Politics

โควิด-19 รุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับคน 3 กลุ่ม!!

ศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ได้รวบรวมนำเสนอข้อมูลข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำรอบที่ 2 อาการรุนแรงอาจจะหนักกว่าเดิม
จากผลการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารการแพทย์ TheLancet Infectious Diseases ได้ติดตามทำแผนผังเคสคนไข้ ที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายแรกซ้ำอีกรอบ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งคนไข้รายนี้
เป็นชายวัย 25 ปี อาศัยอยู่ที่วอชโชเคาน์ตี รัฐเนวาดา ไม่พบภูมิคุ้มกันผิดปกติหรือมีปัญหาสุขภาพมาก่อนเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล ตรวจพบเชื้อโควิด-19 เป็นครั้งที่ 2 โดยยกตัวอย่างการรักษามีรายละเอียด ดังนี้
– ครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 63 ชายมีอาการป่วยหลายอย่างจากการติดไวรัส ทั้งเจ็บคอ ไอ ปวดศีรษะ คลื่นเหียนท้องเสีย จึงไปตรวจสุขภาพที่หน่วยงานสาธารณสุขวอชโชเคาน์ตี ผลตรวจเป็นบวก หรือติดเชื้อโควิด-19 เป็นครั้งแรก ถูกกักตัวหายดี เมื่อวันที่ 27 เม.ย. จากนั้นเจ้าหน้าที่ทำการตรวจเชื้ออีก 2 ครั้งในวันที่ 9 พ.ค. และ 26 พ.ค.63 ตรวจไม่พบเชื้อผลเป็นลบทั้งคู่ แต่กลับมามามีอาการป่วยอีกครั้งในวันที่ 28 พ.ค. โดยมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ไอ คลื่นเหียน และท้องเสีย
– ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 63 หลังจากติดเชื้อโควิด-19 ในครั้งแรก ผู้ป่วยได้ติดเชื้อไวรัสเป็นครั้งที่ 2 อาการรุนแรงกว่าครั้งแรก และกลับมาเข้ารับการรักษา ด้วยอาการไอ เหนื่อย ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการหายใจหอบ ผลเอกซเรย์ปอด พบปอดอักเสบทั้งสองข้าง วัดระดับออกซิเจนในเลือดต่ำ ต้องให้ออกซิเจนเครื่องช่วยหายใจ จากการตรวจรหัสพันธุกรรม พบติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แพทย์วินิจฉัยว่าผู้ป่วยรายนี้ได้ติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 (ชื่อย่ออย่างเป็นทางการของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่เป็นต้นตอของโรคโควิด-19) ที่แตกต่างกัน 2 ชนิด ระยะเวลาห่างจากการติดเชื้อครั้งแรก 48 วัน และจากการวิจัยทั่วโลกยังมีเคสยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ซ้ำ อีก 4 ราย โดยพบที่ เบลเยียม, เนเธอร์แลนด์, ฮ่องกง และเอกวาดอร์ แห่งละ 1 ราย

วัคซีนโควิด-19 จีน

ข้อสันนิษฐานแรก คณะผู้เขียนรายงานผลวิจัยผู้ติดเชื้อในสหรัฐ รายดังกล่าวอาจได้รับเชื้อไวรัสในประมาณที่สูงมากๆ ในการติดเชื้อรอบที่ 2 กระตุ้นให้เกิดอาการต่างๆ เฉียบพลันกว่าเดิม แต่อีกด้านหนึ่งก็มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจเป็นไวรัสสายพันธุ์ ที่มีความรุนแรงกว่าเชื้อที่เขาติดครั้งแรก และอีกข้อสันนิษฐานหนึ่ง คือ กลไกที่เรียกว่าภาวะการส่งเสริมโดยอาศัยแอนติบอดี ซึ่งก็คือ แอนติบอดีกลายเป็นตัวทำให้การติดเชื้อหนหลังเลวร้ายกว่าครั้งแรก ดังเช่นกับการเป็นไข้เลือดออก
หลังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 คนส่วนใหญ่จะสร้างภูมิต้านทาน แต่ภูมิอาจอยู่ได้ไม่นาน ทำให้มีโอกาสเป็นซ้ำได้อีก แต่อาการจะน้อยกว่าครั้งแรก ที่น่าเป็นห่วงผู้ป่วยรายนี้เป็นซ้ำ แต่อาการหนักกว่าเดิม ทำให้สงสัยว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อครั้งแรกอาจส่งเสริมทำให้อาการติดเชื้อครั้งที่ 2 รุนแรง เหมือนกับไข้เลือดออกเป็นครั้งที่ 2 จะหนักกว่าครั้งแรก ทำให้มีความวิตกกังวลว่าการฉีดวัคซีนไวรัสโควิด-19 อาจทำให้คนที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 ครั้งแรก เพราะเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถกลายพันธุ์อยู่ตลอด ต้องรอการศึกษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดระยะที่ 3 โดยใช้อาสาสมัครจำนวนหลายหมื่นคน ซึ่งต้องใช้เวลาหลายเดือน เพื่อพิสูจน์ว่าวัคซีนที่ผลิตขึ้นปลอดภัย และมีประสิทธิภาพป้องกันได้อย่างน้อย 50% ถึงจะอนุญาตนำมาใช้กับคนทั่วไปได้
คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรทางการแพทย์ที่เฝ้าระวังโรคโควิด-19 ระบุว่า “ผมยืนยันว่ามีแน่ รอบแรกคนตายจำนวนหนึ่ง แต่รอบสองตายมากกว่ารอบแรกกว่าเท่าตัว ถ้า 1 วัน มีคนติดเชื้อ 100 คน มันกระจายไปแล้ว เวลากระจายมันคูณยกกำลังสอง มันไม่ได้คูณสอง แต่เป็นยกกำลังสอง” เตือนโควิด-19 ระบาดรอบ 2 อาจอยู่ยาวถึง 2 ปี จนกว่าจะมีวัคซีนต้านโควิด -19 และอาการจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นกับคน 3 กลุ่มนี้
โควิด141
ภาพ:สำนักข่าวซินหัว
1. ผู้บริหารประเทศ ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ อย่าผ่อนคลายอะไรเร็วเกินไป ต้องค่อย ๆ ผ่อนทุก 14 วัน ดีกว่าผ่อนเร็วแล้วต้องกลับมาปิดประเทศใหม่ และอย่าปกปิดความจริง ต้องให้ประชาชนรู้ว่าจริง อย่าให้เขารู้เอง
เพราะต่อไปคนจะไม่เชื่ออีก
2. ผู้ประกอบการ ตอนนี้ท่านมีโอกาสให้ธุรกิจกลับมาแล้ว แต่ต้องช่วยกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อ ทำตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
3. คนไทยทุกคน ต้องระวังตัวเอง ต่อให้ผู้ประกอบการ หรือหน่วยงานพยายามช่วย แต่ท่านไม่ดูแลตัวเองก็ไม่ได้
ทั้งนี้จากการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำรอบที่ 2 ยังเป็นอะไรที่หายากมากๆ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อมากมายหลายสิบล้านคนทั่วโลก มีเพียงแค่ผู้ติดเชื้อส่วนน้อยเท่านั้นที่ได้รับการยืนยันว่า เกิดติดเชื้อซ้ำ เนื่องจากมีเคสจำนวนมากอยู่ในลักษณะการ ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ เพราะฉะนั้นจึงไม่มีการตรวจเชื้อในระยะแรกๆ เลยเป็นไปไม่ได้ที่จะทราบว่าคนไข้ที่พบว่าอาการป่วยนั้นเป็นเคสการติดเชื้อโควิด-19 รอบแรกหรือรอบสอง
อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
ทีมบรรณาธิการข่าว The Bangkok Insight