Politics

‘สุดารัตน์’ จี้เยียวยา ‘เราชนะ’ เงินสด อย่าตั้งเงื่อนไขเหมือนเป็นการสงเคราะห์

“สุดารัตน์” จวก “บิ๊กตู่” บกพร่องจนโควิด-19 ระบาดรอบ 2 จี้แจกเยียวยา “เราชนะ” เป็นเงินสดให้คนตัดสินใจ อย่าตั้งเงื่อนไขเหมือนเป็นการสงเคราะห์

วันนี้ (5 ม.ค. 64) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ แกนนำกลุ่มสร้างไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ Sudarat Keyuraphan ถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 รอบที่ 2 และการจ่ายเงินเยียวยา 7,000 บาท ผ่านโครงการเราชนะ มีเนื้อหาดังนี้

สุดารัตน์ เราชนะ

“ช่วงหลังการแพร่ระบาดของ COVID รอบที่สอง ดิฉันได้ทำโครงการ “รวมพลังสู้ภัย COVID” และได้ลงพื้นที่เยี่ยมเยียนช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่กำลังเผชิญทุกข์หนักกับปัญหาปากท้อง เกือบทุกวัน

ดิฉันพบว่า พี่น้องคนไทยประสบความยากลำบากมากเหลือเกิน COVID ทำให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำของ #คนตัวเล็ก ที่ชุดอยู่ใต้พรมมานาน ประทุขึ้นมา ทั้งหมดเกิดจากการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพของรัฐบาลทั้งสิ้น

เมื่อเกิดการแพร่ระบาดรอบแรก รัฐบาลใช้เงินอย่างมหาศาลด้วยการออก พ.ร.ก. กู้เงิน 1.0 ล้านล้านบาท เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ รวมทั้งใช้วงเงินสินเชื่อของ ธปท. อีก 9 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี และดูแลหุ้นกู้ของผู้ประกอบการรายใหญ่ แต่ด้วยการบริหารที่ยึดติดกับระบบรัฐราชการ ที่นอกจากจะดูแลประชาชนได้ไม่ทั่วถึงแล้ว ด้วยความบกพร่องของหน่วยงานที่พลเอกประยุทธ์ดูแลได้แก่กองทัพ และ สตช. จึงเกิดการแพร่ระบาดรอบสอง โดยประชาชนเป็นผู้รับกรรม

shutterstock 1852775926 e1606713730495

แม้ต่อมา ครม. เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 จะมีมติให้เยียวยาประชาชนที่มีอายุเกิน 18 ปีขึ้นไป คนละ 3,500 บาท จำนวน 2 เดือน รวมประมาณ 31.1 ล้านคน โดยจะต้องลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ “เราชนะ” ก็ตาม แต่ก็มีมาตรการที่สร้างความยากลำบากให้กับประชาชน ไม่ว่าจะเพราะไม่มีสมาร์ทโฟน หรือด้วยปัจจัยอย่างอื่น รวมทั้งยังมีข้อจำกัดในการใช้เงิน ทั้งที่เงินดังกล่าวไม่ได้เป็นเงินของผู้กำหนดนโยบาย แต่มาจากภาษีที่คนไทยทุกคนจะต้องเป็นผู้ชดใช้

สิ่งที่ดิฉันจะขอแนะนำในเวลาที่ประชาชนทุกข์ยาก รัฐบาลต้องแก้ไขให้ตรงจุด และรวดเร็ว จึงควรแจกเป็นเงินสด โดยอาจให้ประชาชนเอาบัตรประชาชนไปขึ้นเงินได้จากธนาคารทุกแห่ง ให้ประชาชนมีดุลพินิจในการใช้เงินตามความจำเป็น เพราะเป็นเงินของประชาชน ไม่ควรออกข้อจำกัดหรือเงื่อนไขเสมือนเป็นการสงเคราะห์ ซึ่งไม่ใช่ หากแต่เป็นสิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ เพราะมาตรการของรัฐสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน และสุดท้ายคือการใช้เงินดังกล่าวต้องมีมาตรการเพื่อใช้ #คนตัวเล็ก ตัวน้อยเป็นพลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ กระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในประเทศ มิฉะนั้นจะเป็นเพียงการถ่ายเงินจากกระเป๋าที่รัฐบาลกู้มา แต่ประชาชนต้องชดใช้  ไปสู่กระเป๋าของนายทุนรายใหญ่เหมือนที่เกิดขึ้นมาตลอด 7 ปีที่ผ่านมา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo