Politics

เตรียมเอกสารให้พร้อม! กทม.เปิดลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว

ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุ “ผู้ว่าฯ กทม.” แนะผู้สูงอายุที่เกิดก่อน 2 กันยายน 2505 เตรียมเอกสารให้พร้อม เพื่อลงทะเบียนเตรียมรับเบี้ยยังชีพในปีงบประมาณ 2565 ทั้ง 50 เขตทั่วกรุง

พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (ผู้ว่าฯ กทม.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ผู้ว่าฯ อัศวิน” โดยระบุว่า 50 เขต กทม. เปิดรับลงทะเบียนผู้สูงอายุล่วงหน้า เพื่อเตรียมรับเบี้ยยังชีพในปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นไป

ตั้งแต่เดือน ตุลาคม – พฤศจิกายน 2563 และเดือนมกราคม – กันยายน 2564 กทม.โดย 50 สำนักงานเขต ได้เปิดรับ ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุ รายใหม่ล่วงหน้า เพื่อที่จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในปีงบประมาณ 2565 ทันทีโดยไม่เสียสิทธิ์ครับ

ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุ

คุณสมบัติ

  • ผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ และยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน
  • เป็นผู้ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2565 (เกิดก่อน 2 กันยายน 2505)
  • ไม่เป็นผู้ที่ได้รับบำนาญ หรือสวัสดิการและสิทธิอื่นๆ ของหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่จัดให้ประจำ

เตรียมเอกสารพร้อมสำเนา เพื่อยื่นลงทะเบียน ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร ประเภทออมทรัพย์
  • หนังสือมอบอำนาจ (กรณีผู้สูงอายุไม่สะดวกดำเนินการด้วยตัวเอง)

สำหรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะได้รับในอัตรา ดังนี้

  • อายุ 60 – 69 ปี รับเดือนละ 600 บาท
  • อายุ 70 – 79 ปี รับเดือนละ 700 บาท
  • อายุ 80 – 89 ปี รับเดือนละ 800 บาท
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเดือนละ 1,000 บาท

ขอให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพ และสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคม 50 สำนักงานเขตครับ

ลงทะเบียนรับเบี้ยผู้สูงอายุ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผย รัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เปิดให้ ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประจำปีงบประมาณ 2564 เพื่อรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2563 และเดือนมกราคม – กันยายน 2564 สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ที่ยังไม่เคยลงทะเบียนมาก่อน ซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์แล้ว

ทั้งนี้ ผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2565 โดยนับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2565 ต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน 2505 เนื่องจากผู้สูงอายุที่เกิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2505 – 1 ตุลาคม 2505 เป็นผู้สูงอายุที่จะมีสิทธิรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในเดือนถัดไปจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ คือ เดือนตุลาคม 2565 ซึ่งเป็นปีงบประมาณ 2566

ดังนั้น กลุ่มผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่เกิดตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน 2505 – 1 ตุลาคม 2505 สามารถลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

สำหรับเอกสารหลักฐานประกอบแบบคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้แก่

  • บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรอื่นที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐที่มีรูปถ่าย
  • ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • สมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร

กรณีขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

  • รับเงินสดด้วยตนเอง
  • รับเงินสดโดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ
  • โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามผู้มีสิทธิ 4) โอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารในนามบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจจากผู้มีสิทธิ

ทั้งนี้ สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอลงทะเบียนขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแทนได้

สำหรับการจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554 เห็นชอบจัดให้มีเบี้ยยังชีพรายเดือนแบบขั้นบันไดสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี จะได้รับ 600 บาท / อายุ 70 – 79 ปี จะได้รับ 700 บาท /อายุ 80 – 89 ปี จะได้รับ 800 บาท และอายุ 90 ปีขึ้นไป จะได้รับ 1,000 บาท

ทั้งนี้ เป็นการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณโครงการสร้างหลักประกันด้านรายได้แก่ผู้สูงอายุ ให้กับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย รวม 66,016,930,800 บาท เพื่อจ่ายเป็นเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุรวมทั้งสิ้น 8,296,573 คน โดยไม่รวมเทศบาลนครและเทศบาลเมือง จำนวน 214 แห่ง ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรง

อ่านข่าวเพิ่มเติม

Avatar photo
Siree Osiri OHO BANGKOK