Politics

วันนี้ ‘กรุงเทพฯ’ ฝุ่นน้อย แต่ ‘เหนือ-กลาง-ตะวันตก’ ค่า PM 2.5 ยังเกินมาตรฐาน

วันนี้ (27 ม.ค.) “กรุงเทพฯ-ปริมณฑล” ฝุ่นน้อย หายใจโล่ง! แต่ “เหนือ-กลาง-ตะวันตก” ค่า PM 2.5 ยังเกินมาตรฐาน วางใจไม่ได้

ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ รายงานการติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศ ประจำวันนี้ (27 มกราคม 2564) ณ 07.00 น. สรุปดังนี้

ค่า PM 2.5 27 ม.ค. 64

ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบเกินค่ามาตรฐานใน 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย, จังหวัดพะเยา, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดลำปาง, จังหวัดแพร่, จังหวัดสุโขทัย, จังหวัดพิษณุโลก, จังหวัดตาก, จังหวัดกำแพงเพชร, จังหวัดพิจิตร, จังหวัดเพชรบูรณ์, จังหวัดนครสวรรค์, จังหวัดอุทัยธานี, จังหวัดลพบุรี, จังหวัดสระบุรี, จังหวัดสุพรรณบุรี, จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, จังหวัดกาญจนบุรี, จังหวัดปราจีนบุรี, จังหวัดสระแก้ว, จังหวัดหนองคาย และจังหวัดนครราชสีมา (โคราช)

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 32 – 84 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) เกินค่ามาตรฐาน 2 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 21 – 66 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 15 – 77 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ภาคตะวันออก ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 19 – 39 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 13 – 28 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมต
  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร (​กทม.) ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี ตรวจวัดได้ 19 – 48 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
PM 2.5 27 ม.ค. 64 ภาคเหนือ
ค่า PM 2.5 ภาคเหนือ

 ประชาชนทั่วไป ควรเฝ้าระวังสุขภาพ ลดเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น

ผู้ที่ต้องดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากมีความจำเป็น ถ้ามีอาการทางสุขภาพ ควรปรึกษาแพทย์

โดยประชาชนสามารถติดตามสถานการณ์ PM2.5 ผ่านทาง

  • เว็บไซต์ Air4Thai.com
  • เว็บไซต์ bangkokairquality.com
  • แอพพลิเคชั่น Air4Thai
  • แอพพลิเคชั่น AirBKK

ค่า PM2.5 วันนี้ 27 ม.ค. 64

วิจัยเผย “PM 2.5” เอี่ยวการเสียชีวิต “ชาวลอนดอน” 

เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอิมพิเรียลคอลเลจลอนดอน ของสหราชอาณาจักร เผยแพร่รายงานระบุว่า ในปี 2562 การเสียชีวิตของผู้ที่อยู่อาศัยในกรุงลอนดอนราว 4,000 ราย อาจมีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศ โดยเขต (Borough) รอบนอกลอนดอนเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เสียชีวิตมากที่สุด

รายงานระบุว่า ตัวเลขนี้พิจารณาจากสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งรวมถึงโรคระบบทางเดินหายใจ มะเร็งปอด และการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด

การวิจัยครั้งนี้ได้รับมอบหมายโดยกรมการขนส่งลอนดอนและสํานักบริหารมหานครลอนดอน โดยคณะนักวิจัยจากกลุ่มวิจัยสิ่งแวดล้อมจากคณะสาธารณสุขของมหาวิทยาลัยฯ พบว่า หากลอนดอนสามารถดำเนินการตามแนวทางค่าเฉลี่ย PM 2.5 ของ องค์การอนามัยโลก (WHO) ประชาชนในลอนดอนจะมีอายุขัยเพิ่มขึ้น 20% ในอีก 20 ปีข้างหน้า

หากเทียบกับระดับความเข้มข้นที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากปี 2556 คณะนักวิจัยคาดการณ์ว่านโยบายคุณภาพอากาศแบบจำเพาะเจาะจงของลอนดอน ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้น จะช่วยเพิ่มอายุคาดเฉลี่ยของเด็กที่เกิดในลอนดอนในปี 2556 อีก 6 เดือน

PM 2.5 ลอนดอน อังกฤษ

ซาดิก ข่าน นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เรียกรายงานนี้ว่าเป็น “การแจ้งเตือนขั้นเด็ดขาด” พร้อมระบุว่ามลพิษทางอากาศในลอนดอนยังคงเป็นวิกฤตทางสาธารณสุขและจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน

โฆษกเทศบาลกรุงลอนดอนระบุว่า ค่า PM 2.5 ของพื้นที่ 99% ของลอนดอนไม่ตรงตามเกณฑ์ที่ WHO แนะนำ

ทั้งนี้ ฝุ่นละออง PM 2.5 คือ อนุภาคขนาดเล็กในอากาศที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ไมครอนหรือน้อยกว่า ซึ่งสามารถแทรกซึมเข้าไปถึงปอดของมนุษย์ได้ โดยมลพิษทางอากาศจะเป็นปัญหาต่อสุขภาพของผู้คนเมื่อมีอยู่ในระดับสูง

ที่มาสำนักข่าวซินหัว

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo