Politics

ไทยเจอแล้ว ‘โควิด-19 กลายพันธุ์’ จากเกาะอังกฤษ ‘หมอยง’ มั่นใจคุมอยู่!

ไทยเจอแล้ว “โควิด-19 กลายพันธุ์” จากเกาะอังกฤษ “หมอยง” มั่นใจทีมแพทย์คุมอยู่! ปิดโอกาสแพร่กระจายเชื้อ

วันนี้ (3 ม.ค. 63) ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว Yong Poovorawan ว่า ขณะนี้ทีมแพทย์พบไวรัสโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ในประเทศไทยแล้ว โดยพบในครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คนที่เดินทางมาจากประเทศอังกฤษและเข้ากักตัวแบบทางเลือกในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ทีมแพทย์ได้ควบคุมและดูแลการติดไวรัสโควิด-19 ชนิดกลายพันธุ์ดังกล่าวเป็นพิเศษ โดยต้องมั่นใจว่าผู้ป่วยไม่มีเชื้อเหลือแล้ว จึงให้ออกจากความดูแลได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีโอกาสแพร่กระจายเชื้อต่อในประเทศไทย

โควิด-19 กลายพันธุ์ หมอยง

“โควิด 19 สายพันธุ์อังกฤษกลายพันธุ์ พบในประเทศไทยแล้ว

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาฯ ได้ถอดรหัสสายพันธุ์ พบเป็นสายพันธุ์อังกฤษ หรือที่เรียกว่า สายพันธุ์อังกฤษที่กลายพันธุ์ B.1.1.7 ได้ในประเทศไทย

เป็นครอบครัวชาวอังกฤษ 4 คน พ่อ แม่ ลูก 2 คน ติดเชื้อทั้ง 4 คน โดยที่แม่และลูก เป็นก่อน พ่อเป็นทีหลัง มาจากเมือง Kent ประเทศอังกฤษ และอยู่ใน ASQ โรงพยาบาลเอกชน และเราควบคุมอย่างดี ไม่ให้แพร่กระจายออกไป

การถอดรหัสพันธุกรรมทำให้ทราบว่า สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ของอังกฤษ ที่กลายพันธุ์ ที่ทั่วโลกเฝ้าระวังกันมาก และมีการระงับเที่ยวบินจากอังกฤษ

ได้ทำการถอดรหัสพันธุกรรม 2 ราย มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่งเกาะจับตัวรับของเซลล์มนุษย์ (N501Y)

การกลายพันธุ์ที่จุดตัดของสไปรท์โปรตีน (P681H)

ตำแหน่งอื่นๆที่ขาดหายไป (spike 69-70 deletion)

และตำแหน่งอื่นๆอีก ดังในรูป

สายพันธุ์นี้ทำให้การแพร่ระบาดได้ง่าย และกระจายอย่างรวดเร็ว ในครอบครัวนี้ ก็ติดหมดทั้ง 4 คน

อย่างไรก็ตามสำหรับประเทศไทย สายพันธุ์นี้ไม่ได้ทำให้โรครุนแรงขึ้นและไม่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพของวัคซีน ขอให้สบายใจได้ ผู้ป่วยทั้ง 4 รายนี้ อยู่ในความควบคุมและระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่ให้เชื้อหลุดรอดออกมาได้ ผู้ป่วยยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ในห้องความดันลบ และต้องมั่นใจว่าไม่มีเชื้อแล้ว จึงจะออกมา ดังนั้นโอกาสที่จะแพร่ขยายในประเทศไทยจึงไม่มี

ผู้ที่มาจากประเทศอังกฤษ มาประเทศไทย จะต้องเฝ้าระวัง ในรายที่มาจากต่างประเทศ การถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อเป็นฐานข้อมูล จะเป็นประโยชน์ในการเปรียบเทียบกับสายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทย หาแหล่งที่มาของโรค”

135752197 5051596658216244 1668352253263780779 n

135088214 5051596661549577 2290095849789575926 n

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo