนุษย์ตามธรรมชาติ ในฐานะพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ ในฐานะพลเมืองไทยที่เป็นภาคีแห่ง ICCPR ข้อ 14 อันเป็นมาตรฐานที่นานาชาติเคารพและปฏิบัติตาม

พวกเราอันประกอบด้วย คณาจารย์จากสถาบันการศึกษาด้านนิติศาสตร์ 10 แห่ง เครือข่ายนักกฎหมาย และนักกฎหมาย จำนวน 126 คน ดังปรากฏรายชื่อข้างท้าย ปรารถนาที่จะเห็นฝ่ายตุลาการปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นไปตามหลักการและบรรทัดฐานทางกฎหมาย และคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะที่เป็นหลักคุณค่าสำคัญในสังคมเสรีประชาธิปไตย มิใช่เพียงแต่การอ้างอิงถึงความมั่นคงของรัฐอันจะนำมาซึ่งความกังขาต่อการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายตุลาการให้เกิดขึ้น ซึ่งจะไม่เป็นผลดีทั้งต่อสถาบันตุลาการและสังคมไทยโดยรวมแต่อย่างใด

อาจารย์1

ด้วยความยึดมั่นต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและระบอบประชาธิปไตย

สำหรับรายชื่อคณาจารย์ เครือข่ายนักกฎหมาย และนักกฎหมาย ประกอบด้วยดังนี้

1. กฤษณ์พชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2. กรณ์ณเศรษฐ์ ชินมหาวงศ์

3. กรศุทธิ์ ขอพ่วงกลาง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

4. กิตติศักดิ์ กองทอง ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

5. ไม่เปิดเผยชื่อ

6. กฤษติยากรณ์ แก้วกิริยา

7. กัญญารัตน์ พิณสีทอง Legal and compliance

8. กัณต์พัศฐ์ สิงห์ทอง สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ

9. ขริสา สร้อยศรี

10. เขมชาติ ตนบุญ นักกฎหมาย

11. คงสัจจา สุวรรณเพ็ชร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

12. คอรีเยาะ มานุแช ทนายความ

13. คุ้มเกล้า ส่งสมบูรณ์ ทนายความ

14. คริส โปตระนันทน์

15. จันทร์จิรา จันทร์แผ้ว ทนายความ

16. จารุนันท์ น้าประทานสุข นักกฎหมายอิสระ

17. จิดาภา คงวัฒนกุล ทนายความ (อิสระ)

18. จิระศักดิ์ บุณณะ ทนายความ

19. จิรากิตติ์ แสงลี นักศึกษาปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

20. เฉลิมศรี ประเสริฐศรี ทนายความ

21. ชนกนันทน์ นันตะวัน ศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

22. ชนะจิต รอนใหม่ ทนายความ

23. ญาณิศา รุจิรวัฒน์

24. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

25. ณรงค์เดช สรุโฆษิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

26. ณัฏฐพร รอดเจริญ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

27. ณัฐสิมา วรินทรเวช

28. ณัฐาศิริ เบิร์กแมน ทนายความ

29. ดรุณี ไพศาลพาณิชย์กุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

30. ต่อพงศ์ กิตติยานุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

31. ทวีพร คงแก้ว

32. ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

33. ทิวาพร ท้วมจันทร์

34. ธำรง หลักแดน ทนายความ (สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ)

35. ธิติพงษ์ ศรีแสน ทนายความ

36. ธนรัตน์ มังคุด สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

37. ธนาธร ทนานนท์ ทนายความอิสระ

38..ไม่เปิดเผยชื่อ

39. ธรธรร การมั่งมี นักกฎหมาย

40. ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายความ

41. ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

42. นวพร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

43. นฤมล กล้าทุกวัน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

44. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

45. นันทิชา ภักดิ์ปาน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

46. นายทิตศาสตร์ สุดแสน ทนายความ

47. นิฐิณี ทองแท้ สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

48. นิติกร ค้ำชู ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

49. บงกช ดารารัตน์ นักกฎหมาย

50. บุษยาภา ศรีสมพงษ์ SHero Thailand

51. บัณฑิต หอมเกษ นักกฎหมาย

52. ปกปัก ทองภักดี

53. ปฏิบัติ ปรียาวงศากุล

54. ปภพ เสียมหาญ นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา

55. ปรมินทร์ วาโย นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

56. ปรีดา ทองชุมนุม นักกฎหมาย

57. ปสุตา ชื้นขจร ทนายความ

58. ปิยากร เลี่ยนกัตวา East China University of Political Science and Law

59. ผจญ คงเมือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

60. ผรัณดา ปานแก้ว ทนายความ

61. พงค์ศักดิ์ เจ๊ะพงค์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

62. พนิตพิชา ใต้แสงทวีธรรม

63. พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักกฎหมายสิทธิมนุษยชน

64. พรศิริ ริมมากุลทรัพย์ เครือข่ายนักกฎหมาย

65. พัชร์ นิยมศิลป

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

66. พัลลภ รุ่งมิตรจรัสแสง ทนายความ

67. พิฆเนศ ประวัง ทนายความ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

68. พิชญาภา ศักดิ์วิทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

69. พูนสุข พูนสุขเจริญ ทนายความ

70. เพ็ญศรี พานิช สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

71. ภัทธิยา ภัทรเวสสกุล ทนายความอิสระ

72. ภัทรานิษฐ์ เยาดำ นักกฎหมาย

73. ภีม อุดมบุณยลักษณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

74. เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ

75. รติมา สุระรัตน์ชัย ศิษย์เก่านิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์

76. รัฐศักดิ์ อนันตริยกุล สมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.)

77. รัษฎา มนูรัษฎา ทนายความ

78. ฤทธิภัฏ กัลยาณภัทรศิษฏ์ –

79. ลลิล ก่อวุฒิกุลรังษี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

80. เลาฟั้ง บัณฑิตเทอดสกุล ศูนย์กฎหมายสิทธิชุมชน

81. วรภัทร วีรพัฒนคุปต์ ฝ่ายส่งเสริมประชาธิปไตย กลุ่มNon-Binary Thailand

82. วรรณวิสา เห็นอภิธรรม

83. วรรณา แต้มทอง นักกฎหมาย

84. วรุตม์ ทรงสุจริตกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

85. วราภรณ์ อุทัยรังษี ทนายความ

86. วัลย์นภัสร์ เจนร่วมจิต ทนายความ

87. วริษา องสุพันธ์กุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

88. วศินี บุญที ศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชนเพื่อสังคม

89. วัชลาวลี คำบุญเรือง นักกฎหมายอิสระ

90. วุฒิชัย พากดวงใจ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

91. ศรัณย์ จงรักษ์ โปรแกรมวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

92. ศราวุฒิ ประทุมราช นักกฎหมาย

93. ศราวุธ นาคะปัท ทนายความ

94. ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

95. ศศิประภา ไร่สงวน ทนายความ

96. ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

97. ศุชัยวุธ ชาวสวนกล้วย อาชีพอิสระ

98. ส.รัตนมณี พลกล้า ทนายความ

99. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

100. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

101. สมชาย หอมลออ มูลนิธิผสานวัฒนธรรม

102. สรพิมพ์ สืบประสิทธิ์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

103. สรรณวรรษ เจนสาริกิจ นักกฎหมาย

104. สรวิศ บุญศรี นักกฎหมาย

105. สัญญา เอียดจงดี ทนายความ

106. สาริศ อัคราธิวัฒน์

107. สาวตรี สุขศรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

108. สิทธิพร จึงรุ่งฤทธิ์ นิสิตปริญญาโท คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

109. สิริไพลิน สิงห์อินทร์ นักวิจัย

110. สุทธิเกียรติ คชโส ทนายความ

111. สุทธิชัย งามชื่นสุวรรณ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

112. สุนี ไชยรส วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต

113. สุภัทรา นาคะผิว มูลนิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์

114. สุภาภรณ์ มาลัยลอย นักสิทธิมนุษยชน

115. สุมิตรชัย หัตถสาร ทนายความ ศูนย์พิทักษ์และฟื้นฟูสิทธิชุมชน

116. สุรชัย ตรงงาม ทนายความ

117. สุรพี โพธิสาราช สำนักวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

118. สุรินรัตน์ แก้วทอง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

119. สุวิทย์ ปัญญาวงศ์

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

120. กรกนก วัฒนภูมิ นักกฎหมาย

121. อจิรวดี เหลาอ่อน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

122. อนุชา วินทะไชย สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน (สสส.)

123. อัญชลี ดิลกวิทยรัตน์ นักกฎหมายอิสระ

124. อัมรินทร์ สายจันทร์ นักกฎหมาย

125. เอกรินทร์ เท่งเจียว

126. ไอลดา อ้นพรม ศิษย์เก่าคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight